สมาธิ

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555 0 ความคิดเห็น
สมาธิ คือ ภาวะจิตรวมเป็นหนึ่ง ผ่องใส ไม่ฟุ้งซ่านซัดส่ายไป, ไม่ห่อเหี่ยวหดหู่, ไม่ซึมเซาสลึมสลือ, ไม่เพลิดเพลินไปในอารมณ์หรือเสพอารมณ์, ไม่เป็นลบอยู่กับสิ่งใดๆ, ไม่เคลือบแคลงระแวงใจ แต่สามารถสงสัยใคร่รู้ได้ (บุคคลที่สงสัยใคร่รู้ แต่ไม่ได้เึคลือบแคลงระแวงใจ นับว่ามีสมาธิ ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้ของอำนาจแห่งวิจิกิจฉา) ทั้งนี้ "สมาธิ" เป็นคำกว้างๆ กลางๆ สามารถใช้ได้ทั่วไป เช่น ในฤษีก็มีสมาธิื, ในคนทั่วไปก็มีสมาธิได้ สมาธิจึงมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นๆ ตื้นๆ อันเป็นระดับเบื้องต้นเรียกว่า "ขณิกสมาธิ" ซึ่งเป็นระีดับที่ "มนุษย์โลกทั้งหลาย" ล้วนสามารถมีได้ แม้ไม่ได้ฝึกสมาธิ แม้ไม่ได้เป็นฤษี แม้ไม่ได้เรียนในสำนักฝึกสมาธิใดๆ เป็นสมาธิที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ขณะกำลังทำงานจดจ่อ ก็มีสมาธิเช่นนี้ได้ ในทางพระพุทธศาสนา นับว่าเป็นสมาธิที่มากพอแก่การบรรลุธรรมแล้ว แต่หากบุคคลมีความปรารถนาที่จะได้ฌาน, ญาณหยั่งรู้, อภิญญา, อิทธิฤทธิ์ ฯลฯ อันมากขึ้นไปกว่าแค่การบรรลุธรรมแล้ว บุคคลเหล่านั้น ไม่อาจอาศัย "ขณิกสมาธิ" นี้เป็นประโยชน์ได้ จำต้องฝึกสมาธิเพิ่มเติมให้มากขึ้นไปกว่านี้ ก็จะได้สมาธิที่มากขึ้นไปอีก เช่น อุปจารสมาธิ อันเป็นสมาธิระดับกลางที่พอเกื้อกูลยังประโยชน์ให้เกิดผลเป็นสิ่งที่มากไปกว่าการบรรลุธรรมทั่วไปได้ เช่น เป็นพื้นฐานไปสู่ฌานและญาณ เป็นต้น และท้ายที่สุด คือ สมาธิระดับ สูง ที่มีแล้ว เกิดผลแล้วในผู้ปฏิบัติ แล้วได้ฌานและญาณ เป็นต้น ซึ่งก็ึคือ "อัปปนาสมาธิ" นั่นเอง


นอกจากนี้ สมาธิยังมีได้ทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม แต่ทั้งสองฝ่ายนี้ ยังไม่ใช่สมาธิแบบที่เป็นกลางอันแท้จริง ที่เรียกว่า "สัมมาสมาธิ" อนึ่ง ในบุคคลที่กระทำกรรมให้เกิดสมาธิมากๆ จนได้ฌานขั้นต่างๆ ย่อมก่อเกิดผลกรรมดีสืบชาติต่อภพไปยัง "พรหมโลก" ยังมิใช่หนทางนิพพาน นับว่าเป็นการก่อกรรมดีมากเกินสภาวะเป็นกลางไป เมื่อใดที่บุุคคลเหล่านี้ "ปล่อยวาง" การกระทำ เพียงสมาธิพื้นฐานที่มีก็ส่งผลให้เื้อื้อต่อการบรรลุธรรมได้ ด้วยจิตน้อมตรงต่อธรรมอันเป็นกลาง เข้าสู่ทางสัมมาสมาธิ นั่นเอง ในทางตรงข้าม คนบางกลุ่มก็ไม่มีสมาธิเลย หรือค่อนข้างเป็นไปในเชิงลบ เช่นนี้ ก็ไม่เป็นกลางอีกเช่นกัน ยังไม่ใช่สัมมาสมาธิ จำต้องหลุดพ้นออกจากภาวะเป็นลบต่อสมาธิ จึงจะเข้าสู่ภาวะเป็นกลางต่อสมาธิ และก่อให้เกิดสมาธิที่เป็นกลาง คือ สัมมาสมาธิ ได้ อนึ่ง พึงเข้าใจว่า "สมาธิระดับสูง" เป็นสมาธิแบบฤษี หรือชาวพรหมโลก เป็นส่วนใหญ่ แต่นั่นไม่ใช่บรรทัดฐานที่จะนำมาวัดว่าปวงสัตว์ทั้งหลายนั้นจะเข้าถึงนิพพานได้ จะต้องมีสมาธิระดับสูงเช่น ฤษี หรือ ชาวพรหมโลก นั้น ด้วยสัตว์ทั้งหลายล้วนเข้าถึงซึ่งนิพพานได้ ไม่แตกต่างกัน หากมีระดับจิตวิญญาณตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไป ก็สามารถเข้าถึงธรรมได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเทพ, เทวดา, พรหม ก็ล้วนบรรลุธรรมได้ไม่ต่างกัน ปวงสัตว์แต่ละเหล่าจึงมี "วิถีเข้าสู่ธรรม" ที่ต่างกันออกไป ไม่มีใครถูกหรือผิด แต่อย่างใด ในกลุ่มฤษีอาจบรรลุธรรมได้ด้วยการปฏิบัติสมาธิมากเป็นพื้นฐานก่อน ทว่า ในกลุ่มเทพ อาจบรรลุธรรมได้โดยไม่ต้องฝึกสมาธิ แต่ทำหน้าที่ของตนจนเกิดสมาธิขึ้นเอง เช่นนี้ ก็มีได้ เป็นได้ เช่นกัน ทว่า ชนบางเหล่าอาจใช้ "สมาธิขั้นสูง" มาเป็นเครื่องมือสร้างอำนาจหรือความเหนือกว่าสัตว์เหล่าอื่น เพื่อแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าตนเหนือกว่า ย่อมอ้างเอาสมาธิที่เหนือกว่านั้น ในการกดข่มผู้อื่นให้ยอมจำนน หรืออาจหลอกลวงว่า "จะไม่ได้นิพพาน หากไม่เรียนสมาธิกับตน ก็มี"



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB