หลายท่านที่ไม่เข้าใจตรงนี้ ย่อมมีความพยายามผิดทาง ไม่ตรงนิพพาน คือ พยายามสร้างนิพพานบ้าง, ทำให้เกิดนิพพานบ้าง, ทำให้กิเลสนิพพานบ้าง, ทำให้ขันธ์ห้านิพพานบ้าง, ทำให้ได้เป็นพระอรหันต์บ้าง ฯลฯ แท้แล้วนิพพานไม่ใช่ผลจากการกระทำใดๆ เลย ส่วนสมมุติธรรมอื่นๆ นั้นต่างหากที่เป็นผลจากการ กระทำด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ส่งให้เกิดเป็นสมมุติใหม่ๆ เกิดขึ้น, ตั้งอยู่, ดับไป ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อหมดสิ้นซึ่งกระบวนการนี้แล้ว "สมมุติใหม่ๆ" ย่อมไม่ถูกสร้างขึ้น, ไม่ถูกรักษา, ไม่ถูกทำลาย ย่อมไม่มีสมมุติใดๆ มาบดบังนิพพาน อันเป็นธรรมชาติที่มีมาแ่ต่ดั้งเดิมนั้น นิพพานย่อมปรากฏชัด แสดงตัวเอง อันพ้นแล้วจากภาวะตัวตนของตน สมมุติัอันไม่เที่ยง และทุกข์ใดๆ ทั้งปวง "นิพพาน" จึงพ้นแล้วจากมรรคและผลดังนี้ อนึ่ง บุคคลอาศัยมรรคเป็นเหตุเพื่อให้ได้ "อรหันตผล" เป็นผล แล้วอาศัยปัญญาระดับอรหันตผลนั้น ในการส่องสว่างเห็น "นิพพาน" ชัดเจน ทว่า พระอรหันต์อาจจะนิพพานในชาตินั้นๆ หรือไม่รีบนิพพาน ก็ได้
มรรคผล
มรรคผล ประกอบด้วยคำว่า "มรรค" และคำว่า "ผล" โดยคำว่า "มรรค" หมายถึง วิธี, วิถีทาง อันเป็นเหตุให้เกิดผลทางธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นเอง ส่วนคำว่า "ผล" นั้นคือ สิ่งที่เกิดจากมรรค เช่น อรหันตผล ซึ่งเกิดได้จากการเจริญมรรค นอกจากนี้ ยังมีคำว่า "มรรคผลนิพพาน" ด้วย ซึ่งเป็นการเพิ่มคำว่า "นิพพาน" เข้ามา อนึ่ง พึงทราบว่า "นิพพาน" ไม่ใช่เหตุ และไม่ใช่ผล เป็นธรรมชาติดั้งเดิมก่อนสมมุติ ที่พ้นจากการเกิดและการดับของสมมุติใดๆ จึงไม่ใช่เหตุ และไม่ใช่ผลของอะไรใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติที่มีอยู่แล้วแต่ไม่ใช่มีแบบเป็นตัวตนของตน (อัตตา) ไม่ใช่ความมีอยู่แบบเที่ยง หรือความมีอยู่แบบไม่เที่ยง ก็หาไม่ เพราะไม่ใช่ธรรมที่ต้องดำรงอยู่ บนความเที่ยงหรือความไม่เที่ยงใดๆ ดังนั้น จึงควรแยกแยะให้ชัดเจนว่า "ผล" กับ "นิพพาน" นั้น ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ บุคคลสามารถเจริญ "มรรค" เป็นเหตุให้เกิด "อรหันตผล" เป็นผลได้ แต่เมื่อได้อรหันตผล เป็นผลแล้ว ไม่จำเป็นต้องนิพพานเสมอไป ด้วยนิพพานเป็นธรรมชาติที่ไม่เกี่ยวเนื่องด้วยเหตุหรือผลใดๆ ด้วยเหตุนี้แม้บุคคลไม่เจริญมรรคใดๆ นิพพานก็เป็นธรรมชาติที่เป็นจริงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องสร้างเหตุให้เกิดนิพพาน ไม่จำเป็นต้องอาศัยมรรคให้นิพพานมีขึ้นมาจริงๆ ก็หาไม่ นิพพานก็เ็ป็นความจริงเช่นนั้นเองอยู่แล้วไม่เกี่ยวกับมรรคหรือผลใดๆ เลย มีแต่ "อรหันตผล" ที่เกี่ยวเนื่องด้วยเหตุและผล อันบุุคคลใดปรารถนาก็สามารถอาศัย "มรรค" เป็นเหตุให้เกิด "อรหันตผล" เป็นผลได้
