จบกิจ

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
จบกิจ เป็นคำที่พบได้ในพระไตรปิฎกแต่ไม่ได้อยู่ในส่วนอภิธรรม หมายถึง ลักษณะอย่างหนึ่งของพระอรหันต์ที่ไม่มีกิจอื่นใดต้องทำแล้ว กิจต่างๆ ล้วนจบสิ้นแล้ว ไม่มีกิจทั้งด้านบุญและกรรมอื่นใดจะต้องทำอีก ไม่มีทั้งกิจสอนธรรม, โปรดสัตว์, เผยแพร่ธรรมะ, ค้ำจุนพระพุทธศาสนา, สร้างวัด, สังคายนาพระไตรปิฎก, สร้างโรงพยาบาล, อนุเคราะห์สัตว์อื่นด้วยการก่อกรรมใดๆ ฯลฯ ก็หาไม่ กิจอันใดที่จะก่อให้เกิดกรรมสืบชาติภพต่อไปนั้น ไม่มี สิ้นแล้ว จบลงแล้ว หากผู้ใดยังมีกิจเหล่านี้อยู่ ย่อมไม่เข้าข่ายลักษณะของพระอรหันต์ แต่อาจเข้าข่ายลักษณะของพระโพธิสัตว์ ดังนั้น ชาวพุทธจึงควรแยกแยะให้ดี อย่าสับสน ไปหลงพระที่สร้างสิ่งต่างๆ, ทำกิจต่างๆ มากมายว่าเป็นพระอรหันต์ ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ เพราะยังทำกิจอยู่มากมาย นั่นเอง ท่านเหล่านั้นอาจเป็นพระโพธิสัตว์ แต่ไม่เข้าลักษณะของ "พระอรหันตสาวก" เลย


อนึ่ง เมื่อพระอรหันต์ได้บรรลอรหันตผลแล้ว ย่อมรู้แจ้งเช่นเดียวกันว่า ตนไม่มีกิจใดจะทำอีก หมดสิ้นแล้ว จบกิจแล้ว เฉกเช่น พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งตรัสรู้ก็ไม่คิดที่จะกระทำกิจใดอีก แต่ด้วย "วิบากกรรมของพระพุทธเจ้า" ยังมี ยังไม่หมดสิ้น พระำพรหมจึงลงมาทูลเชิญให้ทรงโปรดสัตว์, สอนธรรมแก่ปวงสัตว์, ทำหน้าที่เป็นพระพุทธเจ้า นี่คือ "วิบากกรรม" เท่านั้นเอง ที่มีเฉพาะในพระพุทธเจ้า เท่านั้นเอง ไม่มีในพระอรหันต์รูปอื่นๆ ในพระอรหันต์บางรูปที่มีบารมีมากพอโปรดสัตว์เท่านั้น ที่ได้รับมอบหมายให้ทำกิจบางประการ แต่มิใช่กิจโปรดสัตว์ทั่วไปอย่างพระพุทธเจ้า เช่น พระอุปคุตได้รับการทูลเชิญให้โปรดพระเจ้าอโศกมหาราช, พระนาคเสนได้รับการทูลเชิญให้โปรดพระเจ้ามิลินท์ ซึ่งกษัตริย์เหล่านี้ เกือบจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แต่เนื่องจากยังไม่สมบูรณ์พร้อมตามวาระ ช่วง ๕,๐๐๐ ปี ของพุทธกาลนี้ จะมี พระธรรมมิกราช ๗ องค์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงโปรดไปหมดแล้ว ไม่มีพระเจ้าจักรพรรดิ (แต่ในยุคของพระศรีอาริยเมตตรัย จะมีพระเจ้่าจักรพรรดิ ๑ องค์) ดังนั้น จึงมีผู้ที่เกือบได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕ องค์ในยุคของพระสมณโคดมนี้ ลงมาบำเพ็ญบารมีได้เช่นกัน ซึ่งจะเป็นผู้ที่โปรดได้ยาก และจำต้องได้รับการโปรดโดยพระศรีอาริยเมตตรัยโพธิสัตว์ จวบจนกว่าจะถึุงกาลสมัยของพระศรีอาริยเมตตรัย ท่านผู้ปรารถนาจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิจึงจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิโดยสมบูรณ์ได้ และพระศรีอาริยเมตตรัยจะทรงโปรด ท่านอีกที ดังนั้น ในช่วงยุคพุทธกาลของพระสมณโคดมนี้ จึงยังไม่มีพระเจ้าจักรพรรดิ แต่จะมีผู้ที่ลงมาบำเพ็ญบารมีเป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้บ้าง ทำให้มีลักษณะคล้ายพระเจ้าจักรพรรดิแต่ยังไม่สมบูรณ์นั่นเอง



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB