๑. รูป (อันปรุงประกอบจากธาตุทั้งสี่เข้ากระทบการรับรู้คือรูป, รส, กลิ่น, เสียง, สัมผัส)
๒. นาม (อันได้แก่ จิตและเจตสิก ซึ่งปรุงประกอบจากธาตุอื่นๆ ที่ไม่ใช่ธาตุทั้งสี่นั้น)
๓. นิพพาน (อัน มิได้อาศัยธรรมใดเกิด และมิได้อาศัยการดับลงของธรรมใด ก่อเกิด)
ผู้ฝึกจิตบางท่าน จะฝึกวิปัสสนากรรมฐานแล้วพิจารณา "รูป" ก่อนเ็ป็นลำดับแรก เมื่อสติแก่กล้า ความรับรู้ละเอียดมากขึ้น จึงแยก "รูป" ออกไปได้ ย่อมเข้าถึง "นาม" (จิตและเจตสิก) อันเป็นสิ่งที่ไม่อาจรับรู้ได้ด้วยอวัยวะรับรู้ทั่วไป ยกเว้นเพียง "จิต" เท่านั้น (อนึ่ง "นาม" นั้น ไม่ใช่สิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หรือนามธรรมซึ่งเป็นเพียงปรัชญา ก็หาไม่ นาม เป็นธรรมะ, ธรรมชาติหนึ่ง ที่มีอยู่จริง เพียงแต่รับรู้ไม่ได้ด้วยอวัยวะรับรู้อันหยาบเท่านั้น) และเมื่อแยกแยะ "นาม" ได้แจ้ง ทะลุทะลวงแล้ว จึงหลุดพ้นเลยไปจาก "นาม" และเข้าสู่สิ่งที่ไม่อาจรับรู้ได้ในความละเอียดเดิม (ระดับนาม) จึงอาจจะรับรู้ได้ถึง "นิพพาน" ในท้ายที่สุด เมื่อใดที่ท่านเห็น "นิพพานเป็นรูป" ใดก็ตาม เช่น เห็นด้วยตาทิพย์เป็นเมืองแก้ว เป็นต้น ให้พึงทราบไว้ว่านั่นคือ "รูป" เมื่อท่านทะลวงผ่าน "รูป" นี้ไป จึงเป็น "นาม" ซึ่งยังไม่ใช่นิพพานแท้ๆ จำต้องผ่านนามไปด้วยดังนี้ เช่นกัน เมื่อใดที่ท่านเห็นจิต พึงทราบว่านั่นคือ "รูป" เมื่อพ้นรูปไปแล้วจึงเป็นนาม เมื่อแยกแยะเจตสิก คือ ลักษณะอันเกิดแต่กิเลส ทำให้โลภ, โกรธ หรือหลง ฯลฯ นั่นคือ เจตสิก มิใช่ "จิต" หมดไป เห็นเพียง จิต อันมีลักษณะหนึ่งเดียว คือ "จิตประภัสสร" บริุสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเจือปน นั่นคือ จิต (มิใช่เจตสิก) และเมื่อพ้นแล้วจาก "ธรรมอันบริสุทธิื" ท่านไม่ยึดจิต ไม่ยึดความบริสุทธิ์นั้น ท่านอาจเข้าถึงซึ่ง "พระนิพพาน" แลฯ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น