ปรินิพพาน

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
ปรินิพพาน หมายถึงการนิพพานบางส่วนไม่ใช่นิพพานครั้งเดียวทั้งหมดจัดเป็นสอุปาทิเสสนิพพาน ไม่ใช่  อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานหมดทุกส่วน) โดยพระพุทธเจ้าจะมีปรินิพพาน ๓ ครั้งจึงจะนิพพานครบหมดทุกส่วน อนึ่ง คำว่า "ปริ" หมายถึง โดยรอบ (ไม่ได้หมายถึง ทั้งหมด แต่เฉพาะส่วนรอบ) นิพพาน หมายถึง ธรรมที่พ้นแล้วจากการเกิดขึ้น, ตั้งอยู่, ดับไปนั่นเอง อนึ่ง พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานไปแล้ว จึงเหลือบางส่วนรอกระทำ "พระธาตุนิพพาน" ซึ่งการจะรวมพระธาตุเพื่อทำ "พระธาตุปรินิพพาน" ได้นั้น จะต้องมีจิตเหนี่ยวนำร่วมด้วย อยู่ๆ พระธาตุจะนิพพานเองไม่ไ่ด้ (จิตก็คือมโนธาตุ จิตไม่ใช่ขันธ์ห้า เพราะขันธ์ห้าดับรอบหมดแล้วหลังขันธปรินิพพาน) ดังนั้น ขณะนี้ พระพุทธเจ้าจึงนิพพานยังไม่หมด เหลือพระธาตุและ "มโนธาตุ" ดำรงอยู่เพื่อการโปรดสัตว์ตราบจนสิ้นอายุพุทธกาล ดังความตามเนื้อหาในพระไตรปิฎกดังนี้


อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค พหุธาตุกสูตร

อันตรธาน ๓ เพราะชื่อว่า อันตรธานมี ๓ อย่าง คือ ปริยัติอันตรธาน ปฏิเวธอันตรธาน ปฏิบัติอันตรธาน. ในอันตรธาน ๓ นั้น ปิฏก ๓ ชื่อว่าปริยัติ. การแทงตลอดสัจจะ ชื่อว่า ปฏิเวธ. ปฏิปทา (เครื่องดำเนิน) ชื่อว่า ปฏิบัติ. ใน ๓ อย่างนั้น ปฏิเวธและปฏิบัติ มีบ้าง ไม่มีบ้าง. เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ทรงปฏิเวธ ย่อมมีมากในกาลครั้งเดียว เป็นอันชี้นิ้วแสดงได้ชัดเจนว่า ภิกษุนี้เป็นปุถุชน. ขึ้นชื่อว่า ภิกษุผู้เป็นปุถุชน ไม่ใช่จะมีได้ครั้งเดียวในทวีปนี้เท่านั้น. แม้ผู้บำเพ็ญการปฏิบัติทั้งหลาย บางคราวมีมาก บางคราวก็มีน้อย. ด้วยเหตุนี้ ปฏิเวธและปฏิบัติจึงชื่อว่ามีบ้าง ไม่มีบ้าง. แต่ว่าปริยัติ(ถือว่า) เป็นสำคัญของการดำรงอยู่แห่งพระศาสนา. พระผู้เป็นบัณฑิต ได้ศึกษาพระไตรปิฏกแล้ว ย่อมบำเพ็ญปฏิเวธและปฏิบัติให้บริบูรณ์. พระบรมโพธิสัตว์ของพวกเราทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๗ ให้เกิด ในสำนักของ อาฬารดาบส แล้วถามถึงบริกรรม เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ท่าน อาฬารดาบส บอกว่าไม่รู้. ต่อแต่นั้นพระองค์จึงได้เสด็จไปยังสำนักของ อุทกดาบส เทียบเคียงคุณพิเศษที่ได้ บรรลุแล้ว (กับท่าน) ได้เรียนถามถึงการบริกรรม เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ท่านดาบสก็บอกให้. ในลำดับแห่งคำพูดของท่านดาบสนั่นเองพระบรมโพธิสัตว์ก็ทำ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นั้นให้สำเร็จ ฉันใด ภิกษุผู้มีปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ศึกษาปริยัติแล้วย่อมทำปฏิเวธและปฏิบัติ แม้ทั้งสองประการให้บริบูรณ์ได้. เพราะฉะนั้น เมื่อปริยัติยังดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่. อธิบายปริยัติอันตรธาน ก็เมื่อใด ปริยัติ นั้นอันตรธานหายไป เมื่อนั้น พระอภิธรรม จักเสื่อมก่อน. ในพระอภิธรรมนั้น คัมภีร์ปัฏฐาน จะอันตรธานก่อนกว่าทุกคัมภีร์. คัมภีร์ธรรมสังคหะ อันตรธานหายไปภายหลัง โดยลำดับ. เมื่อพระอภิธรรมปิฏกอันตรธานหายไปแล้ว แม้ปิฏกทั้งสองยังคงดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่ได้. ในปิฏกเหล่านั้น เมื่อพระสุตตันตปิฏก จะอันตรธานหายไป อังคุตตรนิกาย ย่อมอันตรธานหายไปก่อน เริ่มแต่เอกาทสกนิบาต จนถึง เอกกนิบาต. ต่อจากนั้น สังยุตตนิกาย ย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่ จักกเปยยาลสูตร จนถึง โอฆตรณสูตร. ต่อจากนั้น มัชฌิมนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่ อินทริยภาวนาสูตร จนถึง มูลปริยายสูตร. ต่อจากนั้นทีฆนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่ทสุตตรสูตร จนถึง พรหมชาลสูตร. ปุจฉาคาถา (คือคาถาที่เป็นคำถาม) คาถาเดียวบ้าง สองคาถาบ้าง ยังอยู่ไปเป็นระยะเวลานาน แต่ไม่อาจทรงพระศาสนาไว้ได้เหมือน สัพพิยปุจฉา๑ (พม่า-สภิยปุจฉา) และอาฬวก ปุจฉา. ได้ยินว่าระหว่างกาลทั้งหลายเหล่านี้ อันมีในกาลพระกัสสปพุทธเจ้า ไม่อาจดำรงพระศาสนาไว้ได้. ก็เมื่อปิฏกทั้งสองแม้อันตรธานไปแล้ว แต่เมื่อพระวินัยปิฏกยังคง ดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมตั้งอยู่ เมื่อปริวารและขันธกะทั้งหลายอันตรธานไป แล้ว เมื่ออุภโตวิภังค์ ยังดำรงอยู่ พระศาสนาก็ย่อมเป็นอันตั้งอยู่. เมื่ออุภโตวิภังค์ อันตรธานไปแล้ว มาติกาแม้ยังดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็น อันตั้งอยู่ได้. เมื่อมาติกา อันตรธานไปแล้ว ปาติโมกข์ การบรรพชา และอุปสมบท จักดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมตั้งอยู่. เพศ (สมณะ) ยังดำเนินไปได้ระยะกาลยาวนาน. ก็วงศ์ของสมณะผู้ครองผ้าขาว ไม่อาจดำรงพระศาสนาไว้ได้ จำเดิมแต่สมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า. พระศาสนาย่อมชื่อว่าเป็นอันเสื่อม จำเดิมแต่คนสุดท้ายที่แทงตลอดสัจจะ และคนสุดท้ายที่ทำลายศีล. จำเดิมแต่นั้น ไม่ห้ามการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นแล.


ปรินิพพาน ๓ ชื่อว่า ปรินิพพานมี ๓ คือ 

กิเลสปรินิพพาน 

ขันธปรินิพพาน 
ธาตุปรินิพพาน 

ในปรินิพพาน ๓ อย่างนั้น กิเลสปรินิพพานได้มีแล้วณ โพธิบัลลังก์ ขันธปรินิพพานได้มีแล้ว ณ เมืองกุสินารา ธาตุปรินิพพาน จักมีในอนาคต

 พระธาตุเสด็จมาชุมนุมกัน ได้ยินว่า ในคราวพระศาสนาจะเสื่อม พระธาตุทั้งหลายจะเสด็จชุมนุมกันที่เกาะลังกานี้ แล้วเสด็จไปยังมหาเจดีย์ จากมหาเจดีย์เสด็จไปยังราชายตนเจดีย์ ในนาคทวีป จากราชายตนเจดีย์ เสด็จไปยังมหาโพธิ์บัลลังก์. พระธาตุทั้งหลาย จากนาคพิภพก็ดี จากเทวโลกก็ดี จากพรหมโลกก็ดี จักเสด็จไปยังมหาโพธิบัลลังก์เท่านั้น. พระธาตุแม้ขนาดเมล็ดพันธุ์ผักกาด. จักไม่หายไปในระหว่าง ๆ กาล. พระธาตุทั้งหมด (จะรวม)เป็นกองอยู่ที่มหาโพธิบัลลังก์ เป็นแท่งเดียวกันเหมือนแท่งทองคำเปล่งพระฉัพพรรณรังสี (รัศมีมีสี ๖ ประการ) พระฉัพพรรณรังสีทั้งหลายนั้นจักแผ่ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ. แต่นั้น เทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล จักประชุมกันแสดงความการุณย์อย่างใหญ่ ยิ่งกว่าในวันเสด็จปรินิพพานของพระทศพลว่า วันนี้พระศาสดาจะเสด็จปรินิพพาน วันนี้พระศาสนาจะเสื่อม นี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายของพวกเรา ณ กาลนี้. เว้นพระอนาคามี และพระขีณาสพ พวกที่เหลือไม่อาจดำรงอยู่ตามสภาวะของตนได้. เตโชธาตุลุกขึ้นในพระธาตุทั้งหลาย แล้วพลุ่งขึ้นไปจนถึงพรหมโลก. เมื่อพระธาตุแม้มีประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดยังมีอยู่ ก็จักมีเปลวเพลิงติดอยู่เปลวหนึ่ง เมื่อพระธาตุทั้งหลายหมดไป เปลวเพลิงก็มอดหมดไป. เมื่อพระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพใหญ่อย่างนี้แล้วอันตรธานหายไป. พระศาสนาชื่อว่าเป็นอันตรธานไป. พระศาสนาชื่อว่าเป็นของอัศจรรย์ ตราบเท่าที่ยังไม่อันตรธานไปอย่างน.ี้ ข้อที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติไม่ก่อนไม่หลังกันอย่างนี้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้


เครดิต อ้างอิง



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB