สัมมาสติ

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
สัมมาสติ แปลว่า ระลึกชอบ หมายถึง การระลึักรู้เท่าทันธรรมชาติต่่างๆ เช่น ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป ที่ไม่เที่ยง ในปัจจุบันขณะก็ดี, อดีตก็ได้, อนาคตก็ได้ แต่ยังไม่ใช่ความรู้แจ้ง ยังไม่ใช่ปัญญา เืมื่อแยกคำสองคำออกมาอธิบายจะได้คำว่า "สติ" นั้น อุปมาเหมือน "ประกายไฟ" ที่จะเกิดก่อนที่ไฟจะลุกโชติช่วงสว่างไสวฉะนั้น ประกายไฟแรกนั้น เปรียบเหมือนสติ ส่วนไฟที่ลุกโชิตช่วงนั้น เปรียบเหมือนปัญญา ดังนั้น สติและปัญญาจึงมักเกิดตามกันมาบ่อยๆ ส่วนคำว่า "สัมมา" หมายถึง "ความพอดีตรงต่อนิพพาน" คือ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ไม่เกินเลยสุดโต่งไปทางใด ตรงนิพพานพอดี เมื่อรวมกันแล้ว "สัมมาสติ" จึงหมายถึง การระลึกรู้เท่าทันธรรมชาติ อย่างพอดีตรงต่อนิพพาน ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป หมายความว่า เราไม่จำเ็ป็นต้องมีสติตลอดเวลา หรือทุกขณะก็ได้ พอเพียงช่วงหนึ่งสั้นๆ เช่น ขณะฟังธรรม แล้วสติตื่นขึ้นเต็มกำลัง ก็สามารถบรรลุธรรมได้ แล้วหลังจากนั้น เราจะมีสติบ้าง ไม่มีบ้าง สติเกิดบ้าง ดับบ้าง ไม่เที่ยง ก็เป็นธรรมดา ไม่ต้องไปยึดมั่นถือมั่นว่า สติจะต้องเที่ยง, จะต้องไม่ดับ, จะต้องดำรงคงอยู่ตลอดเวลา ฯลฯ เพราะอย่างนั้นจะเคร่งเกินไป สุดโต่งเกินไป ตามธรรมชาติ ความพอดีของคนเราย่อมมีสติบ้าง ไม่มีบ้าง เป็นธรรมดา แต่ในผู้มีปัญญาแจ้งแล้ว บรรลุธรรมแล้ว จะมีสติที่ตื่นตัว ทำงานได้ดีกว่า แต่ไม่จำเป็นต้องตลอดเวลา เหมือนการจุดประกายไฟ เพื่อก่อกองไฟนั้น เราก็ไม่จำเป็นต้องจุดตลอดเวลา


บางท่านที่สุดโต่งเกินไปสองทาง คือ ๑. ในทางหย่อนยาน ก็จะขาดสติ, สติอ่อนกำลัง ทำให้เกิดปัญหา้ต่างๆ มากมาย ๒. ในทางตึงเคร่งเกินไป ก็จะมีสติตื่นตัวมากเกินไป หรือบังคับเกินไป ให้มีสติตลอดเวลา เป็นต้น ในท่านที่ฝึกสติมาก กำหนดสติกำกับพร้อมกับสิ่งต่างๆ เช่น กำกับสติกับลมหายใจ ให้สติเกิดกับลมหายใจ ก็ดี, กำกับสติกับกาย ให้อยู่กับกาย ก็ดี, กำกับสติ ให้อยู่กับพุทธะ ระลึกถึงพระพุทธเ้จ้าเป็นสติ ก็ดี ฯลฯ หากสุดโต่ง เคร่งมากเกินไป ก็จะ "กำหนด" ให้มีสติมากเกินไป จนไม่เป็นกลาง ไม่พอดี ไม่เป็นธรรมชาติ เช่นนั้น ยากที่จะเกิดปัญญาได้ เนื่องจากพละทั้งห้าขาด "สมังคี" คือ ขาดความพร้อมสมดุลกัน อย่างนี้ ไม่อาจบรรลุธรรม เกิดปัญญาได้ เพราะสติที่มากหรือน้อยเกินไป ไม่พอดี ตรงต่อนิพพาน นั่นเอง



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB