รูปราคะ คือ สังโยชน์เครื่องร้อยรัดอย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่ในระดับละเีอียด อันส่งผลให้บุคคลพัวพันอยู่ในรูปฌาน อันเป็นความสุขสงบอันละเอียด อนึ่ง พึงเข้าใจว่า "กามฉันทะ" แตกต่างจากรูปราคะด้วย กล่าวคือ การพัวพันอยู่ด้วย "รูป, รส, กลิ่น, เสียง, สัมผัส" อันน่าพึงปรารถนาทั้งหลายนั้น จนทำให้ไม่อาจหลุดพ้นออกมาสู่ธรรมได้ เราเรียกว่า "กามฉันทะ" ไม่ใช่รูปราคะ ดังนั้น คนที่หลงรูป, มีราคะเมื่อเห็นรูปแห่งคนที่งดงามถูกพัวพันอย่างนี้จนไม่อาจบรรลุธรรมได้นั้น ไม่ใช่รูปราคะ แต่เป็นไปด้วยกามฉันทะ ดังนั้น คำว่า "รูปราคะ" จึงใช้เฉพาะให้ชัดเจนคือ ในท่านที่เจริญ "รูปฌาน" ดี แล้วไม่ยอมปล่อยวางในรูปฌานที่เจริญได้นั้น ทำให้เสียดายฌานนั้นๆ ก็ดี, กลัวเสียฌานที่บำเพ็ญมา ก็ดี, ติดในความสงบสุขด้วยรูปฌานนั้น ก็ดี ฯลฯ อันพัวพันขัดขวางไม่ให้บุคคลบรรลุธรรมในระดับที่สูงขึ้นได้ คือ อรหันตผล นั่นแหละ ที่เรียกว่า "รูปราคะ" หรือแม้แต่บางท่านเจริญรูปฌาน, ได้นิมิต, ได้กสิณ, ได้ตาทิพย์ อย่างใดก็ดี แล้วเห็นรูปในระดับทิพย์ หมายเอาว่าถึงธรรมแล้ว ถึงนิพพานแล้ว ถูกรูปเหล่าันั้นพัวพันอยู่ จนไม่อาจบรรลุอรหันตผลได้ นี่ก็คือ "รูปราคะ" เช่น เห็นนิพพานเ็ป็นเมืองแก้ว แล้วคิดว่าบรรลุธรรมแล้ว, เห็นธรรมกายเป็นกายแก้ว แล้วก็คิดว่าบรรลุอรหันตผลแล้ว, เห็นพระพุทธเจ้ามี "รูป" มาโปรด ก็คิดว่าได้ธรรมแท้ บรรลุแน่แท้แล้ว (เห็นรูปตถาคตแต่ไม่เข้าถึงตถาคต) ถูกรูปเหล่านี้พัวพันอยู่ ร้อยรัดอยู่ ขัดขวางการเข้าสู่ธรรม เป็นอุปสรรคขวางกั้น ทำให้ไม่บรลุธรรมในระดับที่สูงขึ้นได้ นี่ย่อมจัดเป็น "สังโยชน์" อย่างหนึ่งที่เรียกว่า "รูปราคะ" นั่นเอง
อนึ่ง สังโยชน์หรือเครื่องร้อยรัดจิตใจไม่ให้บรรลุธรรมนั้น หากจะแบ่งออกเป็นหยาบ, ปานกลาง และละเอียดจะได้เป็น
๑. สังโยชน์ระดับหยาบ ได้แก่ สักกายทิฐิ, วิจิกิจฉา, ศีลัพพตปรามาส
๒. สังโยชน์ระดับปานกลาง ได้แก่ ปฏิฆะ, กามฉันทะ
๓. สังโยชน์ระดับละเอียด ได้แก่ มานะ, อุทธัจจะ, รูปราคะ, อรูปราคะ, อวิชชา
ซึ่งสังโยชน์ระดับละเอียดนี้ เป็นระดับที่เฉพาะพระอรหันต์เท่านั้นจะหลุดพ้นได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น