"ศีล" ในพระพุทธศาสนา จึงเป็นเพียงเครื่องเตือนสติ แต่หากศีลสามารถทำให้บุคคลได้สติได้ ก็นับว่าเป็นธรรมอันเลิศแล้ว เพราะเพียงบุคคลมีสติ บุคคลก็เข้าใกล้ปัญญาไปทุกขณะ ในขณะที่ "ศีลของฤษี" หรือพราหมณ์เหล่าอื่น, ลัทธิอื่น, ศาสนาอื่นทั้งหลาย มิได้มีศีลไว้เพียงเพื่อวัตถุประสงค์นี้เท่านั้น บางครั้ง ฤษีก็ใช้ศีลเพื่อเป็นเครื่องเรียกศรัทธา ทำให้คนเห็นว่าท่านมีศีลมาก น่านับถือ หรือใช้เรียกลาภสักการะเพื่อดำรงชีพ เช่น การปฏิบัติศีลเพื่อให้คนนิยมและทำทานแก่ตน บางครั้ง ฤษีก็ใช้ศีลเป็นเครื่องเอาชนะหรือแสดงระดับของตนว่าเหนือกว่าฤษีตนอื่น, ตระกูลอื่น, ลัทธิอื่น เช่น การตั้งศีลให้มากไว้ เพื่อแสดงว่าตนถือศีลได้มากกว่า ก็มี บางครั้ง ฤษีก็ใช้ศีลเพื่อลงโทษหรือกดข่ม ทำให้ลูกศิษย์ยอมจำนน จะได้สั่งสอนได้ง่าย เช่น ให้ศีลมากเข้าไว้ เมื่อศิษย์ทำไม่ไ่ด้ก็จะลงโทษ ทำให้ง่ายต่อการควบคุมและสั่งสอน บางครั้ง ฤษีก็ใช้ศีลเพื่อปกป้องปัญหาบางประการที่อาจจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า เรียกว่าห้ามไว้ก่อน กันไว้ก่อน ตัดไฟแต่ต้นลม นั่นเอง (แต่ในพระพุทธศาสนา จะปล่อยตามกรรม ตามธรรมชาติ ไม่ได้คิดว่าต้องมานั่งห้ามกรรมใคร) บางครั้ง ฤษีก็ใช้ศีลเพื่อฝึกจิต ฝึกตนก็มี เช่น ศีลอด เพื่อให้ตนเองได้ฝึกตนเองอย่างยิ่งยวด (ในทางพระพุทธศาสนาจะใช้สัจจะ เช่น พระพุทธองค์ตั้งสัจจะวาจาเองว่าจะไม่ลุกไปไหนถ้าไม่ได้ตรัสรู้) ดังนั้น "ศีล" ในพระพุทธศาสนาจึงมิใช่คำสั่ง ไม่ใช่สิ่งที่ทำโดยมีเจตนาจะให้ใครทำหรือไม่ทำอะไร เป็นเพียงการ "บอกถึงความเป็นปกติ" ให้ผู้รับศีลได้ไว้ใช้ระลึุก เท่านั้น การบอกเช่นนี้ของพระพุทธเจ้า จึงไม่ได้เกิดกรรมขึ้นร่วมกับการกระทำหรือไม่กระทำ, การถือศีล, การปฏิบัติตนของผู้ใด เช่นนี้ พระพุทธเจ้า จึงไม่ต้องรับผลกรรมร่วมกับผู้รับศีลนั้นๆ บุญกรรม, ชาติภพ ย่อมไม่เกิด ดังนี้แลฯ
ศีล
ศีล หมายถึง "ปกติ" ปกติอะไร? ก็คือ ปกติวิสัยของพฤติกรรมการละเว้นจากกการกระทำกรรม "ของบุคคลประเภทใดประเภทหนึ่ง" เช่น ศีลของพระอรหันต์ ถ้าจะพูดให้ยาวขึ้นก็คือ "ปกติแล้ว พระอรหันต์เขาจะไม่ทำกรรมอะไรกันแล้วบ้าง" นั่นเอง เช่น ปกติของพระอรหันต์ไม่เสพกาม เป็นต้น อนึ่ง "ศีล" สามารถกล่าวให้กว้างขึ้นได้ เป็น "ศีลของพระอรหันต์" ก็ีมี ได้แก่ ศีล ๒๒๗ ข้อ, "ศีลของพระโสดาบัน" ก็มี ได้แก่ ศีล ๕ , "ศีลของฤษี" ก็มี แล้วแต่ว่าฤษี ตนนั้น, ลัทธินั้น, ตระกูลนั้นจะกำหนดกันอย่างไร (ศีลของฤษีจึงมากบ้าง น้อยบ้่าง แตกต่างกันไป) ดังนั้น ศีลจึงไม่ใช่ข้อห้าม เพราะในความเป็นจริงนั้น การห้ามไม่อาจทำได้จริง แต่เรามักได้ยินว่า "ห้าม" ในศีลข้อต่างๆ นั้น ก็เป็นไปด้วยความเข้าใจระดับตื้นๆ ง่ายๆ เท่านั้นเอง ศีล แท้แล้วจึงเป็นได้เพียง "ข้อระลึก" เรียกว่า "ศีลานุสติ" คือ ทำให้ผู้มีศีลระลึกถึงแล้วมีสติขึ้นมาได้ นอกจากนี้ ศีลก็ไม่ใช่บรรทัดฐานของความถูกต้องหรือความผิดแต่อย่างใด แต่เรามักได้ยินคำว่า "ผิดศีล" นั้น เพราะการพูดแบบรวบลัดสั้น แท้จริงแล้วก็คือ "ผิดไป แตกต่างไปจากศีล" แต่ไม่ไ่ด้หมายความว่าเป็นความผิดบาปร้ายแรง ผู้ผิดศีลคือคนเลวร้าย หรือชั่วร้ายก็หาไม่ ยังคงเป็นเพียงปุึถุชนคนธรรมดา ที่มีถูก, มีผิด กันได้ เช่น พระภิกษุถือศีล ๒๒๗ อาจมีแตกต่างไปจากศีลบ้าง เพราะยังไม่ใช่พระอรหันต์ ก็ให้มีสติระลึกรู้ไว้จะได้ไม่หลงตัวเอง ในพระภิกษุบางรูป หลงตนเองว่าอรหันต์แล้วไปตัดหญ้าเพื่อสร้างวัดโดยยึดเอาหลักว่า "ตนเป็นพระอรหันต์แล้ว ย่อมไม่มีเจตนาในการกระทำนี้ จึงไม่ได้ผิดศีลอะไร ยังคงเป็นพระอรหันต์ดังเดิม" ทว่า นี่คือ ความเข้าใจผิดเป็นมิจฉาทิฐิอย่างหนึ่ง หากมี "สัมมาทิฐิ" มีจิตตรงทาง ตรงธรรมแล้ว ก็จะไม่เข้า้ข้างตัวเอง (เอนเอียงเข้าข้างตัวเอง ย่อมไม่ใช่ความเป็นกลาง มิใช่สัมมาฯ) จะมี "สติ" ตื่นขึ้น ก็คิดได้ว่า "เรานี้ยังไม่ใช่พระอรหันต์" เรานี้ยังผิดไปจากข้อละเว้นอันเป็นปกติของพระอรหันต์ (ศีล) เรานี้ไม่ควรหลงตนเอง เรานี้ยังเป็นเสขบุคคล ผู้ยังต้องฝึกตน, ปฏิบัติตนต่อไป เช่นนี้ แล้ว ก็ปลงอาบัติเสียก็เท่านั้นเอง ปลงให้ตก คือ ให้รู้ตัว ไม่หลงตน ก็เท่านั้นเอง ด้วยว่าศีลไม่ใช่้เครื่องมือใช้ลงโทษคนทำผิด ไม่ใช่กฏหมายบ้านเมือง