อเทวนิยม

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
อเทวนิยม คือ ค่านิยมที่แตกต่างไปจากเทวนิยม ตรงข้ามกับเทวนิยม กล่าวคือ ไม่ใช้ค่านิยมตัวบุคคลหรือเทพเจ้า ไม่นิยมสรรเสริญบูชาเพื่อให้ได้มาซึ่งการช่วยเหลือต่างๆ แต่นิยมที่จะพึ่งพาตนเอง เข้าถึงสัจธรรม ความจริง และหลุดพ้นทุกข์ด้วยตนเอง มากกว่าการร้องขอให้ผู้อื่นทำให้ ซึ่งมีสองลักษณะ คือ


๑. แบบปัจเจกนิยม คือ ค่านิยมบรรลุด้วยตนเองโดยไม่พึ่งพาใครเลย ไม่สนใจ ไม่เชื่อ ไม่ศรัทธา ไม่ฟังใครเลย นอกจากตัวเอง แม้ว่าจะไม่มีค่านิยมแบบเทวนิยมก็ตาม แต่ก็เอาตัวเองเป็นหลัก เป็นศูนย์กลาง เป็นสำคัญ โดยไม่สนใจผู้อื่นว่าจะมีผู้ใดช่วยให้เกิดปัญญาหรือหลุดพ้นทุกข์ได้ เป็นลักษณะที่สุดโต่งไปอีกทางหนึ่ง ตรงกันข้ามกับพวก "เทวนิยม" พบได้ในศาสนาที่เน้นปรัชญามากๆ และบางลัทธิเช่น เต๋า

๒. แบบสังคมนิยม คือ ค่านิยมบรรลุธรรมด้วยการพึ่งพาอาศัยกัน ไม่มุ่งเน้นการสรรเสริญบูชาเทพเทวดา เพื่อร้องขอ, ขอพร, หรือเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือจากเทพเทวดา แต่มุ่งเน้นทำให้เกิดปัญญา หลุดพ้นทุกข์ โดยอาศัยความช่วยเหลือพึ่งพากันในสังคม เป็นแบบสายกลางคือ ไม่ใช่สุดโต่งไปทางไม่รับความช่วยเหลือจากใครเลย หรือเอาแต่รอความช่วยเหลือจากเทพเจ้าก็หาไม่ นับเ็ป็นอเทวนิยมแบบสังคมนิยม


อนึ่ง อเทวนิยม ไม่ได้หมายความว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อว่าเทพเทวดามีอยู่จริงหรือไม่, มีประเพณีสรรเสริญบูชาเทพเทวดาหรือไม่ ก็ไม่เกี่ยวกัน หรือจะอยูในศาสนาใดๆ ก็ไม่เกี่ยวกันว่าจะเป็นอเทวนิยมหรือไม่ บางท่านอาจอยู่ในศาสนา-ลัทธิเต๋า แต่ไม่พึ่งตนเอง คิดแต่พึ่งพาเทวดาก็เป็นเทวนิยม บางท่านอยู่ในศาสนาพราหมณ์ที่กราบไหว้สรรเสริญบูชาเทวดาทุกๆ วัน แต่จิตใจไม่ได้ต้องการให้เทพเทวดามาทำแทนตน ตนกลับคิดที่จะทำด้วยตนเอง อย่างนี้ก็ไม่ใช่เทวนิยม จึงเห็นได้ว่าเทวนิยมหรืออเทวนิยมไม่ได้แบ่งแยกที่ตัวศาสนาแต่เป็นเรื่อง "ค่านิยมส่วนบุคคลเท่านั้น" แม้แต่ชาวพุทธอาจมีทั้งที่เป็นเทวนิยมและอเทวนิยมก็ได้


สุดท้ายแล้วไม่ว่าเทวดาจะมีจริงหรือไม่ นั่นไม่ใช่เรื่องที่จะมากำหนดความเป็นเทวนิยมหรืออเทวนิยมแต่ขึ้นอยู่กับจิตใจของแต่ละบุคคลต่างหาก หากคิดแต่จะพึ่งพาเทพเทวดามากเกินไป (สุดโต่ง) ก็อาจกลายเป็นเทวนิยมได้ ในขณะเดียวกันถ้าไม่ยอมพึ่งพาใครเลย ก็อาจกลายเป็นอเทวนิยมแบบปัจเจกนิยม ก็ได้ (สุดโต่ง) แต่ถ้าเข้าใจทางสายกลางและความเป็นจริงตามธรรมชาติแล้ว จะทราบว่า เทพเทวดาพึ่งพาได้บ้างก็จริง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด การเชื่อเรื่องเทพเทวดาหากไม่มากเกินไป ก็ไม่สุดโต่ง เป็นทางสายกลาง แต่การพึ่งพาตนเองเพื่อความหลุดพ้นทุกข์และแจ้งในสัจธรรมต่างๆ เป็นสิ่งที่สำคัญแท้จริงมากกว่าที่จะหวังแต่พึ่งพาเทพเทวดาดลบันดาลให้สิ่งต่างๆ แม้ว่าเทพเทวดาอาจพึ่งพาได้บ้าง ในบางครั้งบางคราว ก็ตาม



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB