สุตมยปัญญา

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
สุตมยปัญญา หมายถึง ปัญญาที่เกิดจากการรับรู้ผ่านอายตนะใดอายตนะหนึ่งในระดับสังขาร เช่น การอ่าน, การฟัง เป็นต้น อันไม่รวมถึงการรับรู้ผ่านอายตนะทางใจ (จิตสู่จิต) ซึ่งยังไม่ใช่การบรรลุธรรมอันแท้จริง โดยมีคำสามคำเกี่ยวข้อง เช่น สุตมยปัญญา, จินตมยปัญญา และภาวนามยปัญญา สำหรับการบรรลุธรรมที่แท้จริง จะใช้คำว่า "ภาวนามยปัญญา" ส่วน "สุตมยปัญญา" นั้น ได้มาจากการรับรู้จากผู้อื่นในระดับสังขาร ไม่มีการคิด ไม่เกิดจากจิตหรือญาณหยั่งรู้ของตัวเอง ส่วน "จินตมยปัญญญา" นั้น เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นจากตัวเอง เป็นการคิด, สร้างสรรค์ เอาเอง ซึ่งยังไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ก็ได้ ส่วน "ภาวนามยปัญญา" นั้น มีทั้งการรับรู้จากผู้อื่นและการพิจารณาจนรู้แจ้งด้วยตนเอง ประกอบด้วย


นอกจากนี้ ยังมีคำอีกสามคำที่คล้ายกัน คือ สุตมยปัญญา, ปริยัติ, สัจจานุโพโธ ล้วนเป็นคำที่แสดงถึงการมีปัญญาหรือความรู้ในระดับตื้น, ระดับต้น แต่ยังไม่ถึงขั้นบรรลุธรรมทั้งสิ้น โดยคำว่า "สุตมยปัญญา" นั้นจะใช้ในความหมายกว้างๆ เป็นปัญญาที่ไม่จำกัดแหล่งที่มา อาจจะมาจากในทางโลกหรือทางธรรมก็ได้ สามารถใช้่ได้เหมือนกัน เพียงแต่หมายความแคบลงถึงการรับรู้จากผู้อื่นในระดับสังขาร เช่น การฟัง, การอ่าน เป็นต้น ส่วนคำว่า "ปริยัติ" นั้นใช้ในความหมายกว้างๆ เช่นกัน แต่เฉพาะเจาะจงลงไปในด้านการเรียนรู้ ซึ่งอาจจะมีหรือยังไม่มีปัญญาเกิดขึ้นก็ได้ เช่น บางท่านไปเรียนปริยัติแล้วอาจจะได้ปัญญาหรือยังไม่ได้ปัญญา ก็ได้, บางท่านไม่ได้เรียนปริยัติ แต่ได้ฟังธรรมจากแหล่งอื่นใด แล้วอาจเกิด "สุตมยปัญญา" ก็ได้ หรือไม่เกิด ก็ได้, ส่วนคำว่า "สัจจานุโพโธ" แตกต่างจากคำือื่นๆ ตรงที่เป็นปัญญาอันเกิดจากการได้รู้แจ้งตามธรรมนั้นๆ ซึ่งยังนับเป็นการ "รู้ตามความจริง" ยังไม่ใช่การ "บรรลุความจริง" ก็เท่านั้นเอง ดังนั้น คำสามคำเหล่านี้ จึงมีความหมายในระดับที่ใกล้เคียงกัน เพียงแต่ใช้ต่างกันเพียงเล็กน้อย เ่ท่านั้นเอง



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB