มโนกรรม

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
มโนกรรม เป็นคำศัพท์ที่พบในอภิธรรมปิฎก ในส่วนของกรรมที่ประกอบด้วย มโนกรรม, วจีกรรม และกายกรรม โดยมโนกรรมหมายถึง "กรรมที่เกิดจากส่วนของจิต" ไม่ใช่ส่วนของวาจา, หรือกาย อนึ่ง บางท่านสับสนกับคำว่า "ความคิด" คิดว่าความคิดเป็นมโนกรรมด้วย แท้แล้วอาจจะไม่ใช่ ก็ำได้ เพราะความคิด นั้นเป็นส่วนหนึ่งสมองซึ่งนับรวมเป็นส่วนของ "สังขารขันธ์" ยังไม่ใช่จิตหรือกริยาของจิต (เจตสิก) แต่ "ความคิด" อาจนำพาจิตไปสู่กริยาต่างๆ จนนำไปสู่ "มโนกรรม" ตามความคิดนั้นๆ หรือไม่ก็ได้ เช่น บางครั้ง จิตอาจไหลตามความคิด ก่อให้เกิดมโนกรรมตามความคิดนั้นๆ หรือบางครั้งจิตอาจเบี่ยงเบนไปในทางตรงข้ามกับความคิด ทำให้เกิดมโนกรรมที่ตรงข้ามกับความคิด ก็ได้ เช่น ในคนที่มีความคิดเห็นเป็น "มิจฉาทิฏฐิ" แม้ว่าเขาจะคิดดี คิดเป็นบุญ แต่อาจขัดแย้งหรือสวนทางกับจิต ซึ่งเป็น "อกุศล" อยู่ก็ได้ ดังนั้น คำว่า "มโนกรรม" จึงเกี่ยวข้องกับจิตและมาจากจิตโดยตรง และมโนกรรมนี้ จะยังไม่ได้เกิด ณ จุดที่มี "ทิฏฐิ" (ความคิดเห็น) ที่ยังอยู่ภายใน คือ จัดว่ายังเป็นเพียงความคิด ความเห็นอยู่ ยังไม่มากไปกว่านี้ จนเมื่อจิตมีกริยาตอบสนองแล้ว ทำให้เกิด "ดำริ" ขึ้นนั่นแหละ จึงนับเป็น "มโนกรรม" ได้ ด้วยเหตุนี้ การมี "สัมมาทิฏฐิ" จึงนำไปสู่ "สัมมาสังกัปปะ" (ดำริชอบ) ซึ่งหากมีเพียง "ทิฏฐิ" ยังไม่นับเป็นมโนกรรม แต่หากเกิด "ดำริ" ตามมาแล้ว จึงนับเป็นมโนกรรม การมีสัมมาทิฏฐิ จึงช่วยทำให้เกิดดำริชอบ อันเป็นมโนกรรมฝ่ายกลางๆ ไม่ใช่ทั้งกุศลและอกุศล ส่วนการมี "กุศลทิฏฐิ" ย่อมนำไปสู่ "กุศลสังกัปปะ" หรือ ดำริอันเป็นกุศล ได้ อันจะนำไปสู่ "มโนกรรม" ที่เป็นฝ่ายกุศลได้ต่อไป และมโนกรรมฝ่ายกุศลนี้เอง ที่เรียกว่า "บุญ" อย่่่างหนึ่ง


อนึ่ง หลายท่านมักยึดมั่นถือมั่นคำกล่าวที่ว่า "เจตนาคือตัวกรรม" ซึ่งคำว่าเจตนาเป็นคำทางโลก ที่ไม่ชัด ไม่ละเอียดนัก ทำให้ไม่อาจแยกแยะได้ระหว่าง "ความคิดที่ยังไม่เกิดกรรม" กับ "ดำริที่เกิดเป็นมโนกรรมแล้ว" บางท่านยิ่งเหมารวมไปใหญ่ว่า "พระอรหันต์มีจิตว่าง" ทำอะไรก็ไร้เจตนา จึงไม่มีกรรม (เรียกว่าถ้าพระอรหันต์ฆ่าคนก็ไม่มีกรรม ไม่ผิดอะไรเลย) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด หากยึดมั่นอย่างนั้น ก็จะฝั่งรากลึกเป็นความเชื่อ ความคิดเห็นที่ผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ได้ แท้แล้วพระอรหันต์ไม่ได้มีแต่จิตว่าง แต่มีจิตสังขารได้หลายแบบ เพราะกิเลสจรก็ยังมีได้อยู่ เพียงแต่กิเลสจรหรือแม้แต่ความคิดที่ไม่ดี ไม่อาจมีอำนาจมากพอ ที่จะเหนี่ยวนำจิตของพระอรหันต์แท้ๆ ไปสู่ "ดำริ" จนเกิด "มโนกรรม" ได้ ทว่า ในพระอรหันต์ที่ไม่แท้นั้น ย่อมแตกต่างกัน เช่น พระอรหันต์ที่ไม่แท้ อาจมีดำริในใจว่าอยากสร้างวัด ด้วยอำนาจที่สำเร็จมโนมยิทธิ จึงทำให้มีฤทธิ์ดังใจ มีคนนำเงินทองมาถวายให้สร้างวัด อย่างนี้ เรียกว่า "เกิดดำริ" ขึ้นแล้ว เป็นมโนกรรม ซึ่งไม่ใช่ "สัมมาสังกัปปะ" แต่อย่างใดเลย เพราะไม่เป็นกลาง ไม่ตรงต่อนิพพาน นั่นเอง



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB