บุคคลจะหลุดพ้นจากปฏิฆะ เครื่องร้อยรัดนี้ได้ จำต้องน้อมเอาไว้ในใจ กระทำภายในใจ ให้ปฏิฆะไม่ส่งผลกระทบต่อบุคคลภายนอกก่อน ปฏิฆะจะค่อยๆ อ่อนกำลังลง ลดลง เบาบางลงได้ แม้ว่าจะทำให้เกิดการกระทบกระทั่งภายในจิตใจของตนเองบ้างก็ตาม แต่เมื่อเกิดการกระทบกระทั่งภายในตัวเองมากขึ้น เขาก็จะพึงรู้ได้ถึงผลกระทบของปฏิฆะ รู้ฤทธิ์เดชของปฏิฆะ และเห็นโทษภัยของปฏิฆะ จนเอาตนหลุดพ้นปฏิฆะได้ในที่สุด หากยังไม่น้อมเอาปฏิฆะมาพิจารณาภายในแล้ว ก็จะเกิดปฏิฆะกับบุคคลอื่นโดยรอบ ไปหมด ซ้ำๆ ทำให้ขาดสติ ไม่รู้ตัวว่าปฏิฆะกำลังแผลงฤทธิ์อยู่ เหมือนเวลาไฟโกรธลุกขึ้น ก็พ่นใส่คนอื่น ตัวเองหายร้อนแล้วก็สบาย ติดพฤติกรรมแบบนี้ ทำอยู่ซ้ำๆ เลยถูกพัวพันด้วยวิสัยเช่นนี้เรื่อยๆ แต่เมื่อเอาไฟโกรธไว้ภายในแล้ว มันก็เผาตัวเอง ตัวเองรู้ตัวว่าร้อน ย่อมเห็นโทษภัยของปฏิฆะเร็วขึ้น แล้วเอาตัวเองออกจากปฏิฆะได้เร็วขึ้นฉะนั้น อนึ่ง ปฏิฆะไม่ใช่ความโกรธ แต่เป็นนิสัยที่ติดตัว ชอบโต้แย้งถกเถียง หรือใส่อารมณ์โกรธไปยังคนอื่นๆ บุคคลสามารถบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นได้ แม้ยังมีความโกรธ เกิดและดับอยู่เืนืองๆ ก็ตาม ถ้าบุคคลนั้นมีความโกรธแต่หลุดพ้นแล้วจากการติดนิสัยเอาความโกรธไปลงที่คนอื่นที่เรียกว่า "ปฏิฆะ" ความโกรธที่หลุดพ้นแล้วจากปฏิฆะ ก็อุปมาเหมือนไฟในเตา ไม่อาจเผาผู้อื่นได้ฉะนั้น
ปฏิฆะ
ปฏิฆะ คือ สังโยชน์เครื่องร้่อยรัดชนิดหนึ่งอันก่อให้เกิดผลเป็นความโกรธ เป็นต้น ทั้งนี้ ปฏิฆะ ไม่ใช่ตัวความโกรธโดยตรง แต่เกิดร่วมกับความโกรธได้ โดยปฏิฆะนั้นเป็นนิสัยความเคยชิน ที่ทำให้บุคคลถูกผูกมัด พัวพันไปด้วยพฤติกรรมเดิมๆ คือ การปะทะ, ความขัดแย้ง, การปฏิเสธ, การไม่ยอมรับฟัง, การติดวิสัยโต้แย้ง ฯลฯ เป็นต้น เมื่อบุคคลติดวิสัยอย่างนี้ ถูกผูกมัดพัวพันด้วยวิสัยอย่างนี้ จึงไม่ทันฟังธรรมให้ลึกซึ้งแจ้งแทงตลอดได้ มักจะโต้แย้ง, ขัดแย้ง, ปะทะ, ปฏิเสธ, ไม่ยอมรับ ฯลฯ อยู่เนืองๆ ทำให้ไม่อาจที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นไปได้ หากบุคคลยังมีปฏิฆะมากแล้ว อาจบรรลุธรรมได้สูงสุดเพียง "สกิทาคามี" ก็ไม่อาจบรรลุธรรมสูงไปกว่านี้ได้อีก โดยพระสกิทาคามีจะทำให้ ปฏิฆะ และ กามฉันทะ ค่อยๆ เบาบางลงไป บางครั้งจะพบว่าพระโสดาบันจะมีปฏิฆะมาก ชอบโต้แย้งมาก ชอบปะทะถกเถียงมาก ในขณะที่พระสกิทาคามีจะน้อยลง แต่จะมี "การกระทบกระทั่งภายในตัวเอง" มากขึ้นแทนที่จะกระทบกระทั่งกับบุคคลภายนอก หากลองทดสอบผู้ที่ชอบโต้แย้ง, ชอบปะทะ, ชอบกระทบกระทั่ง (มีปฏิฆะ) มาก เหล่านี้ แล้วพบว่าเขาไม่ได้มีสักกายทิฐิ ถือตัว และเมื่อได้เห็นธรรมที่เราแสดง จิตเขาก็น้อมตรงธรรมเสมอ นั่นแสดงว่าอาจเป็นพระอริยบุคลขั้นใดขั้นหนึ่งได้ แต่ถ้าจิตไม่น้อมตรงต่อธรรม ทั้งๆ ที่แสดงธรรมชัดเจนแล้ว ไม่น้อมเข้าสู่ตัว สอนตัวเอง กลับฟุ้งออกไปแสวงหาธรรมอื่นที่มากขึ้น หรือธรรมนอกตัว หรือแทนที่จะเอาธรรมน้อมเข้าตัว สอนตนเอง กลับเอาไปสอนคนอื่นแทน นั่นไม่ใช่ลักษณะของพระอริยบุุคคลเลย
