สัมมากัมมันตะ

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
สัมมากัมมันตะ คือ แปลว่า "กระทำชอบ" หมายถึง กายกรรมอันพอดีตรงต่อนิพพาน ไม่ได้แปลว่าเราจะต้องทำอะไรที่เป็นความดีหรือผิดไม่ไ่ด้เลย หรือทำแต่บุญ, นิพพานตลอด ฯลฯ อย่าเพิ่งไำปยึดมั่นสุดโต่งขนาดนั้น สามารถทำผิด, ทำไม่ดี ได้เหมือนกัน แต่ถ้าเรามี "สติปัญญา" ประกอบด้วยแล้ว การกระทำนั้นจะ "พอดี" ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป เป็น "ทางสายกลาง" ตรงครรลองสู่พระนิพพานได้ เหมือนเราพายเรือในแม่น้ำ ก็อาจมีเป๋ไปขวาบ้าง ซ้ายบ้าง ถูกบ้าง ผิดบ้าง ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง แต่ไม่ถึงกับสุดโต่งไปติดฝั่งซ้ายหรือขวาจนเรือไม่ไหลต่อไป ก็ไม่ถึงขนาดนั้น อาจจะมีการกระทำไม่ดี หรือทำผิดบ้าง ก็เป็นเพียงไม่มาก เพราะมีสติ มีปัญญาประกอบอยู่ จะเกิดกรรมรับผล สำหรับปัญญาระดับโสดาบัน ไม่เกิน ๗ ชาติ, อนาคามี ไม่เกิน ๑ ชาติ ส่วนพระอรหันต์ ก็หมดได้ในชาตินั้นเลย ดังนั้น คำว่า "สัมมากัมมันตะ" ไม่จำเป็นต้องยึุด มั่นถือมั่นสุดโต่งว่าจะต้องเป็นการกระทำที่ดีเกินจริง, การกระทำที่ถูกต้องทั้งหมด, การกระทำที่ไม่มีกรรมเลย, หรือการกระทำที่มีแต่ธรรม ตรงนิพพานตลอดเวลา อย่างนั้น ก็หาไม่ แบบนั้นยังสุดโต่ง ไม่ "พอดี" ไม่ใช่ทางสายกลาง ยังตึงเกินไป หากไม่ยึดมั่นสุดโต่งทางหนึ่งทางใดเิกินไป แม้แต่พระอรหันต์ก็มีทำผิดกันได้ เช่น พระสุภััททะ หลังบรรลุอรหันต์ก็ปรามาสพระธรรมวินัย แต่การทำผิดของพระอรหันต์นั้นไม่ได้มากเกินความพอดีของความเป็นพระอรหันต์ สามารถรับวิบากกรรมแล้วชดใช้ได้หมดในชาตินั้นๆ ได้


สัมมากัมมันตะ เป็นหนึ่งในมรรคแปดขั้นต้น ซึ่งควรอธิบายควบคู่ไปเป็นชุดกับธรรมอีก ๓ ประการ ได้แก่ สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ ทั้ง ๓ ประการนี้ ครอบคลุมรวมทั้ง มโนกรรม, วจีกรรม และ กายกรรม หรือกรรมทั้งสามล้วนพอดีตรงต่อนิพพาน ไม่ตึง, ไม่เคร่งครัด และไม่หย่อนยาน จนเกินไป



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB