อธาตุ

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
อธาตุ เป็นคำใหม่ที่ผู้เขียนสมมุติบัญญัติขึ้นมาเอง เพื่ออธิบายสิ่งที่ไม่มี "ธาตุ" เป็นแก่นสารสาระอันแท้ ซึ่งได้แก่ เจตสิก นั่นเอง ในธรรมหมวดปรมัตถธรรม ได้แ่ก่้ จิต, เจตสิก, รูป และนิพพาน นั้น ทั้งสี่อย่างนี้ ไม่ใช่อย่างเดียวกัน (จิตไม่ใช่เจตสิก, ไม่ใช่รูป, ไม่ใช่นิพพาน และ นิพพาน ก็ไม่ใช่จิต) เพราะไม่ใช่อย่างเดียวกัน จึงต้องแยกแยะออกเป็นข้อๆ ต่างกันไว้อย่างนี้ โดยในสี่อย่างนั้น สิ่งที่มี "ธาตุ" แท้เป็นแก่นสารอยู่ มีอยู่ ๓ ชนิด คือ จิต, รูป, และนิพพาน ยกเว้นอย่างเดียวที่ไม่มีธาตุเป็นสาระแก่นสาร ก็คือ เจตสิก ซึ่งเจตสิกนี้ เหมือนอาการต่างๆ ของจิตเท่านั้น อุปมาเหมือน ท่านั่ง, นอน, ยืน, เดิน ซึ่งเกิดแล้วดับไป ไม่มีสาระแก่นสาร แต่ตัวคนที่นั่ง, นอน, ยืน, เดิน ต่างหากที่มีธาตุแท้เป็นสาระแก่นสารอยู่ จิตอุปมาก็เหมือนคนที่นั่ง, นอน, ยืน, เดิน ส่วนเจตสิกก็เหมือนท่านั่ง, นอน, ยืน, เดิน ฉะนั้น อนึ่ง สิ่งใดที่มีธาตุอยู่ ย่อมมีการดำรงอยู่ตามสภาวะ มีการเกิดและดับไปตามวาระ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดแล้วดับเองเหมือนดั่งพยับแดดได้ ทั้งนี้ กิเลสก็เป็นสิ่งที่ไม่มีธาตุอยู่เป็นแก่นสารแต่อย่างใด ไม่ต่างอะไรกับเจตสิก เหมือนพยับแดดที่ไม่ได้มีแก่นสารสาระ เกิดแล้วดับไป ไร้ธาตุแท้แห่งธรรมใดๆ ทั้งสิ้น "โดยไม่ต้องไปทำการดับ" แต่ประการใดเลย แตกต่างจาก "ขันธ์ห้า" ที่ประกอบเ็ป็น "รูป" ตัวตนของเรา มีธาตุทั้งสี่ประกอบกันขึ้นมาจำต้องกระทำ  "ขันธปรินิพพาน" ธาตุขันธ์จึงนิพพานได้หมด, "จิต" ก็มี "มโนธาตุ" เป็นแ่ก่นสารภายใน จำต้องกระทำสิ่งที่เรียกว่า "พระธาตุนิพพาน" จึงจะนิพพานได้หมด หากไม่หมดแล้ว จิตจะยังดำรงอยู่ แม้ไม่มีขันธ์ห้ามาผสมรองรับหรือปฏิสนธิเพื่อเกิดในชาติภพใหม่ แต่ก็ยังไม่ได้นิพพานทั้งหมด (เป็นสอุปาทิเสสนิพพาน) อนึ่ง ใน "ปรินิพพาน ๓" นั้น ประกอบด้วย ๑. กิเลสปรินิพพาน ๒. ขันธปรินิพพาน ๓. พระธาตุปรินิพพาน สองประการหลังคือ ขันธปรินิพพาน และ ธาตุปรินิพพาน เป็นสิ่งที่มีการกระทำแ่ต่ไม่ใช่การกระทำเพื่อก่อให้เกิดกรรมและวิบากสืบต่อไป เป็นการกระทำเพื่อจบกรรมวิบากทั้งมวล ส่วน "กิเลสปรินิพพาน" นั้น ไม่จำเป็นที่ต้องกระทำ เนื่องเพราะกิเลสเกิดแล้วดับไปตามหลักอนิจจัง เพียงมีสติว่องไวเท่าทันยามกิเลสดับแล้วมีพละทั้งห้าสมังคีกัน ก็สามารถแจ้งในธรรม แจ้งในนิพพาน เข้าใจธรรมได้ง่ายดุจมองดวงจันทร์ ยามไร้เมฆบดบังฉะนั้น กล่าวคือ ดวงจันทร์ย่อมสว่างไสวอยู่แล้ว เพียงมีเมฆบดบังเป็นครั้งคราวเท่านั้น อนึ่ง ญาณที่หยั่งรู้ได้อย่างนี้ว่ากิเลสสิ้นไปแล้วมีแต่จิตและธรรมที่บริสุทธิ์นี้ เรียกว่า "อาสวักขยญาณ"


นอกจากนี้ "นิพพาน" หากมองในมุมธาตุแล้วจะมีคำเรียกว่า "นิพพานธาตุ" ซึ่งแตกต่างจากธาตุทั้งหมดทั้ง ๗ ชนิด เพราะเป็นธาตุที่ไม่ใช่ธาตุ พ้นแล้วจากความเป็นธาตุ หลุดแล้วจากภาวะธาตุทั้งหลาย แม้ดูเหมือนธาตุแต่ก็ไม่ใช่ธาตุ เหมือนไม่มีธาตุแต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีอะไรเลย นิพพานเป็นธรรมชาติที่มีอยู่จริง มีสาระแก่นสาร แต่ไม่เหมือนธาตุอื่นๆ ทั่วไป จะเป็นธาตุแห่งความว่างเปล่า (อากาสธาตุ) หรือ ก็ไม่ใช่, จะเป็นธาตุแ่ห่งความมี อันประกอบกันอยู่เหมือนมหาภูติรูปสี่ (ธาตุดิน, น้ำ, ลม, ไฟ) หรือก็หาไม่ เป็นดั่งธาตุที่ไม่ใช่ธาตุ หลุดพ้นแล้วจากความเป็นทาสแห่งธาตุ เพียงแต่ใช้คำเรียกว่า "นิพพานธาตุ" เพื่อพิจารณาดูในด้านของธาตุเท่านั้น แต่หาได้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดที่ชัดเจน แน่นอน เหมือนดังธาตุอื่นๆ ไม่ ...



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB