บางท่านที่มีอุทธัจจะ จะสังเกตุได้จากการมีความคิดมากเกินไป, สงสัยมากเกินไป, จินตนาการมากเกินไป ก็มี เป็นลักษณะหนึ่งของอุทธัจจะ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่เป็นแบบนี้จะมีอุทธัจจะเสมอไป (คนที่มีวิจิกิจฉาก็มีความสงสัยมากเกินไปได้) แต่ไม่ได้หมายความว่ามีตลอดเวลา ในพระอรหันต์สามารถมีความฟุ้งซ่านได้มากมาย หากสิ่งนั้นเป็นเพียงกองขันธ์ที่ไม่เที่ยง เกิดแล้วดับไปตามเหตุปัจจัย และไม่ได้มีอำนาจถึงขั้นร้อยรัด เป็นอุปสรรคขัดขวางการบรรลุธรรมได้ เช่น ยามฟังธรรม ไม่มีความฟุ้งซ่าน แต่พอไม่ได้ฟังธรรมแล้วก็กลับมีความฟุ้งซ่านมากมายเป็นปกติ เช่นนี้ ไม่ใช่อุทธัจจะ เพราะไม่ได้ร้อยรัดจนเป็นอุปสรรคขัดขวางการบรรลุธรรมแต่อย่างใด ดังนั้น อย่าเพิ่งมองคนที่ฟุ้งซ่านว่าจะไม่อาจบรรลุธรรมได้ หากเขาสามารถหลุดพ้นความฟุ้งซ่านได้เมื่อฟังธรรม ตรงกันข้าม อย่าเพิ่งคิดว่าคนที่ดูไม่ฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลาจะเป็นผู้บรรลุธรรมแล้ว เพราะเขาอาจยึดมั่นยึดอยู่กับความคิดว่า จะต้องไม่มีอุทธัจจะก็ได้
อุทธัจจะ
อุทธัจจะ คือ สังโยชน์ระดับละเอียดชนิดหนึ่งซึ่งแสดงออกมาในรูป "ความฟุ้งซ่าน" เนื่องจากความไม่แน่วแน่ของจิต ก็ดี, ความไม่ชัดเจนของความคิด ก็ดี, ความรู้ที่มากหรือจินตนาการที่มากเกินไป ก็ดี ฯลฯ ส่งผลให้เกิดความฟุ้งซ่าน แต่หากความฟุ้งซ่่านนั้นไม่พัวพันร้อยรัด ก็ไม่ใช่ "สังโยชน์" จะเป็นเพียงนิวรณ์ เหมือนเมฆน้อยลอยมาบดบังดวงจันทร์เป็นครั้งคราวฉะนั้น เกิดแล้วดับไปไม่เที่ยงตามเหตุปัจจัยหนุนนำ หากความฟุ้งซ่านเป็นเพียงนิวรณ์ เป็นของไม่เที่ยง ไม่พัวพันร้อยรัดแล้ว อาศัยเพียง "ขณิกสมาธิ" คือ สมาธิเพียงเล็กน้อย, ตื้นๆ ไม่ลึกไม่ถึงขั้นมีฌาน ก็สามารถบรรลุธรรมได้ แต่หากความฟุ้งซ่านนั้นมีมากเกินไป จนกลายเป็นบ่วงร้อยรัด เป็นอุปสรรคขัดขวางการบรรลุธรรม ก็จะพัฒนาไปเป็น "อุทธัจจะ" ได้ อนึ่ง พระอริยบุคคลที่หลุดพ้นอุทธัจจะได้ คือ พระอรหันต์ นอกจากนั้น ก็ไม่อาจหลุดพ้นอุทธัจจะ ดังนั้น การที่บุคคลทั่วไปมีความฟุ้งซ่าน ก็ไม่แปลก บ้างมีความฟุ้งซ่านไม่รุนแรง ไม่ถึงขั้นพัวพันร้อยรัดเป็นสังโยชน์ คือ จัดเป็นความฟุ้งซ่านระดับนิวรณ์เท่านั้น, บ้างมีความฟุ้งซ่านรุนแรง พัวพันร้อยรัดจนเป็นสังโยชน์ที่เรียกว่า "อุทธัจจะ" ก็มี หากกลายเป็นอุทธัจจะแล้ว ต่อให้บรรยายธรรมดีเท่าไร ก็ไม่ช่วยให้บรรลุธรรมได้ จำต้องเอาตัวเองให้หลุดพ้นจากอุทธัจจะนั้นให้ได้ก่อน จึงจะเข้าถึงธรรมได้ ในที่สุด
บางท่านที่มีอุทธัจจะ จะสังเกตุได้จากการมีความคิดมากเกินไป, สงสัยมากเกินไป, จินตนาการมากเกินไป ก็มี เป็นลักษณะหนึ่งของอุทธัจจะ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่เป็นแบบนี้จะมีอุทธัจจะเสมอไป (คนที่มีวิจิกิจฉาก็มีความสงสัยมากเกินไปได้) แต่ไม่ได้หมายความว่ามีตลอดเวลา ในพระอรหันต์สามารถมีความฟุ้งซ่านได้มากมาย หากสิ่งนั้นเป็นเพียงกองขันธ์ที่ไม่เที่ยง เกิดแล้วดับไปตามเหตุปัจจัย และไม่ได้มีอำนาจถึงขั้นร้อยรัด เป็นอุปสรรคขัดขวางการบรรลุธรรมได้ เช่น ยามฟังธรรม ไม่มีความฟุ้งซ่าน แต่พอไม่ได้ฟังธรรมแล้วก็กลับมีความฟุ้งซ่านมากมายเป็นปกติ เช่นนี้ ไม่ใช่อุทธัจจะ เพราะไม่ได้ร้อยรัดจนเป็นอุปสรรคขัดขวางการบรรลุธรรมแต่อย่างใด ดังนั้น อย่าเพิ่งมองคนที่ฟุ้งซ่านว่าจะไม่อาจบรรลุธรรมได้ หากเขาสามารถหลุดพ้นความฟุ้งซ่านได้เมื่อฟังธรรม ตรงกันข้าม อย่าเพิ่งคิดว่าคนที่ดูไม่ฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลาจะเป็นผู้บรรลุธรรมแล้ว เพราะเขาอาจยึดมั่นยึดอยู่กับความคิดว่า จะต้องไม่มีอุทธัจจะก็ได้
บางท่านที่มีอุทธัจจะ จะสังเกตุได้จากการมีความคิดมากเกินไป, สงสัยมากเกินไป, จินตนาการมากเกินไป ก็มี เป็นลักษณะหนึ่งของอุทธัจจะ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่เป็นแบบนี้จะมีอุทธัจจะเสมอไป (คนที่มีวิจิกิจฉาก็มีความสงสัยมากเกินไปได้) แต่ไม่ได้หมายความว่ามีตลอดเวลา ในพระอรหันต์สามารถมีความฟุ้งซ่านได้มากมาย หากสิ่งนั้นเป็นเพียงกองขันธ์ที่ไม่เที่ยง เกิดแล้วดับไปตามเหตุปัจจัย และไม่ได้มีอำนาจถึงขั้นร้อยรัด เป็นอุปสรรคขัดขวางการบรรลุธรรมได้ เช่น ยามฟังธรรม ไม่มีความฟุ้งซ่าน แต่พอไม่ได้ฟังธรรมแล้วก็กลับมีความฟุ้งซ่านมากมายเป็นปกติ เช่นนี้ ไม่ใช่อุทธัจจะ เพราะไม่ได้ร้อยรัดจนเป็นอุปสรรคขัดขวางการบรรลุธรรมแต่อย่างใด ดังนั้น อย่าเพิ่งมองคนที่ฟุ้งซ่านว่าจะไม่อาจบรรลุธรรมได้ หากเขาสามารถหลุดพ้นความฟุ้งซ่านได้เมื่อฟังธรรม ตรงกันข้าม อย่าเพิ่งคิดว่าคนที่ดูไม่ฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลาจะเป็นผู้บรรลุธรรมแล้ว เพราะเขาอาจยึดมั่นยึดอยู่กับความคิดว่า จะต้องไม่มีอุทธัจจะก็ได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น