ฌาน

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
ฌาน หมายถึง สภาวธรรมชาติของจิตที่สงบระงับพ้นจากนิวรณ์ทั้งห้าได้เป็นองค์ฌานทั้งห้าแทนชั่วขณะ คือ ขณะที่ทำสมาธิหรือมีสมาธิเป็นบาทฐาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า "สมาธิเป็นเหตุให้เกิดฌาน" แต่การมีสมาธิไม่ได้หมายความว่ามีฌานเสมอไป สมาธิระดับที่อ่อนมากๆ จะยังไม่ถึงขั้นมีฌาน จำต้องมีสมาํธิที่สูงขึ้นจึงจะมีฌานได้ ทั้งนี้ ระดับของฌานสูงมากเท่าไร อย่างหนึ่งก็พิจารณาจากการพ้นจากองค์ฌานทั้งห้าประการได้มากเท่าไร ยิ่งพ้นได้มาก ยิ่งเข้าสู่ฌานที่สูงขึ้น, ลึกขึ้น เมื่อถึงระดับที่เรียกว่า "ฌานหนึ่ง" ก็นับว่าพ้นจากนิวรณ์ทั้งห้าได้เบื้องต้นแต่ยังไม่พ้นจากองค์ฌานทั้งห้า (ยังอาศัยองค์ฌานทั้งห้าตัวเป็นเครื่องรวมจิต ยึดเหนี่ยวจิตไว้) ฌานในระดับที่ลึกขึ้นไปกว่าฌานสี่ก็มี ซึ่งในระดับที่ลึกขึ้นไปกว่าฌานสี่นั้น เราจะไม่ใช้ "องค์ฌาน" เป็นเครื่องวัดกำลังฌานหรือระดับของฌาน แต่จะมีสิ่งอื่นในการดูระดับของฌานแทน อนึ่ง "ฌานสี่ระดับต้น" เป็นสิ่งที่ไม่ยากเกินไป ถ้าบุคคลห่างไกลจากนิวรณ์ทั้งห้าได้เนืองๆ จะเข้าสู่ฌานสี่ได้ไม่ยาก แม้แต่การเพ่ง เช่น การเพ่งกสิณ ก็เข้าสู่ฌานสี่ได้ไม่ยากเกินไป แต่ฌานที่สูงกว่าฌานสี่ขึ้นไปจะยากขึ้น บางท่านจึงนับฌานสี่ระดับนี้ ให้อยู่ในส่วนที่เรียกว่า "รูปฌาน" ส่วนฌานที่สูงกว่านี้จะเีรียกว่า "อรูปฌาน" ก็มี นั่นคือหากบุคคลเพ่งภาพนิมิต ใช้ "รูป" เป็นนิมิตหมายเพื่อเข้าสู่ความสงบระงับแห่งจิต ย่อมเข้าถึงฌานได้สูงสุดคือ "ฌานสี่" แต่หากจะเข้าฌานระดับที่สูงกว่านั้น จำต้องพ้นไปจากนิมิตหมายหรือรูปต่างๆ เช่น หากยังเห็นนิมิตสวรรค์, ได้มโนมยิทธิเห็นนั่นนี่อยู่ ย่อมเข้าถึงฌานสี่ได้สูงสุด (รูปฌาน) แต่ไม่อาจเข้าสู่อรูปฌาน ซึ่งไม่มีรูปหรือนิมิตใดๆ เป็นหมายให้จิตรวมเป็นหนึ่ง สงบระงับได้ ทว่า "อรูปฌาน" นี้ แม้ไม่ได้ใช้รูปหรือนิมิตเป็นเครื่องหมายในการรวมจิต แต่ก็ยังมี "สิ่งที่ไร้รูป" เป็นเครื่องหมายไว้รวมจิตเช่นกัน เช่น บางท่านอาจใช้ความว่างเป็นอารมณ์ หมายไว้รวมสมาธิ ดังนั้น หากท่านเห็นใครที่มองเห็นสวรรค์ ใช้มโนมยิทธิถอดกายทิพย์ไปได้แล้วกล่าวว่าเขาได้ "ฌานแปด" หรือฌานที่สูงกว่าฌานสี่ นั้น "แสดงว่าไม่จริง" ไม่ว่าเขาจะเจตนาโกหกหรือไม่ได้เจตนาจะโกหกก็ตาม


ผลจาก "ฌาน" ทำให้เกิด "ญาณ" ขึ้นได้ เช่น ญาณหยั่งรู้อดีต, ญาณหยั่งรู้อนาคต ฯลฯ และที่สุดของญาณก็คือ "อาสวักขยญาญ" อันเป็น "ญาณที่ก่อให้เกิดปัญญา" รู้แจ้งถึงนิพพาน อันเป็นที่สุด นั่นเอง



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB