อธิจิต

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
อธิจิต คือ จิตที่ผ่านการอบรมจนมีธรรมอันยิ่ง ดังพระบาลีว่า "อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ"  การทำให้ "จิต" มีธรรมอันยิ่ง (อธิจิต) เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดังนั้น ท่านควรเข้าใจว่า "อธิจิต" มิได้มีหรือเกิดขึ้นอยู่แล้วทันทีทันใด หรือมีมาอยู่นานแล้ว ก่อนแล้วก็หาไม่ แต่มามี เกิดขึ้นในภายหลังจาก "การฝึกอบรม" ซึ่งเดิมทีนั้น จิตเดิมแท้จะเรียกว่า "จิตประภัสสร" เป็นจิตที่บริสุทธิ์ เป็นธรรมที่บริสุทธิ์ ไม่ถูกปรุงแต่งอะไรอยู่ก่อน นับเป็น "อสังขตธรรม" อย่างหนึ่ง แต่เมื่อจิตได้อยู่ร่วมกับธรรมอื่นๆ เช่น วิญญาณ, สังขาร ฯลฯ ผสมรวมด้วยกันแล้ว เป็น "มนุษย์รูปนามหนึ่ง" มนุษย์ทั้งตัวนั้นคือ ส่วนผสมของธรรมหลายๆ ส่วน จัดเป็น "สังขตธรรม" ซึ่งมีจิตอยู่ภายในด้วย ก่อให้เกิดความรู้สึก รัก, โลภ, โกรธ, หลง ฯลฯ ได้มากมาย อันความรู้สึกทั้งหลายนั้น ล้วนมิใช่จิต ด้วยจิตยังคงบริสุทธิ์อยู่้ดังเดิม เป็นเพียงผู้เข้าไปร่วมรับรู้อารมณ์ ร่วมกับธรรมอื่่นๆ เช่น วิญญาณขันธ์ เป็นต้น เท่านั้นเอง จิตยังคงเป็นจิตประภัสสร บริสุทธิ์อยู่ดังเดิม ทว่า แม้จิตจะบริสุทธิ์อยู่เช่นนี้ ก็ไม่อาจรับรู้ถึง "นิพพาน" ได้ และไม่แจ้งในธรรม อุปมาดั่งคนใสซื่อ บริสุทธิ์ แต่ก็โง่ ไม่รู้แจ้งจริงฉะนั้น จึงมักถูกวิญญาณขันธ์ชวนไปร่วมรับรู้ผ่านอาตนะ (เช่น ตา, หู, จมูก ฯลฯ) ต่างๆ อยู่เสมอ ดังนั้น การอบรมจิตให้พัฒนาเป็น "อธิจิต" จนสามารถรับรู้ได้ถึงนิพพานได้ แจ้งในธรรมได้ จึงเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า "อธิจิต" ก็คือ พระธรรมกาย คือ "อาตนะนิพพาน" หรือนามที่รับรู้นิพพานได้ นั่นเอง หากไม่มีการอบรมจิตแล้ว จิตไม่พัฒนาไปถึง "อธิจิต" แล้ว ก็ไม่อาจรับรู้ได้ถึงนิพพาน ย่อมไม่อาจแจ้งในธรรม ย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่ต่อไป ยกเว้นมีศรัทธาในพระพุทธเจ้า แม้ไม่สำเร็จถึง "อธิจิต" ไม่มีอายตนะนิพพาน ก็อาศัยบารมีพระพุทธเจ้านำพาึถึงนิพพานได้เช่นกัน (ดังนั้น พระอรหันต์จึงมีทั้งที่ได้อธิจิต-ธรรมกายและที่ไม่ได้อธิจิต-ธรรมกาย) ซึ่งจะมีคำเรียกพระอรหันต์ที่ถึงด้วยจิตแบบนี้ว่า "เจโตวิมุติ" คือ จิตหยั่งถึงนิพพานได้ ไม่ใช่แปลว่ากิเลสดับเที่ยง (กิเลสแม้จะมีเกิด-ดับอีก ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่สาระ ถ้าจิตท่านหยั่งถึงนิพพานได้แล้ว นับเป็นเจโตฯ)


อนึ่ง มีคำหนึ่งที่บางท่านนิยมใช้ว่า "จิตสังขาร" อันไม่มีอยู่จริง และไม่มีในคำสอนของพระพุทธเจ้ามาก่อน ทว่า พระอรรถกาฐาจารย์ ท่านหนึ่งได้สมมุติขึ้นไว้เพื่ออธิบายอาการแสดงออกของจิต เพื่อให้เข้าใจเรื่อง "เจตสิก" เท่านั้นเอง นอกจากนี้ ยังมีคำว่า "มโนธาตุ" อันหมายถึง "จิต" ในมุมมองของธาตุ อีกด้วย ซึ่ง "มโนธาตุ" นี้ ไม่ใช่ "นิพพานธาตุ" จึงไม่ใช่ "นิพพาน" บางท่านคิดว่า "จิตไม่เกิด ไม่ดับ" ดังนี้ จิตย่อมเป็น "ตัวนิพพาน" หรือ "นิพพาน" นั่นเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ด้วยท่านมีคำศัพท์สองคำเรียกใช้แยกกันอยู่แล้วคือ มโนธาตุ ก็อย่างหนึ่ง นิพพานธาตุ ก็อย่างหนึ่ง ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ดังนั้น จิตสังขารย่อมมีอาการเกิดดับ แต่ิจิตประภัสสรย่อมไม่เป็นเช่นนั้น ย่อมมีแต่อาการ "ดำรงอยู่" อย่างเดียว (เกิดขึ้น, ตั้งอยู่, ดับไป ทั้งสามอาการเป็นอาการของธรรมทั้งหลายที่ไม่เที่ยง) เมื่อพ้นจากอาการดำีรงอยู่เป็นจิตแล้ว จิตนั้นจึงนิพพานไป หากยังมี "สภาวะติดอาการดำีรงอยู่" ต่อไป แม้ไม่เกิดดับ จิตนั้นก็จะยังไม่นิพพาน



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB