นอกจากนี้ ยังอาจจะมองกรรมในมุมอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน เช่น มองในมุมระดับความรุนแรงในการส่งผลกรรม ก็จะได้ว่า ๑. เศษกรรม หรือกรรมที่มีความรุนแรงน้อย เกิดขึ้นและสนองผลหมดได้ในชาติเดียว ๒. กรรมบางๆ คือ กรรมที่มีความรุนแรงกว่าเศษกรรม แ่ต่ก็ยังให้ผลไม่มาก เพียงแค่บางๆ เกิดขึ้นและสนองผลหมดได้ภายในไม่เกิน ๗ ชาติ ๓. กรรมกลาง คือ กรรมที่มีความรุนแรงมากขึ้น, เกิดขึ้น และสนองผลเกินกว่า ๗ ชาติขึ้นไป ๔. กรรมหนัก คือ กรรมที่มีความรุนแรงมากที่สุด เพราะนอกจากจะเกิดขึ้นและสนองผลเกินกว่า ๗ ชาติแล้ว แม้แต่ในชาติปัจจุบัน ก็ส่งผลให้เห็นทันตา ทันที เช่น กรรมที่ทำร้ายพระพุทธเจ้า, กรรมที่ทำบุญให้พระอรหันต์ที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ กรรมเหล่านี้เป็นกรรมหนักให้ผลรุนแรง (แต่ในทางตรงข้ามกัน) คือ ได้ผลทันทีในชาตินั้นๆ อนึ่ง กรรมทุกอย่างย่อมให้ผลทันทีในชาตินั้นๆ อยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ชัดเจน และเป็นไปอย่างซับซ้อนจนเกินกว่ามนุษย์ปุถุชนจะเห็น หรือเข้าใจได้ ยกเว้นเพียง "กรรมหนัก" (คุรุกรรม) เท่านั้น ที่มนุษย์จะพึงสังเกตุเห็นผลได้ทันทีในชาตินั้น แต่ถ้ามนุษย์มีจิตละเอียด มีฌานเจริญดี ย่อมหยั่งเห็นกรรมที่เกิดขึ้นและส่งผลในปัจจุบันทันที ได้ทั้งหมด เรียกว่า "ไม่จำกัดกาล" ไม่ต้องรอชาติหน้า ก็รู้ผลได้เลย ดังที่ได้กล่าวมานี้ เป็นเพียงการพิจารณากรรม ในบางแง่มุม เท่านั้นเอง
อนึ่ง กรรมเป็นสิ่งที่ทำได้ และทำกันเสมอๆ ในมนุษย์ พระพุทธเจ้าก็ไม่อาจห้ามใครทำกรรมได้ กรรมจึงมีหน้าที่ทำให้สัตว์สำนึกตน เกรงกลัว และตรงต่อนิพพาน ก็เท่านั้นเอง แม้ว่าพระพุทธเจ้าจะทรงลอยบาปและบุญแล้วก็ตาม แต่ก็มีการทำกรรมได้ "ตามระดับ" ทั้งกรรมดีและชั่ว (กุศลหรืออกุศลก็ตาม) กล่าวคือ พระอรหันต์จะกรรมทำแต่เฉพาะส่วนที่เป็นเศษกรรม ทำให้รับผลหมดได้ในชาติเดียว และนิพพานได้ในชาตินั้น ไม่มีกรรมพัวพันส่งผลให้เกิดใหม่ในชาติต่อไป ส่วนพระอริยบุคคลที่ยังไม่ถึงอรหันต์ก็สามารถทำกรรมได้ในส่วนที่เป็น "กรรมบางๆ" แต่ไม่ใช่เศษกรรมที่จะรับได้หมดในชาติเดียวยังต้องรับผลให้หมดภายใน ๗ ชาติ ส่วนคนทั่วไปที่ไม่ใช่อริยบุคคล จะทำกรรมที่เีรียกว่า "กรรมกลาง" มีผลรุนแรงเกิน ๗ ชาติ แต่ยังไม่ถึงขั้นที่เรียกว่ากรรมหนัก กลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มที่จะได้นิพพานช้าที่สุด เพราะก่อกรรมหนัก (คุรุกรรม) ส่งผลให้นอกจากจะชดใช้ไม่หมดภายใน ๗ ชาิติแล้ว ยังได้ัรับผลทันทีเห็นได้ชัดด้วยสายตาปุถุชน ในชาติปัจจุบันอีกด้วย ในกลุ่มที่ก่อกรรมหนักนี้ พระพุทธเจ้าจะโปรดไม่ได้ เพราะก่อกรรมหนักเกินไป พวกเขาจะไม่ได้นิพพานในโลกนี้ จะต้องไปเกิดยังดาวอื่นๆ หรือโลกธาตุอื่นๆ ถ้าเขาทำกรรมหนักอันเป็นกรรมชั่วไว้ ก็ต้องทำกรรมดี เพื่อให้ได้พ้นจากนรกไปสู่โลกธาตุอื่นๆ นั้น แต่ถ้าเขาทำกรรมหนักอันเป็นกรรมดีไว้ ก็จะไม่ตกนรก และลัดไปสู่โลกธาตุนั้นๆ ได้เลย ด้วยเหตุนี้ "ดาวโลกดวงนี้" จึงมีระบบ "ป้องกันกรรมหนัก" คือ ไม่ให้ปวงสัตว์ก่อกรรมหนัก (ไม่ว่ากรรมหนักนั้นจะเป็นกรรมดีหรือชั่ว) เพราะพวกเขาทำแล้วหากพ้นจากนรก ก็อยู่ในโลกธาตุนี้ไม่ได้ ต้องชดใช้หนี้กรรมด้วยการสร้างกรรมดีให้มาก เพื่อไปเกิดยังโลกธาตุอื่นต่อไป (อายุของสัตว์ในสวรรค์ทุกชั้นของโลก น้อยเกินกว่าจะรองรับ ผลจากการก่อกรรมหนักนั้น เขาจึงเกิดในโลกนี้ไม่ได้ ไม่ว่าสวรรค์ั้ชั้นใดก็ตาม) หรือหากจะสรุปง่ายๆ คือ สัตว์โลกนี้ ไม่อาจก่อกรรมหนักได้ จะก่อได้มากที่สุดคือ "กรรมกลาง" มีเฉพาะ "สัตว์ต่างดาว" เท่านั้น ที่ถูกส่งลงมาก่อกรรมหนัก เพราะจะส่งผลต่อ "ชาติภพสุดท้าย" ที่จะได้นิพพานด้วยว่าจะได้นิพพานที่ใด เช่น ได้นิพพานในดาวโลกดวงนี้ หรือว่าได้นิพพานในโลกธาตุอื่นๆ เช่น สุขาวดีโลกธาตุ เป็นต้น (ด้วยเหตุนี้ การบำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเ้จ้า "ในดาวโลกนี้" จึงไม่เน้นทำกรรมดีให้มาก (บุญ) แต่เน้นที่บารมีมากกว่า)
1 ความคิดเห็น:
ชาวดาวโลกนี้ ทำกรรมหนักไม่ขึ้นนะครับ ใครที่มีเชื้อสายไกอา เชื้อสายดาวโลกนี้ ไม่อาจทำกรรมหนักได้ ดังนั้น เขาจึงเหมือนคนที่ไม่เก่ง อะไรคือไม่เก่ง? ก็ืคือ ไม่อาจทำกรรมหนัก อันเห็นผลได้ชัดในสายตาของปุถุึชน "ในชาตินี้" (ไม่ว่าจะกรรมดีหรือชั่วก็ตามครับ) ชาวดาวโลกนี้ ไม่อาจทำอย่างนั้นได้ ผู้ที่ทำอย่างนั้นได้ จะมีแต่ "คนที่มีเชื้อสายต่างดาว" เท่านั้นครับ กล่าวคือ ถ้าคุณเห็นใครเก่ง ทำกรรมหนักขึ้น (กรรมหนักคือกรรมที่ทำแล้วเห็นผลในชาตินี้เลย) นั่น แสดงว่าเขาไม่ใช่คนที่มีเชื้อสายดาวโลกนี้ แต่มีเชื้อสายต่างดาวแล้วละครับ เช่น ถ้าเขาคิดจะทำธุรกิจให้ยิ่งใหญ่ เขาก็ทำขึ้น ทำได้ ในชาตินี้เลย ทั้งๆ ที่ไม่ใช่เพราะผลบุญเก่าสนองผล แต่มันเป็นผลจากการก่อกรรมในชาตินี้่ ที่เรียกว่า "กรรมหนัก" (สนองผล เห็นชัดเจนในชาตินี้เลย)
นี่แหละ "จุดสังเกตุ" ให้ท่านดูว่า "คนไหนมีเชื้อสายต่างดาว" ครับ
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น