หลายท่านที่ไม่เข้าใจตรงนี้ ย่อมมีความพยายามผิดทาง ไม่ตรงนิพพาน คือ พยายามสร้างนิพพานบ้าง, ทำให้เกิดนิพพานบ้าง, ทำให้กิเลสนิพพานบ้าง, ทำให้ขันธ์ห้านิพพานบ้าง, ทำให้ได้เป็นพระอรหันต์บ้าง ฯลฯ แท้แล้วนิพพานไม่ใช่ผลจากการกระทำใดๆ เลย ส่วนสมมุติธรรมอื่นๆ นั้นต่างหากที่เป็นผลจากการ กระทำด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ส่งให้เกิดเป็นสมมุติใหม่ๆ เกิดขึ้น, ตั้งอยู่, ดับไป ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อหมดสิ้นซึ่งกระบวนการนี้แล้ว "สมมุติใหม่ๆ" ย่อมไม่ถูกสร้างขึ้น, ไม่ถูกรักษา, ไม่ถูกทำลาย ย่อมไม่มีสมมุติใดๆ มาบดบังนิพพาน อันเป็นธรรมชาติที่มีมาแ่ต่ดั้งเดิมนั้น นิพพานย่อมปรากฏชัด แสดงตัวเอง อันพ้นแล้วจากภาวะตัวตนของตน สมมุติัอันไม่เที่ยง และทุกข์ใดๆ ทั้งปวง "นิพพาน" จึงพ้นแล้วจากมรรคและผลดังนี้ อนึ่ง บุคคลอาศัยมรรคเป็นเหตุเพื่อให้ได้ "อรหันตผล" เป็นผล แล้วอาศัยปัญญาระดับอรหันตผลนั้น ในการส่องสว่างเห็น "นิพพาน" ชัดเจน ทว่า พระอรหันต์อาจจะนิพพานในชาตินั้นๆ หรือไม่รีบนิพพาน ก็ได้
หลายท่านที่ไม่เข้าใจตรงนี้ ย่อมมีความพยายามผิดทาง ไม่ตรงนิพพาน คือ พยายามสร้างนิพพานบ้าง, ทำให้เกิดนิพพานบ้าง, ทำให้กิเลสนิพพานบ้าง, ทำให้ขันธ์ห้านิพพานบ้าง, ทำให้ได้เป็นพระอรหันต์บ้าง ฯลฯ แท้แล้วนิพพานไม่ใช่ผลจากการกระทำใดๆ เลย ส่วนสมมุติธรรมอื่นๆ นั้นต่างหากที่เป็นผลจากการ กระทำด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ส่งให้เกิดเป็นสมมุติใหม่ๆ เกิดขึ้น, ตั้งอยู่, ดับไป ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อหมดสิ้นซึ่งกระบวนการนี้แล้ว "สมมุติใหม่ๆ" ย่อมไม่ถูกสร้างขึ้น, ไม่ถูกรักษา, ไม่ถูกทำลาย ย่อมไม่มีสมมุติใดๆ มาบดบังนิพพาน อันเป็นธรรมชาติที่มีมาแ่ต่ดั้งเดิมนั้น นิพพานย่อมปรากฏชัด แสดงตัวเอง อันพ้นแล้วจากภาวะตัวตนของตน สมมุติัอันไม่เที่ยง และทุกข์ใดๆ ทั้งปวง "นิพพาน" จึงพ้นแล้วจากมรรคและผลดังนี้ อนึ่ง บุคคลอาศัยมรรคเป็นเหตุเพื่อให้ได้ "อรหันตผล" เป็นผล แล้วอาศัยปัญญาระดับอรหันตผลนั้น ในการส่องสว่างเห็น "นิพพาน" ชัดเจน ทว่า พระอรหันต์อาจจะนิพพานในชาตินั้นๆ หรือไม่รีบนิพพาน ก็ได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น