บุคคลจะหลุดพ้นจากปฏิฆะ เครื่องร้อยรัดนี้ได้ จำต้องน้อมเอาไว้ในใจ กระทำภายในใจ ให้ปฏิฆะไม่ส่งผลกระทบต่อบุคคลภายนอกก่อน ปฏิฆะจะค่อยๆ อ่อนกำลังลง ลดลง เบาบางลงได้ แม้ว่าจะทำให้เกิดการกระทบกระทั่งภายในจิตใจของตนเองบ้างก็ตาม แต่เมื่อเกิดการกระทบกระทั่งภายในตัวเองมากขึ้น เขาก็จะพึงรู้ได้ถึงผลกระทบของปฏิฆะ รู้ฤทธิ์เดชของปฏิฆะ และเห็นโทษภัยของปฏิฆะ จนเอาตนหลุดพ้นปฏิฆะได้ในที่สุด หากยังไม่น้อมเอาปฏิฆะมาพิจารณาภายในแล้ว ก็จะเกิดปฏิฆะกับบุคคลอื่นโดยรอบ ไปหมด ซ้ำๆ ทำให้ขาดสติ ไม่รู้ตัวว่าปฏิฆะกำลังแผลงฤทธิ์อยู่ เหมือนเวลาไฟโกรธลุกขึ้น ก็พ่นใส่คนอื่น ตัวเองหายร้อนแล้วก็สบาย ติดพฤติกรรมแบบนี้ ทำอยู่ซ้ำๆ เลยถูกพัวพันด้วยวิสัยเช่นนี้เรื่อยๆ แต่เมื่อเอาไฟโกรธไว้ภายในแล้ว มันก็เผาตัวเอง ตัวเองรู้ตัวว่าร้อน ย่อมเห็นโทษภัยของปฏิฆะเร็วขึ้น แล้วเอาตัวเองออกจากปฏิฆะได้เร็วขึ้นฉะนั้น อนึ่ง ปฏิฆะไม่ใช่ความโกรธ แต่เป็นนิสัยที่ติดตัว ชอบโต้แย้งถกเถียง หรือใส่อารมณ์โกรธไปยังคนอื่นๆ บุคคลสามารถบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นได้ แม้ยังมีความโกรธ เกิดและดับอยู่เืนืองๆ ก็ตาม ถ้าบุคคลนั้นมีความโกรธแต่หลุดพ้นแล้วจากการติดนิสัยเอาความโกรธไปลงที่คนอื่นที่เรียกว่า "ปฏิฆะ" ความโกรธที่หลุดพ้นแล้วจากปฏิฆะ ก็อุปมาเหมือนไฟในเตา ไม่อาจเผาผู้อื่นได้ฉะนั้น
บุคคลจะหลุดพ้นจากปฏิฆะ เครื่องร้อยรัดนี้ได้ จำต้องน้อมเอาไว้ในใจ กระทำภายในใจ ให้ปฏิฆะไม่ส่งผลกระทบต่อบุคคลภายนอกก่อน ปฏิฆะจะค่อยๆ อ่อนกำลังลง ลดลง เบาบางลงได้ แม้ว่าจะทำให้เกิดการกระทบกระทั่งภายในจิตใจของตนเองบ้างก็ตาม แต่เมื่อเกิดการกระทบกระทั่งภายในตัวเองมากขึ้น เขาก็จะพึงรู้ได้ถึงผลกระทบของปฏิฆะ รู้ฤทธิ์เดชของปฏิฆะ และเห็นโทษภัยของปฏิฆะ จนเอาตนหลุดพ้นปฏิฆะได้ในที่สุด หากยังไม่น้อมเอาปฏิฆะมาพิจารณาภายในแล้ว ก็จะเกิดปฏิฆะกับบุคคลอื่นโดยรอบ ไปหมด ซ้ำๆ ทำให้ขาดสติ ไม่รู้ตัวว่าปฏิฆะกำลังแผลงฤทธิ์อยู่ เหมือนเวลาไฟโกรธลุกขึ้น ก็พ่นใส่คนอื่น ตัวเองหายร้อนแล้วก็สบาย ติดพฤติกรรมแบบนี้ ทำอยู่ซ้ำๆ เลยถูกพัวพันด้วยวิสัยเช่นนี้เรื่อยๆ แต่เมื่อเอาไฟโกรธไว้ภายในแล้ว มันก็เผาตัวเอง ตัวเองรู้ตัวว่าร้อน ย่อมเห็นโทษภัยของปฏิฆะเร็วขึ้น แล้วเอาตัวเองออกจากปฏิฆะได้เร็วขึ้นฉะนั้น อนึ่ง ปฏิฆะไม่ใช่ความโกรธ แต่เป็นนิสัยที่ติดตัว ชอบโต้แย้งถกเถียง หรือใส่อารมณ์โกรธไปยังคนอื่นๆ บุคคลสามารถบรรลุธรรมขั้นสูงขึ้นได้ แม้ยังมีความโกรธ เกิดและดับอยู่เืนืองๆ ก็ตาม ถ้าบุคคลนั้นมีความโกรธแต่หลุดพ้นแล้วจากการติดนิสัยเอาความโกรธไปลงที่คนอื่นที่เรียกว่า "ปฏิฆะ" ความโกรธที่หลุดพ้นแล้วจากปฏิฆะ ก็อุปมาเหมือนไฟในเตา ไม่อาจเผาผู้อื่นได้ฉะนั้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น