สัมมาวาจา

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
สัมมาวาจา แปลว่า "วาจาชอบ" หมายถึง วจีกรรมอันพอดีตรงต่อนิพพาน ไม่ได้แปลว่าจะต้องพูดแต่สิ่งที่เป็นความจริงหรือผิดไม่ไ่ด้เลย หรือพูดแต่ธรรมะ, นิพพานตลอด ฯลฯ อย่าเพิ่งไำปยึดมั่นสุดโต่งขนาดนั้น สามารถพูดผิด, พูดไม่ดี ได้เหมือนกัน แต่ถ้าเรามี "สติปัญญา" ประกอบด้วยแล้ว การพูดนั้นจะ "พอดี" ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป เป็น "ทางสายกลาง" ตรงครรลองสู่พระนิพพานได้ เหมือนเราพายเรือในแม่น้ำ ก็อาจมีเป๋ไปขวาบ้าง ซ้ายบ้าง ถูกบ้าง ผิดบ้าง ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง แต่ไม่ถึงกับสุดโต่งไปติดฝั่งซ้ายหรือขวาจนเรือไม่ไหลต่อไป ก็ไม่ถึงขนาดนั้น หากการพูดไม่ดี หรือพูดผิดบ้าง ก็เป็นเพียงไม่มาก เพราะมีสติ มีปัญญาประกอบอยู่ จะเกิดกรรมรับผล สำหรับปัญญาระดับโสดาบัน ก็ไม่เกิน ๗ ชาติ, อนาคามี ไม่เกิน ๑ ชาติ ส่วนพระอรหันต์ ก็หมดได้ในชาตินั้นๆ เลย ดังนั้น คำว่า "สัมมาวาจา" ไม่จำเป็นต้องยึุดมั่นถือมั่นสุดโต่งว่าจะต้องเป็นคำพูดที่ดีเกินจริง, คำพูดที่ถูกต้องทุกคำ, คำพูดที่ไม่มีกรรมเลย, หรือคำพูดที่มีแต่ธรรม ตรงนิพพานตลอดเวลา อย่างนั้น ก็หาไม่ แบบนั้นยังสุดโต่ง ไม่ "พอดี" ไม่ใช่ทางสายกลาง ยังตึงเกินไป


สัมมาวาจา เป็นหนึ่งในมรรคแปด ขั้นต้น หากจะแบ่งมรรคแปดเป็นขั้นต้นและขั้นสูงแล้ว จะได้มรรคแปดขั้นต้นมี ๕ ประการ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ทั้ง ๕ ประการนี้ มีได้ครบในพระโสดาบัน แต่หากจะให้ได้มรรคแปดในระดับที่สูงขึ้นไป จำต้องมีธรรมในขั้นสูงขึ้นกว่านี้ด้วย มรรคแปด ๕ ประการแรกนี้จึงเป็นเหมือน "ธรรมพื้นฐาน" หรือ "มรรคพื้นฐาน" เท่านั้น



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB