สายธรรม

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
สายธรรม เป็นคำที่ไม่มีใน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แต่เป็นคำไทยที่เกิดขึ้นมาใหม่ เพื่ออธิบายธรรมชาติบางอย่างเพิ่มเติม กล่าวคือ พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาของสัตว์สังคม ไม่ใช่ศาสนาของพระปัจเจกพุทธเจ้า ดังนั้น ในการบรรลุธรรมไม่ว่าจะระดับใด จึงไม่ได้เป็นไปแบบตัวใครตัวมัน หรือบรรลุได้เองโดยไม่้ต้องเกี่ยวเนื่องทางธรรมกับผู้ใด ก็หาไม่ กล่าวคือ จำเป็นต้องเกี่ยวข้องและัรับธรรมสืบทอดมาจากผู้อื่น หากบรรลุธรรมเองโดยไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้ใดแล้ว เรียกว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งในยุคนี้ยังไม่ใ่ช่ยุคของพระปัจเจกพุทธเจ้า เพราะยังไม่หมดวาระของพระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ ปี ดังนั้น การบรรลุธรรมเองโดยยังไม่ได้ต่อสายธรรมจากผู้ใด จึงนับได้เพียงขั้น "เซียน" เท่านั้น ซึ่งเซียนจะมีระดับทางธรรมที่ยังไม่ถึงโสดาบัน และมีสักกายทิฏฐิอยู่ด้วย การรับธรรมไม่ได้รับผ่านการทำลายสักกายทิฏฐิก่อน ไม่ผ่านการมีร่างสังขารของผู้มีธรรมไปโปรด ไปต่อสายธรรมให้ เช่น ได้รับธรรมผ่านมาทางอื่นที่ไม่ได้ผ่านมาทางร่างสังขารของผู้มีธรรมจริงๆ, ผ่านทางจิตวิญญาณ, ผ่านทางตำราที่ถูกเขียนทิ้งไว้ (แบบเล่าจื้อ), ผ่านการสื่อสารทางอ้อมวิธีต่างๆ ฯลฯ เหล่านี้ ไม่ใช่วิถีการบรรลุเป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา แต่เป็นการเตรียมจิตวิญญาณ, พละทั้งห้าของผู้รับธรรม ให้พร้อมสมบูรณ์เท่านั้น ดังนั้น หากผู้หนึ่งผู้ใด ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลแล้ว ควรจะสามารถบอกได้ว่าในการบรรลุครั้งนั้น บรรลุอย่างไร? มีท่านใดที่เข้ามาช่วยต่อสายธรรม หรือให้ธรรมแก่ท่าน และท่านนั้นใช่พระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาจริงหรือไม่ หากผู้ถ่ายทอดสายธรรม ไม่มีธรรมจริงแล้ว ไม่ได้บรรลุธรรมจริงแล้ว การถ่ายทอดธรรม ก็ไม่อาจสำเร็จ


คำว่า "สายธรรม" จึงมีส่วนคล้ายคำว่า "อาจาริยวาท" ของลัทธิอาจาริยวาท บางส่วน กล่าวคือ ในลัทธิอาจาริยวาท จะนับถืออาจารย์เป็นใหญ่ เป็นสำคัญ จนภายหลัง "มากเกินไป" เกินความพอดี เกินความจำเป็น และเกินความหมายของคำว่า "สายธรรม" เพราะแทนที่จะเข้าใจตรง พอดี ว่าการมีอาจารย์ที่ตรงสายธรรม ทำให้การต่อสายธรรม สืบทอดสายธรรมในพระพุทธศาสนา ดำเนินสืบเนื่องไปได้ กลับถูกกระแส "เทวนิยม" ครอบงำ ยกย่องอาจารย์ตนเองเป็นใหญ่ดุจดั่งเทพเจ้า หรือพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่ฉะนั้น จนถึงขั้นเอาอาจารย์ของตนมาข่มกัน, มาอวดกัน, มาแข่งกัน ตามมาด้วยการแตกแยกเป็นธรรมของใครของมัน ต่างกันไปตามอาจารย์ ไม่อาจเข้าถึงธรรมแบบ "ต้นธาตุ ต้นธรรม" คือ ธรรมแท้จากพระพุทธเจ้าได้ กลายเป็นธรรมแบบ "หลวงปู่ หลวงพ่อ" แทน ดังนั้น ท่านจึงควรเข้าใจและแยกแยะความสำคัญของการมี "สายธรรม" ให้ไำด้ ว่าแตกต่างจากคำว่า "อาจาริยวาท" อย่างไร? และจำเป็นอย่างไร? ดังกล่าว



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB