เจตสิก

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556 1 ความคิดเห็น
เจตสิก คือ ธรรมที่ประกอบกับจิต ไม่ใ่ช่ด้วยเป็นเหตุหรือผลของจิต แต่ปรุงประกอบร่วมกันเฉยๆ อุปมาเหมือนเพื่อนคบหากันอยู่ ไม่มีใครเป็นพ่อ-แม่ หรือลูกของใคร ไม่ใช่่ว่าอะไรเป็นเหตุให้อะไรเกิด เพียงแ่ต่ปรุงประกอบร่วมกันเฉยๆ เท่านั้น จะขาดจิตไม่ได้ หมายความว่า ถ้าไม่มีจิต ก็จะไม่มีเจตกสิกด้วย แต่เจตสิกก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าเกิดจากจิต หรือจิตสร้างมันขึ้นมาเป็นผล ก็หาได้ไม่ เป็นเพียงสิ่งที่ประกอบร่วมกันเฉยๆ เท่านั้น อุปมาเหมือน ฝนตกกับกบร้อง ย่อมไม่ใช่เหตุผลของกันและกัน เพียงแต่ประกอบร่วมกันมาเท่านั้น โดยจิตจะมีลักษณะหนึ่งเดียว คือ "จิตประภัสสร" ใสซื่อบริสุทธิ์ เหมือนเพื่อนที่ใสซื่อ ส่วนเจตสิกจะเหมือนเพื่อนที่หลายแบบ ทั้งแบบที่มีกิเลสและไม่มี เวลาไปไหนมาไหนต้องไปด้วยกัน จึงเรียกว่า "กลุ่มหรือแก๊งค์" ได้ ถ้า่ขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไป ก็ไม่ใช่กลุ่มหรือแก๊งค์ จึงกล่าวได้ว่าเจตสิกเกิดพร้อมกับจิตและดับไปพร้อมกับจิต, มีอารมณ์เดียวกับจิต, อาศัยวัตถุเดียวกับจิต แต่ไม่ได้อาศัยกันและกันในการก่อเกิดหรือดับ (ต่างก็ไม่ใช่เหตุหรือผลของกันและกัน) เหมือนเหรียญบาท ย่อมมีทั้งด้านหัวและก้อยประกอบกันทั้งสองด้านครบ จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ เกิดก็ต้องเกิดพร้อมกัน คือ ถ้ามีด้านหัว ก็ต้องมีด้านก้อย ดับก็ต้องดับพร้อมกัน คือ ถ้าไม่มีหัวก็ไม่มีก้อย หรือหากจะเปรียบเป็นเหมือนน้ำผลไม้ก็ได้ ส่วนที่เป็นน้ำบริสุทธิ์อุปมาดั่งจิต ส่วนที่เป็นสีสันรสชาติ ก็อุปมาเหมือนเจตสิก ไม่อาจแยกกัน หากแยกจากกันแล้วก็ย่อมไม่ใช่ "น้ำผลไม้" อีก โดยเจตสิกจะเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ ในขณะที่ "จิต" นั้นจะยังคงเดิม เป็นศูนย์กลาง เ็ป็นดั่งประธาน เช่นเดิม เหมือนน้ำผลไม้ทุกชนิด ก็ต้องใช้น้ำบริสุทธิ์เป็นส่วนผสมหนึ่งทั้งสิ้น แต่หากต้องการให้ได้น้ำผลไม้ชนิดไหนก็เปลี่ยนส่วนผสม, เครื่องปรุง ฯลฯ ไปเท่านั้นเอง


เจตสิกทำงานร่วมกับจิต เสมือนว่าเจตสิกเป็นขุนนางหลายๆ คน ที่รายล้อมรอบจิตซึ่งเป็นพระราชา พอเจตสิกตัวที่หนึ่งทำงานแล้วดับไป เจตสิกตัวที่สอง, สาม, สี่ ฯลฯ ก็เข้ามาทำงานร่วมกับจิตอีกเป็นลำดับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เจตสิกจึงไม่เที่ยง, เกิด-ดับไปเรื่อยๆ ไม่ใช่องค์ประทานในกลุ่มแก๊งค์นี้ ในขณะที่จิตยังคงใสซื่ออยู่เหมือนเดิม เจตสิกเหมือนขุนนางที่ไม่มีอำนาจในตัวเอง ต้องอาศัยอำนาจของพระราชาคือจิต ในการทำกิจต่างๆ แต่พระราชาืคือจิตนั้น ใสซื่อมาก จึงไม่รู้ว่าอะไรควรไม่ควรทำ เจตสิกที่เหมือนกับขุนนางจึงเรียงหน้ากันมาทำงานร่วมกับจิตเป็นลำดับไป โดยเจตสิกมีทั้งสิ้น ๕๒ ชนิด เรียกว่า "เจตสิก ๕๒" แบ่งออกเป็น 

๑. สัพพจิตตสาธารณะ ๗ คือ เจตสิกมูลฐานที่เกิดขึ้นกับ "จิตสังขาร" ทุกแบบ เหมือนขั้นตอนเบื้องต้นที่จิตสังขารทุกแบบต้องมีก่อนเป็นเบื้องต้น ซึ่งมีทั้งหมด ๗ ชนิด ได้แก่ เอกกัคคตา, ชีวิตินทรีย์, มนสิการ, เวทนา, สัญญา, เจตนา, ผัสสะ

 ๒. ปกิณณกเจตสิก ๖ คือ เจตสิกที่ประกอบขึ้นกับ "จิตสังขาร" บางชนิด, บางกลุ่ม ซึ่งมีความเป็นกลาง ไม่ใช่ทั้งกุศลหรืออกุศล แต่ไม่ได้เกิดขึ้นกับจิตสังขารทุกดวง ได้แก่ วิตก, วิจารณ์, อธิโมกข์, ฉันทะ, วิริยะ, ปีติ

๓. อกุศลเจตสิก ๑๔ คือ เจตสิกที่ประกอบเข้ากับ "จิตสังขาร" บางกลุ่มเฉพาะในกลุ่ม "อกุศล" เท่านั้น ได้แก่ โลภะ ๓ (โลภะ, ทิฏฐิ, มานะ), โทสะ ๔ (โทสะ, อิสสา, มัจฉริยะ, กุกกุจจะ), โมหะ ๔ (โมหะ, อหิริ, อโนตตัปปะ, อุทธัจจะ), ติกะ ๓ (ถีนะ, มิทธะ, วิจิกิจฉา) 

๔. โสภณเจตสิก ๒๕ คือ เจตสิกที่ประกอบเข้ากับ "จิตสังขาร" บางกลุ่มเฉพาะในกลุ่ม "กุศล" เท่านั้น ได้แก่ สาธารณะ ๑๙ (สติ, สัทธา, หิริ, โอตตัปปะ, อโลภะ, อโทสะ, ตัตรมัชฌัตตา, กายลหุตา, จิตตลหุตา, กายมุทุตา, จิตตมุทุตา, กายกัมมัญญัตตา, จิตตกัมมัญญัตตา, กายอุชุตา, จิตตอุชุตา, กายปัสสัทธิ, จิตตปัสสัทธิ, กายปาคุญญตา, จิตตปาคุญญตา) วิรัตติ๓ (สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ) อัปปมัญญา ๒ (กรุณา, มุทิตา) ปัญญา ๑ (ปัญญา)


อนึ่ง "จิตสังขาร" นี้ ไม่ได้มีอยู่จริง เป็นเพียง "สมมุติ" ที่พระอรรถกาฐาจารย์ ท่านได้เขียนไว้อ้างอิงถึงเท่านั้น เพื่ออธิบายเรื่องของเจตสิกเท่านั้นเอง เช่น จิตโลภ ไม่มีจริง แต่เป็นสมมุติที่้ใช้อธิบายกลุ่มหรือแก๊งค์ของ "จิตประภัสสร" ที่ทำงานร่วมกับเจตสิกหลายๆ ชนิด จนทำให้เกิด "ความโลภ" นั่นเอง ทั้งนี้ เจตสิกจะเกิดขึ้นแล้วดับไปเป็นลำดับ, เป็นกลุ่ม จนกว่าจะทำกิจครบ จึงมีำคำเรียกกระบวนการเหล่านี้ว่า "วิถีจิต" ซึ่งจะเกิดจาก "จิตประภัสสร" ที่ทำหน้าที่เหมือนพระราชา มี "เจตสิก" ที่ทำหน้าที่เหมือนขุนนาง เข้ามารายงานหรือทำกิจต่างๆ ร่วมกับจิตนั้นเป็นลำดับ จากเจตสิกหนึ่งไปสู่เจตสิกหนึ่ง เกิด-ดับไปเรื่อยๆ ส่วนจิตประภัสสรยังคงบริสุทธิ์เช่นเดิมไม่ไ่ด้เกิด-ดับตามเจตสิกไปด้วย ด้วยส่วน "จิต" นั้น คือ "ธาตุ" ชนิดหนึ่งเรียกว่า "มโนธาตุ" เป็นธาตุแท้แห่งความบริสุทธิ์, ประภัสสร ตราบจนกว่าจะนิพพานไป



1 ความคิดเห็น:

  • Unknown กล่าวว่า...

    เจตสิกเหมือนเสียงดนตรี โด, เร, มี ฯลฯ เกิดดับ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ส่วนจิตก็เหมือนเครื่องดนตรีที่ยังอยู่เหมือนเดิม แม้ว่าเสียงโน้ตจะเกิดดับไปกี่ตัวก็ตาม

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB