อรูปฌาน

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
อรูปฌาน คือ ฌานที่เกิดจากการอาศัย "อรูป" เป็นอารมณ์เพื่อรวมจิตเข้าสู่สมาธิ เมื่อพ้นนิวรณ์ทั้งห้าแล้วจะนับเป็น "ฌานหนึ่ง" เหมือนรูปฌาน เมื่อเข้าสู่สมาธิที่ลึุกขึ้นจนถึงฌานสี่ ยังใช้หลักการพิจารณาได้เช่นรูปฌานสี่เหมือนกัน แต่เมื่อเข้าสู่ฌานที่ลึกขึ้นไปกว่าฌานสี่แล้ว ก็จะมีหลักในการพิจารณาต่างกัน กล่าวคือ รูปฌานสี่ เข้าสู่ฌานในระัดับลึกตั้งแต่ ๑ ถึง ๔ ขั้นแล้วจบลง ไปมากกว่านั้นไม่ไ่ด้ หา่กยัง "ติดรูป" จะยังไม่พ้นฌานสี่ จะขึ้นระดับฌานขั้นที่ห้าไม่ไ่ด้ เมื่อรูปดับลงแล้วจึงเข้าสู่ฌานขั้นที่ห้าได้ ซึ่งจะกลายเป็นอรูปฌานแทน (เนื่องจากไม่มีรูปเป็นหมายรวมสมาธิแล้ว) ดังนั้น อรูปฌานจึงสามารถเข้าสู่ฌานที่ลึกขึ้นไปกว่า ๑ ถึง ๔ ระดับได้ ซึ่งตามตำรานับให้ว่าลึกขึ้นไปได้อีก ๔ ขั้น (ดังนั้น หากเจริญฌานจากรูปฌานก็จะได้ฌานหนึ่งถึงสี่แล้วต่อด้วยอรูปฌานอีกก็จะได้ขั้น ๕ - ๘ นั่นเอง) โดยหลักการพื้นฐานของอรูปฌาน ก็ไม่ต่างจากรูปฌาน กล่าวคือ "ใช้ธรรมชาติบางอย่างเป็นเครื่องรวมจิต รวมสมาธิ ทำให้ความสนใจรวมอยู่ในสิ่งนั้นๆ เพื่อดึงความสนใจออกจากนิวรณ์ทั้งห้าชั่วคราว แต่จะแตกต่างกันที่ "ธรรมชาติที่นำมาใช้ในการรวมสมาธิ" ที่รูปฌานจะใช้สิ่งที่มีรูป แต่อรูปฌานจะใช้สิ่งที่ไม่มีรูป เช่น ความว่าง เป็นต้น


อรูปฌานจึงอาจเหมือนยากกว่ารูปฌาน สำหรับผู้ฝึกใหม่ เนื่องจากการรวมสมาธิไปสู่สิ่งที่มีรูปย่อมง่ายกว่าสิ่งที่ไม่มีรูปให้เห็นเลย แต่เมื่อดำเนินไปเรื่อยๆ "รูปฌาน" จะทำให้ได้สมาธิที่ลึกที่สุดเพียง "ฌานสี่" จะลึกไปกว่านั้นไม่ได้ ด้วยยังติดใน "รูป" อยู่ เมื่อปล่อยคลายความยึดมั่นในรูปหรือรูปดับแล้วยังมีสมาธิได้ดังเดิม จึงจะเข้าสู่ฌานที่ลึุกขึ้นได้ ทว่า ไม่ว่าจะเป็นฌานหนึ่งไปจนถึงฌานแปด ก็นับว่าเป็นสมาธิขั้นสูงแล้ว (อัปปนาสมาธิ) สูงกว่าขนิกสมาธิ ซึ่งในการบรรลุธรรมนั้น ใช้สมาธิเพียงแค่ขนิกสมาธิ ก็สามารถบรรลุธรรมได้ ไม่จำเป็นต้องใช้สมาธิขั้นสูงจนเกิดเป็นฌานขั้นใดขั้นหนึ่งเลย แต่ที่หลายท่านเจริญฌานนั้น ก็อาจด้วยปรารถนาในสิ่งอื่นที่มากกว่า "อาสวักขยญาณ" เช่น อภิญญาห้า เป็นต้น ในท่านที่ไม่ไ่ด้ฝึกฌาน อาจบรรลุธรรมโดยไม่มีอภิญญาตัวอื่นๆ เลยก็ได้ แต่ในท่านที่บรรลุธรรมโดยมี "ฌาน" เป็นพื้นฐาน มักจะได้อภิญญามาด้วย เรียกว่าบรรลุอรหันตผลพร้อมอภิญญาต่่างๆ เช่น บรรลุพร้อมปฏิสัมภิทาญาณ



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB