จิตสังขาร

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
จิตสังขาร คือ คำสมมุติใหม่ที่พระอรรถกฐาจารย์ผู้รจนาเรื่องจิตและเจตสิกได้บัญญัติขึ้นมาใหม่ ซึ่งไม่มีอยู่จริง และไม่มีในคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้า แต่เพื่อให้เราเข้าใจเรื่องจิตและเจตสิกง่ายๆ เท่านั้น จึงเป็นเหมือนคำสมมุติเท่านั้น โดยท่านได้จำแนก "จิตสังขาร" ไว้ถึง ๑๒๑ ดวงเพื่ออธิบายจิตและเจตสิกที่ทำงานร่วมกัน ซึ่งแท้จริงแล้ว "จิตนั้นมีเพียงลักษณะเดียว" เรียกว่า "จิตหนึ่ง" คือ "จิตประภัสสร" ไม่ใช่ "จิตพุทธะ" ไม่ใช่ "อธิจิต" มาก่อนแต่ต้น จำต้องฝึกอบรมจิตก่อน จิตประภัสสรที่บริสุทธิ์แต่ยังไม่รู้แจ้งจึงจะพัฒนาไปเป็น "จิตพุทธะ" หรือ "อธิจิต" ได้ต่อไป ดังนั้น จึงไม่ใช่ว่าทุกคนมีจิตพุทธะอยู่แล้วหรือเกิดมาไม่ต้องทำอะไรเลยก็มีจิตพุทธะ แต่จริงที่ว่าทุกคนมีจิตประภัสสร คือ บริสุทธิ์เหมือนกันหมด มาก่อนแม้ ว่าไม่ได้ทำอะไรเลย ก็ตาม หรือกล่าวง่ายๆ คือ เรามีจิตที่บริสุทธิ์ใสซื่อลึกๆ อยู่ภายในทั้งสิ้น แต่เราก็ยังต้องมาฝึกอบรมจิต เพื่อให้จิตพัฒนาไปมากกว่าแค่ "บริสุทธิ์" แต่ต้องรู้แจ้งถึงนิพพานด้วย รับรู้แจ้งได้ถึงนิพพานด้วย ซึ่งจะไปถึงขั้นนั้นได้ จิตประภัสสรจะต้องพัฒนาไปอยู่ในระดับที่เรียกว่า จิตพุทธะหรืออธิจิต


ดังนั้น จิตสังขาร จึงไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริง ไม่ใช่จิตจริงๆ ของมนุษย์ แต่เป็นเพียงการสมมุติึคำขึ้นมาใช้เพื่ออธิบายว่า "ผล" จากการที่จิตประภัสสรทำงานร่วมกับเจตสิกแล้ว ทำให้เกิดอะไรขึ้น เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ ก็เลยสมมุติว่าเป็น "จิตสังขารเกิดขึ้น" (ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นจริง) เท่านั้นเอง เช่น เมื่อเรามีความโกรธ แท้แล้ว จิตก็ยังบริสุทธิ์ ยังเป็นจิตประภัสสรอยู่เช่นเดิม เพียงแต่มี "เจตสิกที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการโกรธ" ที่เกิดขึ้น ปรุงแต่งร่วมอยู่กับจิต ก็เท่านั้นเอง ซึ่งเจตสิกที่ทำให้เรามีความโกรธนี้ "ไม่เที่ยง" ไม่ใช่สาระใดเลย เหมือนพยับแดดที่สะท้อนจากน้ำ วูบวาบ แล้วก็ดับหายไปในที่สุด ไม่เที่ยง ไม่จีรัง ไม่ใช่ตัวตนของตน "ไม่มีสารธรรม" ไม่ใช่ "ธาตุ" แก่นแท้อะไรที่ต้องมาทำให้นิพพานเลย ไม่ใช่ธาตุทั้งสี่, ไม่ใช่มโนธาตุ ที่เราจะต้องมาทำ "พระธาตุนิพพาน" เลย ไม่ใช่ขันธ์ห้าที่จะต้องกระทำ "ขันธปรินิพพาน" เลย มันเป็นแค่เพียงสิ่งที่เกิดขึ้นแ้ล้วดับไป ไม่มีแก่นสารในตัวเอง แล้วแต่ว่า จิต ของเรา จะไปส่งเสริมมามากแค่ไหนก็เท่านั้น ถ้าจิตไม่ส่งเสริมมันแล้ว มันก็ดับลงไปเอง ดังนั้น คำว่า "กิเลสนิพพาน" นั้น จึงไม่ใช่เรื่อง ไม่ใช่สาระที่เราจะต้องไปทำให้กิเลสนั้นนิพพาน เพราะแม้แต่เจตสิกที่เป็นมูลเหตุของกิเลสนั้น ก็ไม่มีสาระใด ไม่มีแก่นสารเนื้อธรรมใดๆ เลย เกิดแล้วไม่คงอยู่ได้ จำต้องดับสลายไปในที่สุด ไม่เที่ยงเลย เพียงแต่ในเวลาที่มันเกิดอยู่ มันอาจจะขับดันให้่เราไปทำกรรมอะไรได้มากมาย ทำให้กรรมนำพาเราหลงไปสู่วัฏฏสงสารก็เท่านั้นเอง ถ้าระหว่างที่เกิดกิเลสนั้น เราไม่พลาดท่า ไม่หลงออกไปทำกรรมใดๆ การที่กิเลสจะเกิดหรือไม่ ก็ไม่ใช่สาระ ไม่ใช่แก่นสาร ไม่ใช่ปัญหาใดๆ เลย ในพระพุทธศาสนากล่าวถึง พระอรหันต์ที่ยังมีกิเลสได้อยู่ แต่เข้าถึงธรรมด้วยปัญญาว่า "ปัญญาวิมุติ" ท่านว่ายังมีกิเลส แ่ต่กิเลสไม่อาจมีผลได้



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB