ศีลัพพตปรามาส

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
ศีลัพพตปรามาส ดั้งเดิมแปลว่า การถือศีลแบบลูบๆ คลำๆ ทำให้ไม่อาจจเข้าถึงธรรมได้ ให้ผู้อ่านเข้าใจว่าหากจะบรรลุธรรมได้จะต้องไม่ถืศีลแบบลูบๆ คลำๆ จนกลายเป็นความสุดโต่งไป คือ ถือศีลแบบเคร่งเกินไป ไม่เป็นปกติ ไม่เป็นธรรมชาติ บ้างก็ไม่สนใจ ปล่อยหย่อนยานตามใจไปเลย เพราะคิดว่าถ้าจะได้บรรลุธรรมก็ต้องถือศีลเคร่งครัด ก็เลยหมดกำลังใจ ไม่อยากปฏิบัติ ไม่อยากหวังผลไปเลยก็มี ดังนั้น จึงขอแนะนำความหมายใหม่ว่า "ศีลัพพตปรามาส" หมายถึง ความหลงผิด ในการละเว้นปฏิิบัติ (ศีล) ทำให้ ขัดขวางการปฏิบัติธรรม ขัดขวางการบรรลุธรรม เช่น การถืิอศีลของพราหมณ์เหล่าอื่นที่ถือศีลโดยขาดความเข้าใจแท้จริง จึงถือศีลอย่างเคร่งครัด ไม่เป็นปกติ ไม่เป็นธรรมชาิติ แตกต่างจากศีลตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีความเ็ป็นธรรมชาติ ตามปกติ ของผู้ที่ปฏิบัติได้แล้ว หลุดพ้นแล้ว ได้มรรคผลแล้วจริง กล่าวคือ เมื่อใดได้บรรลุมรรคผลจริงในทางพระพุทธศาสนา "ศีลคือความเป็นปกติของการละเว้นกรรมบางอย่าง" ก็จะตามมาเอง อย่างเป็นธรรมชาติ เหมือนดั้งเดิมก่อนเราทำผิด เราก็ไม่เคยทำมาก่อน เมื่อเรากลับสู่ภาวะปกติได้ เราก็ไม่ทำสิ่งนั้น เช่น เดิมเราไม่รู้ว่าการโกหกคืออะไร เราไม่เคยโกหก เราก็ไม่ทำการโกหกเป็นปกติของเราอยู่แล้ว นี่ืคือ "ศีลที่แปลว่าความเป็นปกติของการละเว้นตามระดับของผู้บรรลุธรรม" เป็นแนวทางการมีศีลอย่างถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธศาสนา ในขณะที่พราหมณ์เหล่าอื่น ไม่ได้ทำเช่นนี้ บางเหล่าตราศีลขึ้นมาแข่งกัน อวดกัน ว่าใครมีศีลมากกว่า เช่น ศีล ห้ามกินอาหารที่หญิงมีประจำเดือนทำมาให้ เป็นต้น เป็นศีลที่ไม่ได้มาจากความเป็นปกติตามธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ที่บริสุทธิ์ ไม่ถูกปรุงแต่งใดๆ แต่เป็นศีลที่มาจากการปรุงแต่งเองภายหลัง ว่านี่คือ ศีลของเรา ศีลของฤษี ผู้ปฏิบัติธรรม คือ ความดีงามถูกต้อง ในแบบของเรา จนทำให้เคร่งครัดเกินไป ก็มี, หย่อนยานไป ก็มี  


หลายท่านปฏิบัติ "ข้อละเว้น" (ศีล) ด้วยความเข้าใจที่ผิดๆ จนกลายเป็นอุปสรรคในการบรรลุธรรม จนไม่อาจบรรลุธรรมได้ก็มีเพราะมุ่งแต่ไปเคร่งครัดศีลอันเป็นเพียงเปลือกนอกเช่นนี้ ไม่สนใจแก่นแท้แห่งธรรม    ไม่เข้าใจความเป็นธรรมะ ธรรมชาติ ความเป็นปกติ ในการละเว้นของผู้มีธรรมบริสุทธิ์ระดับต่างๆ จึงสร้างศีลขึ้นมาปฏิบัติมากมาย ยุ่งเหยิงและกลายเป็นบ่วงภาระให้ตน จนไม่อาจบรรลุมรรคผลทางธรรม นั่นเอง



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB