กิเลสนิพพาน

วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555 0 ความคิดเห็น
กิเลสนิพพาน หมายถึง ธรรมชาติแห่งกิเลสอันบริสุทธิ์ แต่เดิมแท้ก่อนจะเกิดมีสมมุติและการเกิดดับ หรือ "รากเหง้าแห่งธรรมของกิเลส" หมายถึงอะไร? อย่างแรก คำว่า "กิเลส" หมายถึง ธรรมอันเป็นเครื่องปรุงแต่งทำให้ใจเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส และสุดท้าย ก็จะกลายเป็นทุกข์ เป็นโทษ ด้วยจะนำพาบุคคลที่มีกิเลสไปทำกรรมนานัปการ และไม่วายต้องเวียนว่ายไปเกิดเพื่อรับผลกรรมนั้น นั่นคือ "กิเลส" ซึ่งเป็นธรรมชาติหนึ่งที่มีหน้าที่ขับดันให้ปวงสัตว์เวียนว่ายตายเกิดไปข้างหน้า นั่นเอง หมายความว่า ถ้าไม่มีกิเลส สัตว์ก็ไม่อยากที่จะทำกรรมอะไร และไม่มีแรงเวียนว่ายตายเกิด เพื่อเรียนรู้และพัฒนาจิตวิญญาณไปข้างหน้า ดังนั้น กิเลสจึงมีหน้าที่ของมันเช่นนี้้ เป็นเช่นนั้นเอง ไม่ใช่สิ่งที่ผิดหรือถูก, ดีหรือเลวร้ายอะไร เป็นธรรมอย่างหนึ่ง กลางๆ อันผู้มีปัญญาเห็นแล้ว ก็อุเบกขา วางเฉย และเป็นกลาง ย่อมไม่มีอคติหรือฉันทาคติต่อกิเลส เข้าถึงซึ่ง "รากเหง้าแห่งกิเลส" ที่เรียกว่า "กิเลสนิพพาน" อันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง เท่านั้น


อันคำว่า "กิเลสนิพพาน" นี้ คือ รากเหง้าแห่งกิเลสที่หลุดพ้นแล้วจากภาวะเกิดดับ บางท่านเข้าใจผิดไปว่า "กิเลสนิพพาน" คือ "กิเลสดับหรือต้องไปดับกิเลส" นั่นเพราะไม่เ้ข้าใจความหมายของคำว่า "นิพพานที่หมายถึงหลุดพ้นแล้วจากภาวะเกิดและดับ" หากยังติดอยู่กับอาการดับจะเป็นนิพพานได้อย่างไร? ดังนั้น  กิเลสนิพพาน จึงไม่ใช่ทั้งกิเลสดับ หรือกิเลสเกิด อาการกิเลสดับ และกิเลสเกิด นั้น เป็นอาการปกติของสมมุติทางโลกที่เรียกว่า "กิเลส" เป็นมายาหลอกหลอนดุจกลีบดอกไม้ที่ร่วงโรย เกิดมาแล้วดับไป ไม่จีรัง เป็นอนิจจัง ไม่ใช่นิพพาน เป็นธรรมอันวนอยู่ในวัฏฏสงสาร เป็นธรรมอันไม่หลุดพ้นไปจากวงจรปฏิจสมุปบาท จึงไม่อาจเรียกได้ว่า "กิเลสนิพพาน" หากท่านพิจารณาเห็นกิเลสดับไป นั่น พึงเรียกได้แต่เพียงว่า "กิเลสดับ" ต่อเมื่อท่านเห็น "รากเหง้าในธรรมแท้แห่งกิเลส" อันไม่เกิดและไม่ดับแล้วนั้น จึงเรียกได้ว่า "กิเลสนิพพาน" ซึ่งจำต้องอาศัยช่วงจังหวะที่กิเลสดับลงก่อน ดุจเมฆที่บดบังดวงจันทร์ดับสิ้นลง ย่อมไม่มีสิ่งใดบดบังแสงจันทร์ได้อีก ท่านย่อมพิจารณาเห็นธรรมโดยง่าย ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการดับกิเลส อุปมาเหมือนไฟไม้ฟืน เมื่อไม่มีผู้ใดไปดับ ฟืนย่อมถูกใหม้จนหมดเชื้อ เมื่อสิ้นเชื้อแล้ว แม้แต่ไฟและควัน ก็ไม่เหลืออีก ฟืนนั้นอุปมาดั่งกิเลส, ไฟอุปมาดั่งธรรม, ควันอุปมาดังความทุกข์ ฉะนั้น แต่หากท่าน "รีบดับไฟลงเสียก่อน" แล้ว ฟืนย่อมเหลือเชื้อ และจุดติดไฟได้อีกในวันหลัง อุปมา ดังคนที่รีบดับกิเลส ควันย่อมสิ้นลง ทุกข์ย่อมดับได้เพียงชั่วคราว ตราบใดยังเหลือเชื้่อ ย่อมติดไฟได้อีก ฉะนั้น ...



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB