อสังขตธรรม จึงนับได้ว่ามีทั้งส่วนที่ "บริสุทธิ์แต่ไม่รู้แจ้ง" และยังติดในภาวะแห่งความบริสุทธิ์นั้นๆ และส่วนที่หลุดพ้นแล้วจากการติดภาวะความบริุสุทธิ์ อันนำไปสู่ความรู้แ้จ้งถึงซึ่งพระนิพพาน บางท่านจะนับเอา "นิพพาน" ว่าหลุดพ้นแล้วจากทั้ง "สังขตธรรม" และ "อสังขตธรรม" ด้วย โดยพิจารณาธรรมไล่ลำดับจากหยาบไปละเีอียดคือ จากสังขตธรรมไปอสังขตธรรม เมื่อหลุดพ้นแล้วจากอสังขตธรรมก็คือนิพพาน
อสังขตธรรม
อสังขตธรรม คือ ธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยเหตุปัจจัย เป็นธรรมบริสุทธิ์เนื้อแท้ ซึ่งก็คือ ธรรมทุกอย่างที่อยู่ในข่ายนี้ สรรพสิ่งใดๆ ที่อยู่ในข่ายนี้ หรือแม้แต่ธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่อยู่ในข่ายนี้ก็ตาม เช่น ธาตุดิน ปกติย่อมเกิดร่วมกับธาตุน้ำ, ธาตุลม, ธาตุไฟ รวมเรียกว่า "มหาภูติรูปสี่" เมื่อใดรับรู้ "รูป" ได้ย่อมเห็นรูปนั้นในมุมมองต่างๆ คือ มุมมองของธาตุดิน, ธาตุน้ำ, ธาตุลม, ธาตุไฟ ได้ทั้งสิ้น แต่ถ้าหยิบยกขึ้นมาเพื่อพิจารณาในใจของเราอย่างเดียว อย่างบริสุทธิ์ ก็นับว่าเป็น "อสังขตธรรม" ได้ (นับได้เฉพาะส่วนที่ยกขึ้นมาพิจารณาในใจ แต่ไม่ได้ันับรวมธาตุดินที่อยู่ร่วมในมหาภูติรูปสี่จริงๆ) ดังนั้น อสังขตธรรมจึงมีได้ ในการพิจารณาในใจ, ในความคิด ฯลฯ แบบไม่เอาเหตุปัจจัยอื่นๆ มาปรุงแต่ง แล้วก็อาจมีได้ในธรรมชาติ เพียงบางชนิดที่ไม่ใช่ "รูป" (เนื่องจากธรรมชาติจริงๆ รูปทั้งหลายย่อมอาศัยมหาภูติรูปสี่ปรุงประกอบเป็นเหตุปัจจัยร่วมกันมาเกิด) ซึ่งก็มีเพียง "นาม" หรือ "ตัวผู้รู้" ซึ่งนามในที่นี้ ก็มิได้บริสุทธิ์เพราะมีการปรุงแต่งร่วมกันเกิดเป็นนามขึ้นด้วย ได้แก่ จิต และ เจตสิก เมื่อใดที่เจตสิกไม่ร่วมปรุงแต่งด้วยกับจิต หรือจิตผ่านการอบรมเป็น "อธิจิต" สามารถรับรู้ถึง "นิพพาน" ได้ โดยไม่ถูกปรุงแต่งด้วยเจตสิก เช่นนี้ จึงจะนับว่าเป็นอสังขตธรรมได้ ซึ่งการรับรู้ในที่นี้จะต่างจาก "นาม" เพราะ "รู้ก็เหมือนไม่รู้" แต่ไม่ใช่การไม่รู้ และก็ไม่ใช่การรู้ในแบบ "นาม" (ที่มีตัวผู้รู้ปรุงแต่งจากจิตและเจตสิกร่วมกัน) บางท่านเรียกว่า "การรู้แจ้ง" หรือ การบรรลุธรรม ซึ่งก่อนจะมาถึงขั้นนี้ได้ บุคคลจะหลุดพ้นจาก "สังขตธรรม" ก่อน เข้าสู่อสังขตธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่ง แต่ก็ยังไม่รู้แจ้ง (เหมือนคนใสซื่อบริสุทธิ์ แต่ไม่รู้แจ้งยังโง่ซื่ออยู่) หากนับจากวงจรปฏิจสมุปบาทแล้ว นับว่าพ้นจาก "สังขาร" (ธรรมที่เกิดจากการปรุงแต่ง) แต่ยังไม่พ้นจาก "อวิชชา" จนเมื่อพ้นแล้วจากความไม่รู้แจ้ง จึงจะบรรลุธรรม
อสังขตธรรม จึงนับได้ว่ามีทั้งส่วนที่ "บริสุทธิ์แต่ไม่รู้แจ้ง" และยังติดในภาวะแห่งความบริสุทธิ์นั้นๆ และส่วนที่หลุดพ้นแล้วจากการติดภาวะความบริุสุทธิ์ อันนำไปสู่ความรู้แ้จ้งถึงซึ่งพระนิพพาน บางท่านจะนับเอา "นิพพาน" ว่าหลุดพ้นแล้วจากทั้ง "สังขตธรรม" และ "อสังขตธรรม" ด้วย โดยพิจารณาธรรมไล่ลำดับจากหยาบไปละเีอียดคือ จากสังขตธรรมไปอสังขตธรรม เมื่อหลุดพ้นแล้วจากอสังขตธรรมก็คือนิพพาน
อสังขตธรรม จึงนับได้ว่ามีทั้งส่วนที่ "บริสุทธิ์แต่ไม่รู้แจ้ง" และยังติดในภาวะแห่งความบริสุทธิ์นั้นๆ และส่วนที่หลุดพ้นแล้วจากการติดภาวะความบริุสุทธิ์ อันนำไปสู่ความรู้แ้จ้งถึงซึ่งพระนิพพาน บางท่านจะนับเอา "นิพพาน" ว่าหลุดพ้นแล้วจากทั้ง "สังขตธรรม" และ "อสังขตธรรม" ด้วย โดยพิจารณาธรรมไล่ลำดับจากหยาบไปละเีอียดคือ จากสังขตธรรมไปอสังขตธรรม เมื่อหลุดพ้นแล้วจากอสังขตธรรมก็คือนิพพาน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น