ธาตุ

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
ธาตุ เป็นแก่นแท้ของสรรพสิ่ง อันมีลักษณะแตกต่างกันออกไป จำแนกได้เป็น ๗ ชนิด คือ

๑. ธาตุดิน คือ ธาตุแท้ที่มีลักษณะแข็ง, รวมตัว, แน่นิ่ง, หนักแน่น, รองรับสิ่งต่างๆ
๒. ธาตุน้ำ คือ ธาตุแท้ที่มีลักษณะเย็น, ลื่นไหล, เกาะกุม, ใส, ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
๓. ธาตุลม คือ ธาตุแท้ที่มีลักษณะเหมือนว่างเปล่า, ไม่รวมตัว, ฟุ้งกระจาย, ถ่ายเทไปมา
๔. ธาตุไฟ คือ ธาตุแท้ที่มีลักษณะร้อน, สว่างไสว, แวววาว, ลุกจากที่ต่ำไปสู่ที่สูงกว่า
๕. อากาสธาตุ คือ ธาตุแท้ที่มีลักษณะว่างเปล่่า เป็นที่อาศัยของธาตุสี่ เป็นเหตุเกิดธาตุสี่
๖. วิญญาณธาตุ คือ ธาตุแท้ที่มีลักษณะเป็นธาตุรู้, ปรุงแ่ต่งให้ชัด, เกิด ณ จุดที่มีการรับรู้
๗. มโนธาตุ คือ ธาตุแท้ที่มีลักษณะบริสุทธิ์, ประภัสสร, ไม่ว่ารู้หรือไม่รู้ ก็คือ มโนธาตุิอยู่ดี

ธาตุสี่จะรวมกันไม่อาจแยกกันได้แท้จริงอยู่ใน "รูป" ทุกรูป (รูปหมายถึงสิ่งใดๆ ก็ตามที่สัมผัสรับรู้ได้ด้วยอาตนะทั้งหก เช่น สิ่งที่ืทำให้เกิด รูป, รส, กลิ่น, เสียง, สัมผัสต่างๆ) โดยจะเกิดจาก "อากาสธาตุ" หรือความว่าง เมื่อความว่างดับไป เป็นเหตุให้เกิดความมีรูป ซึ่งความมีรูปนี้ มีลักษณะต่างๆ อันพิจารณาแยกได้ ๔ ลักษณะ คือ ธาตุทั้งสี่ นั่นเอง เมื่อใดที่ธาตุทั้งสี่ดับลง ย่อมเป็นเหตุให้ "อากาสธาตุ" ก่อกำเนิด การเกิดและดับลงของธาตุทั้งสี่นั้น ไม่ใช่นิพพาน เป็นเพียงอาการหนึ่งของสรรพสิ่งที่เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะสงสารคือ วัฏจักรของการเกิดและดับเท่านั้น เมื่อธาตุสี่ดับไป ก็ก่อให้เกิด "อากาสธาตุ" แทนที่ แต่เมื่อ "อากาสธาตุ" ดับไป ย่อมก่อให้เกิดธาตุสี่วนเวียนอยู่เช่นนี้ มิใช่นิพพาน เป็นวัฏจักรแ่ห่งการเกิดดับเท่านั้น

ส่วน "วิญญาณธาตุ" และ "มโนธาตุ" นั้น มักจะผสมอยู่รวมกัน แต่ก็แยกกันอยู่ได้เช่นกัน หากผสมรวมกันเรียกว่า "ปฏิสนธิ" ทำให้เกิด "รูปนาม" เป็นชีวิตขึ้นมา ในชาติภพใหม่ ไม่ว่าจะเป็นภพมนุษย์, สวรรค์, นรก ก็นับเ็ป็นชีวะ หรือชีวิตเช่นกัน ตราบเมื่อกระทำ "ดับขันธปรินิพพาน" แล้ว วิญญาณขันธ์จึงนิพพานไป จะเหลือแต่ "มโนธาตุ" ดำรงอยู่เท่านั้น ตราบจนกว่าจะกระทำ "พระธาตุนิพพาน" อีกเป็นครั้งสุดท้าย มโนธาตุจึงจะนิพพานไป ไม่เช่นนั้น ก็จะคงเหลือมโนธาตุดำรงคงอยู่ดังเดิม โดยไม่มีวิญญาณธาตุผสมอยู่ด้วย มโนธาตุที่ดำีรงอยู่โดยไม่มีวิญญาณธาตุผสมอยู่ด้วยนี้ นับว่ายังไม่นิพพาน แต่ก็อยู่เหนือชาติภพ อนึ่ง บางครั้งท่านจะเห็นคำว่า "นิพพานธาตุ" ด้วย ซึ่งแท้แล้วไม่ใช่ธาตุใดๆ แต่ใช้เพื่ออธิบายนิพพานในมุมมองของธาตุเท่านั้น เพื่อให้หลายท่านเข้าใจว่า "นิพพานธาตุ" ไม่ใช่ํธาตุใดๆ ในธาตุทั้ง ๗ ชนิดนี้



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB