สังขตธรรม

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
สังขตธรรม คือ ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับ "อสังขตธรรม" (ที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น) อนึ่ง พึงเข้าใจก่อนว่าสรรพสิ่ง (ธรรม) ทั้งหลายที่ยังมี "เกิดขึ้น, ตั้งอยู่ และดับไป" นั้น จะ "เหตุ" และ "ผล" ในกระบวนการเกิดและัดับเสมอ (นอกจากพ้นแล้วจากการเกิดขึ้น, ตั้งอยู่ และดับ จึงไม่มีเหตุและผลในกระบวนการนั้นๆ) เช่น การดับไปของน้ำแข็ง (เหตุ) ก่อให้เกิดน้ำเหลว (ผล) การดับไปของน้ำเหลว (เหตุ) ก่อให้เกิดไอน้ำ (ผล) เป็นต้น ทว่า บางครั้ง การเกิดขึ้นของบางสิ่งเป็นการเกิดขึ้นแบบร่วมกัน ผสมกัน และไม่ใช่เหตุและผลของกันและกัน ที่เราเรียกว่า "เหตุปัจจัย" เช่น กบร้องขณะฝนตก เป็นต้น  ดังนั้น สังขตธรรมอันมี "เหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้่น" จึงเป็นธรรมที่เกิดแล้วไม่ได้เกิดเดี่ยวๆ แต่มีธรรมอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วย (แต่ไม่ได้เป็นเหตุและผลกัน ดังเช่น ฝนตก, กบร้อง) จึงเป็นธรรมที่ถูกผสม, ถูกปรุงแต่งใน "สถานการณ์ร่วมหนึ่งๆ" ยังไม่ได้ถูกแยกแยะ ยังไม่ได้ถูกจำแนกส่วนธรรม ยังไม่บริสุทธิ์เป็นธรรมหนึ่งเดียว อย่างหนึ่งอย่างใด ยังไม่ใช่ "อสังขตธรรม" ในการพิจารณาธรรม จากหยาบไปละเอียด จึงพิจารณาธรรมจาก "สังขตธรรม" ไปสู่ "อสังขตธรรม" เมื่อสุดแล้วแห่งอสังขตธรรมๆ ดับไปสิ้นแล้ว จึงพิจารณาได้ถึงนิพพาน (ดังนั้น นิพพานจึงไม่ใช่ทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม ทั้งคู่นี้ ธรรมคู่นี้ ยังไม่พ้นจาก "เหตุ" เกิด แต่นิพพานพ้นแล้วจากการเกิด-ดับ จึงพ้นแล้วจากเหตุเกิด) ในการพิจารณาสังขตธรรม จึงจำต้องใช้การแยกแยะเนื้อธรรม เอาส่วน "ปัจจัยปรุงแต่งร่วม" ออกไป จนเหลือแต่ "อสังขตธรรม หรือ ธรรมบริสุทธิ์เนื้อแท้แต่อย่างเดียว" เช่น มหาภูติรูป ๔ (ธาตุดิน, น้ำ, ลม, ไฟ) เกิดร่วมกัน แยกกันไม่ไ่ด้ หากแยกจากกันก็จะสิ้นสลายไปทั้งหมด แต่ในการพิจารณา เราจะพิจารณาเป็น "สังขตธรรม" ก่อน จึงแยกแยะธรรมในใจของเรา ไม่ได้ไปแยกในธรรมชาติจริงๆ เช่น อาจจะแยกแยะเหลือ "ธาตุไฟ" อย่างเดียว ขึ้นมาพิจารณา นี่เรียกว่า "อสังขตธรรม" ซึ่งไม่มีอยู่จริง ทำไม่ได้จริง (มหาภูติรูปสี่ ไม่อาจแยกออกจากกันได้จริง) แ่ต่มันแยกได้ในใจเราพิจารณา ในมุมมองของเรา เท่านั้น พิจารณาธาตุไฟจนดับสิ้นสูญแล้วจึงถึงนิพพานได้


ในการพิจารณาเรื่อง "สังขตธรรม" และ "อสังขตธรรม" นั้น จำต้องเข้าใจเรื่อง "เหตุปัจจัย" และ "เหตุผล" ก่อน หากไม่เข้าใจเรื่องอะไรคือ "เหตุปัจจัย" และ อะไรคือ "เหตุผล" ก็จะสับสนระหว่างเหตุผลและเหตุปัจจัย แล้วแยกแยะไม่ถูกได้ อนึ่ง ทั้ง "สังขตธรรม" และ "อสังขตธรรม" นั้น ต่างก็ยังมีการเกิดและดับไป มีอนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่อาจยึดเป็นตัวตนของตนได้ ทั้งสิ้น และยังไม่ใช่นิพพาน เนื่องจากยังเป็นธรรมซึ่งเกิดและดับไป นั่นเอง เพียงแต่ "สังขตธรรม" อาจดูยุ่งเหยิงและปรุงแต่งมากกว่า เพราะมี "เหตุปัจจัย" มาร่วมอยู่ด้วย ก็เท่านั้นเอง แต่แม้ "อสังขตธรรม" จะไม่มีเหตุปัจจัยมาปรุงแต่งร่วม แต่อสังขตธรรม ก็ยังไม่พ้นจากวังวนแ่ห่งการเกิดดับอยู่ดี เรียกได้ว่า "ต่อให้บริสุทธิ์แล้ว แต่ก็ยังไม่พ้นเกิด-ดับ" อยู่ดี นั่นเอง



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB