ปัญญา มีลักษณะ สงบสุขมากกว่าที่จะทุกข์, ยอมรับมากกว่าที่จะปฏิเสธ, กลมกลืนกับธรรมชาติมากกว่าจะที่ขัดแย้ง, เรียบง่ายมากกว่าที่จะยุ่งเหยิง, อบอุ่นมากกว่าที่จะเหน็บหนาว, ชุ่มเย็นมากกว่าที่จะเร่าร้อน, ใสซื่อมากกว่าที่จะขุ่นข้อง, นิ่งมากกว่าที่จะเคลื่อนไหว, หยุดมากกว่าที่จะทะยานไป, สว่างไสวมากกว่าที่จะมืดมัว, ไม่ตายตัวมากกว่าที่จะตายตัวยึดติด, เป็นไปเองตามธรรมชาิติมากกว่าที่จะต้องคิด, ปรับที่จิตมากกว่าที่จะปรับเปลี่ยนสิ่งอื่นใด ฯลฯ นี่เป็นลักษณะที่พอจะสังเกตุเห็นได้ในแต่ละด้าน แต่ละมุมของ "ปัญญา" เท่านั้นเอง บางครั้ง จึงเปรียบเปรยปัญญาเหมือนกับแสงสว่างบ้าง, เหมือนกับเพชรบ้าง ฉะนั้น
ปัญญา
ปัญญา หมายถึง ผลแห่งการบรรลุธรรม และทำให้เกิดความสอดคล้องกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับสัจธรรม "ของจิต" เป็นผลลัพท์ประการหนึ่ง ทั้งนี้ ผลแห่งการบรรลุธรรม มีได้มากมาย ไม่เพียงแต่ปัญญาอย่างเดียว เช่น บางท่านบรรลุธรรมพร้อมอภิญญาตัวอื่นๆ ก็มีได้ เ็ป็นได้ หรือบรรลุอรหันตผลพร้อมปฏิสัมภิทาญาณ ซึ่งเป็น "ญาณ" ไม่ใช่ "ปัญญา" ก็มีได้ เป็นได้ อนึ่ง ไม่ว่าคุณจะมีความรู้หรือไม่มีความรู้ นั่นไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าคุณมีปัญญาหรือไม่ ไม่ว่าคุณจะมีญาณหยั่งรู้มากหรือน้อยเท่าใด ก็ไม่ไ้ด้หมายถึงความมีปัญญา และปัญญาก็ไม่ใช่ความเฉลียวฉลาด "มันคนละตัวกัน จึงต้องมีศัพท์เรียกต่างกัน" นั่นคือ ความรู้ ก็อย่างหนึ่ง, ญาณหยั่งรู้ ก็อย่างหนึ่ง, ความเฉลียวฉลาด ก็อย่างหนึ่ง, ปัญญา ก็อย่างหนึ่ง ฯลฯ หากท่านพิจารณาธรรมในหมวด "สติปัฏฐานสี่" ใช้สติอันละเอียดอ่อนพิจารณาธรรมแล้วจะได้เป็นสี่หมวดคือ กาย, เวทนา, จิต และธรรม ทั้งสี่หมวดนี้ต่างกันอยู่ แต่อาจจะสอดคล้อง หรือขัดแย้งกันก็ได้ เช่น กายต้องการอย่างหนึ่ง, จิตอาจต้องการอีกอย่างหนึ่ง เกิดความสับสนและความขัดแย้งกันในตัวเองก็มี หรือแม้แต่ "จิตกับธรรม" อาจจะสอดคล้องหรือขัดแย้งกันบ้างก็ได้ บ้างครั้ง จิตใช้่ความรู้เพื่อทำให้สอดคล้องกับธรรมแต่นี่ไม่เรียกว่า "ปัญญา" เช่น ผู้ไปอ่านธรรมะมาแล้วก็ปฏิบัติตาม นั่นไม่ใช่ปัญญาแต่เป็นไปตามอำนาจแห่งความรู้ เท่านั้น ผู้มีัปัญญานั้น บางครั้งอาจดูคล้ายคนเอ๋อ ปัญญาอ่อน คนโง่ซื่อ หรือแม้แต่คนไม่เอาไหน ไม่เอาถ่านเลยก็ได้ แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าคนที่มีลักษณะเหล่านี้ จะเป็นผู้มีปัญญาเสมอไป
ปัญญา มีลักษณะ สงบสุขมากกว่าที่จะทุกข์, ยอมรับมากกว่าที่จะปฏิเสธ, กลมกลืนกับธรรมชาติมากกว่าจะที่ขัดแย้ง, เรียบง่ายมากกว่าที่จะยุ่งเหยิง, อบอุ่นมากกว่าที่จะเหน็บหนาว, ชุ่มเย็นมากกว่าที่จะเร่าร้อน, ใสซื่อมากกว่าที่จะขุ่นข้อง, นิ่งมากกว่าที่จะเคลื่อนไหว, หยุดมากกว่าที่จะทะยานไป, สว่างไสวมากกว่าที่จะมืดมัว, ไม่ตายตัวมากกว่าที่จะตายตัวยึดติด, เป็นไปเองตามธรรมชาิติมากกว่าที่จะต้องคิด, ปรับที่จิตมากกว่าที่จะปรับเปลี่ยนสิ่งอื่นใด ฯลฯ นี่เป็นลักษณะที่พอจะสังเกตุเห็นได้ในแต่ละด้าน แต่ละมุมของ "ปัญญา" เท่านั้นเอง บางครั้ง จึงเปรียบเปรยปัญญาเหมือนกับแสงสว่างบ้าง, เหมือนกับเพชรบ้าง ฉะนั้น
ปัญญา มีลักษณะ สงบสุขมากกว่าที่จะทุกข์, ยอมรับมากกว่าที่จะปฏิเสธ, กลมกลืนกับธรรมชาติมากกว่าจะที่ขัดแย้ง, เรียบง่ายมากกว่าที่จะยุ่งเหยิง, อบอุ่นมากกว่าที่จะเหน็บหนาว, ชุ่มเย็นมากกว่าที่จะเร่าร้อน, ใสซื่อมากกว่าที่จะขุ่นข้อง, นิ่งมากกว่าที่จะเคลื่อนไหว, หยุดมากกว่าที่จะทะยานไป, สว่างไสวมากกว่าที่จะมืดมัว, ไม่ตายตัวมากกว่าที่จะตายตัวยึดติด, เป็นไปเองตามธรรมชาิติมากกว่าที่จะต้องคิด, ปรับที่จิตมากกว่าที่จะปรับเปลี่ยนสิ่งอื่นใด ฯลฯ นี่เป็นลักษณะที่พอจะสังเกตุเห็นได้ในแต่ละด้าน แต่ละมุมของ "ปัญญา" เท่านั้นเอง บางครั้ง จึงเปรียบเปรยปัญญาเหมือนกับแสงสว่างบ้าง, เหมือนกับเพชรบ้าง ฉะนั้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น