จึงไม่ได้มีหน้าที่ลงทัณฑ์ หรือทำให้ผู้ใดต้องทรมานด้วยการลงโทษ การปลงอาบัตินั้นเป็นเพียงการทำให้ตนไม่หลงตัวเอง มีสติรู้เท่าทัน และทำให้พระภิกษุรูปอื่นๆ รู้ว่าภิกษุรูปนั้น ก็ยังผิดศีลอยู่ จะได้ไม่พัวพันมากเกินไป จะได้ไม่หลงว่าท่่านเป็นพระอรหันต์แล้ว (ทั้งๆ ที่ยังไม่ใช่) นั่นเอง
"ศีล" ในพระพุทธศาสนา จึงเป็นเพียงเครื่องเตือนสติ แต่หากศีลสามารถทำให้บุคคลได้สติได้ ก็นับว่าเป็นธรรมอันเลิศแล้ว เพราะเพียงบุคคลมีสติ บุคคลก็เข้าใกล้ปัญญาไปทุกขณะ ในขณะที่ "ศีลของฤษี" หรือพราหมณ์เหล่าอื่น, ลัทธิอื่น, ศาสนาอื่นทั้งหลาย มิได้มีศีลไว้เพียงเพื่อวัตถุประสงค์นี้เท่านั้น บางครั้ง ฤษีก็ใช้ศีลเพื่อเป็นเครื่องเรียกศรัทธา ทำให้คนเห็นว่าท่านมีศีลมาก น่านับถือ หรือใช้เรียกลาภสักการะเพื่อดำรงชีพ เช่น การปฏิบัติศีลเพื่อให้คนนิยมและทำทานแก่ตน บางครั้ง ฤษีก็ใช้ศีลเป็นเครื่องเอาชนะหรือแสดงระดับของตนว่าเหนือกว่าฤษีตนอื่น, ตระกูลอื่น, ลัทธิอื่น เช่น การตั้งศีลให้มากไว้ เพื่อแสดงว่าตนถือศีลได้มากกว่า ก็มี บางครั้ง ฤษีก็ใช้ศีลเพื่อลงโทษหรือกดข่ม ทำให้ลูกศิษย์ยอมจำนน จะได้สั่งสอนได้ง่าย เช่น ให้ศีลมากเข้าไว้ เมื่อศิษย์ทำไม่ไ่ด้ก็จะลงโทษ ทำให้ง่ายต่อการควบคุมและสั่งสอน บางครั้ง ฤษีก็ใช้ศีลเพื่อปกป้องปัญหาบางประการที่อาจจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า เรียกว่าห้ามไว้ก่อน กันไว้ก่อน ตัดไฟแต่ต้นลม นั่นเอง (แต่ในพระพุทธศาสนา จะปล่อยตามกรรม ตามธรรมชาติ ไม่ได้คิดว่าต้องมานั่งห้ามกรรมใคร) บางครั้ง ฤษีก็ใช้ศีลเพื่อฝึกจิต ฝึกตนก็มี เช่น ศีลอด เพื่อให้ตนเองได้ฝึกตนเองอย่างยิ่งยวด (ในทางพระพุทธศาสนาจะใช้สัจจะ เช่น พระพุทธองค์ตั้งสัจจะวาจาเองว่าจะไม่ลุกไปไหนถ้าไม่ได้ตรัสรู้) ดังนั้น "ศีล" ในพระพุทธศาสนาจึงมิใช่คำสั่ง ไม่ใช่สิ่งที่ทำโดยมีเจตนาจะให้ใครทำหรือไม่ทำอะไร เป็นเพียงการ "บอกถึงความเป็นปกติ" ให้ผู้รับศีลได้ไว้ใช้ระลึุก เท่านั้น การบอกเช่นนี้ของพระพุทธเจ้า จึงไม่ได้เกิดกรรมขึ้นร่วมกับการกระทำหรือไม่กระทำ, การถือศีล, การปฏิบัติตนของผู้ใด เช่นนี้ พระพุทธเจ้า จึงไม่ต้องรับผลกรรมร่วมกับผู้รับศีลนั้นๆ บุญกรรม, ชาติภพ ย่อมไม่เกิด ดังนี้แลฯ
"ศีล" ในพระพุทธศาสนา จึงเป็นเพียงเครื่องเตือนสติ แต่หากศีลสามารถทำให้บุคคลได้สติได้ ก็นับว่าเป็นธรรมอันเลิศแล้ว เพราะเพียงบุคคลมีสติ บุคคลก็เข้าใกล้ปัญญาไปทุกขณะ ในขณะที่ "ศีลของฤษี" หรือพราหมณ์เหล่าอื่น, ลัทธิอื่น, ศาสนาอื่นทั้งหลาย มิได้มีศีลไว้เพียงเพื่อวัตถุประสงค์นี้เท่านั้น บางครั้ง ฤษีก็ใช้ศีลเพื่อเป็นเครื่องเรียกศรัทธา ทำให้คนเห็นว่าท่านมีศีลมาก น่านับถือ หรือใช้เรียกลาภสักการะเพื่อดำรงชีพ เช่น การปฏิบัติศีลเพื่อให้คนนิยมและทำทานแก่ตน บางครั้ง ฤษีก็ใช้ศีลเป็นเครื่องเอาชนะหรือแสดงระดับของตนว่าเหนือกว่าฤษีตนอื่น, ตระกูลอื่น, ลัทธิอื่น เช่น การตั้งศีลให้มากไว้ เพื่อแสดงว่าตนถือศีลได้มากกว่า ก็มี บางครั้ง ฤษีก็ใช้ศีลเพื่อลงโทษหรือกดข่ม ทำให้ลูกศิษย์ยอมจำนน จะได้สั่งสอนได้ง่าย เช่น ให้ศีลมากเข้าไว้ เมื่อศิษย์ทำไม่ไ่ด้ก็จะลงโทษ ทำให้ง่ายต่อการควบคุมและสั่งสอน บางครั้ง ฤษีก็ใช้ศีลเพื่อปกป้องปัญหาบางประการที่อาจจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า เรียกว่าห้ามไว้ก่อน กันไว้ก่อน ตัดไฟแต่ต้นลม นั่นเอง (แต่ในพระพุทธศาสนา จะปล่อยตามกรรม ตามธรรมชาติ ไม่ได้คิดว่าต้องมานั่งห้ามกรรมใคร) บางครั้ง ฤษีก็ใช้ศีลเพื่อฝึกจิต ฝึกตนก็มี เช่น ศีลอด เพื่อให้ตนเองได้ฝึกตนเองอย่างยิ่งยวด (ในทางพระพุทธศาสนาจะใช้สัจจะ เช่น พระพุทธองค์ตั้งสัจจะวาจาเองว่าจะไม่ลุกไปไหนถ้าไม่ได้ตรัสรู้) ดังนั้น "ศีล" ในพระพุทธศาสนาจึงมิใช่คำสั่ง ไม่ใช่สิ่งที่ทำโดยมีเจตนาจะให้ใครทำหรือไม่ทำอะไร เป็นเพียงการ "บอกถึงความเป็นปกติ" ให้ผู้รับศีลได้ไว้ใช้ระลึุก เท่านั้น การบอกเช่นนี้ของพระพุทธเจ้า จึงไม่ได้เกิดกรรมขึ้นร่วมกับการกระทำหรือไม่กระทำ, การถือศีล, การปฏิบัติตนของผู้ใด เช่นนี้ พระพุทธเจ้า จึงไม่ต้องรับผลกรรมร่วมกับผู้รับศีลนั้นๆ บุญกรรม, ชาติภพ ย่อมไม่เกิด ดังนี้แลฯ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น