รับธรรม

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
รับธรรม เป็นคำที่ไม่มีใน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แต่เป็นคำที่ใช้กันใน "ลัทธิอนุตรธรรม" ที่เผยแพร่มาจากไต้หวัน เพื่ออธิบายธรรมชาติบางอย่างเพิ่มเติม กล่าวคือ พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาของสัตว์สังคม ไม่ใช่ศาสนาของพระปัจเจกพุทธเจ้า ดังนั้น ในการบรรลุธรรมไม่ว่าจะระดับใด จึงไม่ได้เป็นไปแบบตัวใครตัวมัน หรือบรรลุได้เองโดยไม่้ต้องเกี่ยวเนื่องทางธรรมกับผู้ใด ก็หาไม่ กล่าวคือ จำเป็นต้องเกี่ยวข้องและัรับธรรมสืบทอดมาจากผู้อื่น ต่อๆ กันไป การรับธรรมจึงเป็นวิถีดั้งเดิมในพระพุทธศาสนา คือ รับฟังธรรมจากผู้มีธรรมแท้ อันที่จริงการฟังย่อมได้เพียง "สุตมยปัญญา" เท่านั้น ธรรมแท้แล้วนั้นไม่มีแม้แต่คำอธิบายหรือตัวอักษรใดๆ เป็น "จิตสู่จิต" และ "ธรรมสู่ธรรม" ดังนั้น จะใช้คำว่า "รับฟังธรรม" เห็นว่ายังไม่ตรงนัก จึงใช้คำว่า "รับธรรม" แทน ซึ่งค่อนข้างตรงมากกว่า ทว่า หากผู้ให้ธรรม, ผู้สืบทอดธรรมส่งต่อให้ผู้อื่น เป็นผู้ไม่มีธรรมแท้จริง การรับธรรมนั้นก็ไม่สำเร็จผล คือ ผู้รับธรรมหาได้บรรลุธรรมไม่ จำต้องให้ "ผู้มีธรรมแท้หรือบรรลุธรรมแท้จริง" เป็นผู้ให้ธรรม ผู้รับธรรมจึงจะบรรลุธรรม เมื่อบรรลุธรรมแล้ว จึงไม่ต้องปฏิบัติธรรม อย่างอื่นใดให้ยุ่งยากอีกเพราะบรรลุแล้วเป็นอเสขบุคคลมีปัญญาส่องสว่างนำทางให้ตนเองได้ ก็ปฏิบัติตัวตามธรรมชาติ (ไม่ใช่ไม่ทำอะไรเลย นั่งนิ่งเป็นพระอิฐพระปูน ก็หาไม่) การทำตัวตามธรรมชาติโดยไม่ได้ปฏิบัติธรรมอะไรอื่นใดเลย นั่นแหละ คือ ลักษณะของผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว นั่นเอง


ในพระอภิธรรม มีคำว่า "ปริยัติ, ปฏิบัติ, ปฏิเวธ" เป็นสามลำดับเรียงกันไว้ กล่าวคือ เมื่อใดบุคคลได้เรียนธรรมแบบอ่าน, ฟัง หรือจากตำรับตำราที่ผ่านตัวอักษรภาษา อธิบายได้ เมื่อนั้น เรียกว่า "ปริยัติ" และเมื่อได้นำไปปฏิบัติโดยยังไม่รู้แจ้ง ยังไม่ใช่ธรรมแท้ ยังไม่ใช่วิถีของผู้บรรลุธรรมจริง จึงเีรียกว่า "การปฏิบัติธรรม" ซึ่งยังไม่ใช่วิถีของผู้บรรลุธรรมจริง สิ่งที่ปฏิบัตินั้นยังไม่ใช่ธรรมะจริง ไม่เป็นธรรมชาติจริง (ขอเน้นย้ำตรงนี้) จนเมื่อผ่านเลยไปถึงจุดที่เรียกว่า "ปฏิเวธ" แ้ล้ว นั่นแหละ จึงเรียกว่่า "บรรลุธรรมจริง" ซึ่งบุคคลจะเข้าสู่ขั้น "ปฏิเวธ" ได้นั้น จำต้อง "รับธรรม" จนบรรลุธรรม, แจ้งด้วยปัญญาแล้วก่อน จึงจะนำธรรมะไปใช้แบบที่เรียกว่า "ปฏิเวธ" ได้ ซึ่งการนำธรรมไปใช้แบบปฏิเวธนี้ อาจจะดูเหมือนแตกต่างไปจากธรรมะแต่เดิม เนื่องจากเป็นการปรับเข้าตามสถานการณ์จริง, ความเป็นจริงของชีวิต แต่แท้แล้ว โดยแก่นสารแห่งธรรมภายใน ย่อมเหมือนเดิม ไม่ต่างจากเดิมเลย เนื่องจากเป็นผลมาจากการบรรลุธรรม นั่นเอง



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB