รูปฌาน

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
รูปฌาน คือ ฌานที่เกิดได้จากการใช้ "รูป" เป็นเครื่องช่วยทำสมาธิ เช่น การเพ่งกสิณ เห็นเ็ป็นรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปที่มีความหมายหรือไม่ก็ตาม เช่น บางท่านอาจเพ่งเห็นเพียงดวงกสิณสีต่างๆ สีใดสีหนึ่งก็ได้ ซึ่งกาีรใช้รูป, นิมิต ต่างๆ เป็นเครื่องช่วยรวมสมาธิ ดึงความสนใจมารวมที่รูปหรือกสิณที่เพ่ง แล้วทำให้มีสมาธิลึกขึ้นไปเรื่อยๆ จนพ้นจากนิวรณ์ทั้งห้า ได้เป็น "ฌานหนึ่ง" นั้น จะก่อให้เกิด องค์ประกอบของฌานทั้ง ๕ ประการ คือ วิตก, วิจารณ์, ปีตี, สุข และเอกัคคตา ครบอยู่ในฌานขั้นแรก (ฌานหนึ่ง) เมื่อเข้าฌานได้ลึกขึ้น ก็จะค่อยๆ "ปล่อยเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ" เพื่อรวมสมาธิที่เรียกว่า "องค์ฌานทั้งห้า" นี้ไปทีละนิด  ทีละน้อย ก็จะ้เข้าสู่ฌานในระดับที่ลึกขึ้น เช่น ฌานสองก็ปล่อยคลาย วิตก, วิจารณ์ ได้, ฌานสามก็ปล่อยคลาย ปีติ ได้, ฌานสี่ ก็ปล่อยคลาย สุข ได้ เหลือแต่เอกัคคตา อารมณ์เท่านั้น อนึ่ง องค์ฌานทั้งห้านี้่เป็นคำศัพท์เฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น คำว่า วิตก ไม่ได้หมายถึง "ความวิตกกังวล" แบบทางโลกแต่มันหมายถึงภาวะที่จิตยังต้องพึ่งพาการเพ่งเนืองๆ หรือบริกรรมเนืองๆ ขาดไม่ได้ เหมือนคนวิตกกังวล ก็ต้องดูต้องแลบ่อยๆ นั่นแหละ ส่วนวิจารณ์ก็เหมือนคนที่เข้าไปสนใจกับกสิณที่เพ่งหรือเห็นเป็นพิเศษ พอไม่มีวิจารณ์แล้ว กสิณจะเป็นอย่่างไรก็ไม่สนใจ เฺฉยๆ จะเขียว จะแดง ก็ช่างมัน นี่คือ หมดวิจารณ์แล้ว แต่ดวงกสิณก็ไม่จำเป็นต้องดับไป มีอยู่ แ่ต่เราไม่ได้สนใจอะไรมากเท่านั้น ส่วน ปีติ นี่เป็นอาการของจิตที่แสดงพลังออกมา ทำให้จิตใจหรือร่างกายสัมผัสได้ชัดเจน เช่น ขนลุกซู่ ก็มี มันมีพลังเมื่อเริ่มมีอิสระและสมาธิเริ่มมากขึ้น เหมือนคนที่ยังตื่นเต้นอยู่ พอหายตื่นเต้น หมดปีติแล้ว มันก็ปกติ ราบเรียบ มีแต่สุขแล้ว ทีนี้ ก็จะเริ่ม "เพลิน" อาการเพลินๆ นี่ละ เรียกว่า "สุข" คือ เริ่มนั่งได้ยาว เริ่มชอบ เริ่มนานแล้ว แต่พอไม่ิติดสุขก็ไม่ติดเพลินแล้ว ไม่นั่งเพลินแล้ว จะมีอะไรมารบกวนให้ออกจากความเพลินก็ไม่ว่ากัน เฉยๆ แม้ออกจากการนั่งสมาธิหลับตาเพ่งอะไรแล้วแต่จิตยังนิ่งรวมดี นิวรณ์ไม่อาจรบกวนได้ ทั้งองค์ฌานทั้งห้าก็เหลือแต่หนึ่งเดียวคือ "เอกัคคตา" อย่างนี้ ก็เข้าถึงฌานสี่ได้ โดยไม่ต้องนั่งนิ่งๆ หรือหลับตาอะไรเลย คุยกันก็อยู่ในฌานสี่ได้ อันนี้ เรียกว่า ชำนาญแล้ว (วสี) ฝึกปฏิบัติกับไม่ปฏิบัติ ดูเปลือกนอก ก็แทบไม่ต่างกันเลย


ฌานระดับที่สูงกว่าฌานสี่ ไม่อาจใช้องค์ฌานทั้งห้า เป็นเครื่องหมายอธิบายได้อีก ทั้งหมดนั้น จะยิ่งไปเกินกว่าคำอธิบายได้ ลึกซึ้งเกินไป จนไม่อาจจะหาคำอะไรมาอธิบายดี ซึ่งฌานในระดับที่สูงกว่าฌานสี่นั้น จะพ้นแล้วจาก "รูป" ที่ใช้เป็นหมายนิมิต บางรายเคยเห็นดวงกสิณ วันหนึ่งดวงกสิณเสื่อมดับไป คิดว่าตนปฏิบัติแย่ลง จิตตก ก็พลาด อดไป แต่ถ้าใครเฉยๆ ดับก็ดับไป จิตก็ยังสงบมีสมาธิอยู่ นั่นจะเข้าสู่ฌานที่ลึุกขึ้นกว่าฌานสี่แล้ว เป็นระดับที่ไม่พึ่งพารูปใดๆ นิมิตใดๆ จะมีหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะจิตก็ยังสงบ มีสมาธิดีอยู่ ได้ไม่ต่างจากเดิม อนึ่ง ผู้เขียนในวัยเด็กประมาณ ๕-๗ ขวบ ก็เ็ห็นดวงกสิณตั้งแต่เด็ก หลับตาก็เห็นเป็นแสงสีต่างๆ วูบๆ วาบๆ ดูแล้วสนุก สวยดี ตื่นตาตื่นใจ ไม่รู้ว่าคือดวงกสิณ เพราะยังเด็กมาก แต่ชอบเพ่งดูใบไม้ที่โดนแสงส่อง มันสวยดี มีสีเขียวสว่าง อะไรอย่างนั้น หลับตาก็เห็นติดตา ก็เล่นสนุกไปเหมือนเด็กคนหนึ่ง จนมันดับหายไปเองเมื่อโตขึ้น ก็ไม่ส่งผลให้สมาธิหรือความสงบลดลงแ่ต่อย่างใด



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB