ปฏิสนธิจิต

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
ปฏิสนธิจิต คือ จิตที่เคลื่อนจากจุติจิตไปสู่ "ขันธ์ใหม่" หรือ "สังขารใหม่" ทำให้เกิด "วิญญาณใหม่" และทำให้เกิด "รูปนาม" ใหม่ ตามมาเป็นลำดับด้วย ดังนี้ จึงเกิดชาติและภพใหม่ตามมา กลายเป็นชีวิตใหม่อีกหนึ่งชีวิตที่ัยังไม่พ้นต้องแ่ก่, เจ็บป่วย และตาย ในที่สุด เมื่อใดจิตไม่เคลื่อนสู่ภพใดๆ ย่อมไม่เรียกว่า "จุติจิต" ถ้าไม่ประสานร่วมกับขันธ์ใหม่ ย่อมไม่เรีียกว่า "ปฏิสนธิจิต" หากจิตนั้นจะดำรงคงอยู่โดยยังไม่นิพพาน ก็จะดำรงอยู่ได้เช่นนั้น จิตนั้นก็จะไม่มีขันธ์รองรับ ย่อมไม่มีชาติ, ชรา, เจ็บป่วย, และมรณะตามมาเป็นลำดับ จิตจะดำรงอยู่อย่างนั้น ติดอยู่ในสภาวะแห่งความเป็นจิตอย่างนั้น จนกว่าจะนิพพานไป ซึ่งบางท่านเรียกจิตที่ไม่มีขันธ์รองรับนี้ว่า "พระเจ้า" หรือ "พระเจ้าแสงแห่งธรรม" ก็มีเช่นกัน เนื่องจาก มักพบจิตลักษณะนี้ มาโปรดสอนธรรมแก่ปวงสัตว์ นั่นเอง หลายท่านอาจสับสนและคิดว่าจิตคือตัวนิพพาน คือ นิพพาน คือ คิดว่าถ้าไม่มีการปฏิสนธิใหม่ ไม่มี "ขันธ์ใหม่มารองรับ" ก็ไม่เกิดในชาติภพใดๆ อีกแล้ว ย่อมนิพพาน ซึ่งไม่จริง เพราะยังเหลือ "จิตอยู่" และจิตนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ไร้แก่นสาร แต่เป็นสิ่งที่มีแก่นสารในธรรม เรียกว่า "มโนธาตุ" หรือมีธาตุแท้อยู่ ไม่ต่างจากมหาภูติรูปสี่ คือ ธาตุดิน, น้ำ, ลม, ไฟ เลย ดังนั้น หากจิตดำรงอยู่่ต่อไป ก็จะมี "มโนธาตุ" ดำรงอยู่ต่อไป ไม่ใช่นิพพานก็ต่อเมื่อกระทำ "พระธาตุนิพพาน" แล้ว มโนธาตุก็ดับสิ้นไป จิตย่อมหลุดพ้นไปจากสภาวะเดิม และเป็นหนึ่งเดียวกับนิพพานคือ นิพพาน ได้ อันเป็นธรรมที่ละเอียดยิ่งกว่าธาตุใดๆ เป็นธรรมแท้ที่ไม่ใช่สมมุติธรรม ย่อมไม่เกิด ไม่ดับ ไม่ดำีรงอยู่ แต่ไม่ใช่ความไม่มี ไม่ใช่ความว่างเปล่า เป็นธรรมเช่นนั้นเอง เป็นนิพพานเช่นนั้นเอง ไม่เป็นธรรมอย่างอื่น


สรรพสิ่งทั้งหลาย มีทั้งที่มีแก่นสารแห่งธรรม คือ มีธาตุธรรมอยู่ เช่น สังขาร ของเรามาจากมหาภูติรูปสี่ คือ ธาตุิดิน, น้ำ, ลม, ไฟ และไม่มีแก่นสารแห่งธรรม คือ ไม่มีธาตุธรรมอยู่ เช่น กิเลส, เจตสิก ซึ่งสิ่งที่ไม่มีแก่นสารแห่งธรรม ไม่มีธาตุแท้อยู่นี้ ย่อมไม่ต่างอะไรกับพยับแดด ที่เกิดขึ้นจากแสงสะท้อน ไม่ใช่สิ่งที่มีแก่นสารสาระอยู่จริง เกิดขึ้นด้วยอาศัยสิ่งอื่นปรุงแต่งให้เกิด เกิดแล้วดับไป ตามธรรมชาติ ไม่จำเป็นที่เราจะต้องไปทำอะไรให้ดับสิ้นสูญ ไม่จำเป็นที่เราจะต้องทำกรรมฐานอะไรให้มันดับ ไม่ต้องไปทำกรรมดับมัน เช่น "กิเลสหรือเจตสิก" ก็ตาม ไม่ต่างอะไรกับพยับแดด ไร้สาระแก่นสาร เกิดดั่งมายาภาพหลอกหลอน แล้วดับไป ตามธรรมชาติ ตามอนิจจัง แม้แต่ขันธ์ทั้งห้านั้น หากจิตไม่ก้าวล่วงไปสู่วัฏฏสงสารใหม่แล้ว จิตก็ไม่ต้องจุติยังภพใหม่ ไม่ต้องปฏิสนธิกับขันธ์ใหม่ในชาติใหม่ จิตก็จะดำรงอยู่ในสภาพเดิม คือ เป็นธาตุแท้ที่เรียกว่า "มโนธาตุ" ไม่ดับสูญ จนกว่าจะกระทำ "พระธาตุนิพพาน" จิตนั้นจึงนิพพาน อนึ่ง การกระทำที่เรียกว่า "ดับขันธปรินิพพาน" นั้น เป็น "สอุปาทิเสสนิพพาน" (นิพพานบางส่วน) เฉพาะส่วนขันธ์ห้าเท่านั้น เป็นการ "ดับรอบ" รอบอะไร? รอบมโนธาตุ อันเ็ป็นแก่นแท้ของบุคคลนั่นเอง แต่แม้ว่าพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงกระทำอนุปาทิเสสนิพพาน ยังเหลือมโนธาตุไว้ นิพพานยังไม่หมด ก็ไม่แปลกอันใด เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายล้วนมีพระชนม์มายุ ๘ พัน ถึง ๘ หมื่นปี กันทั้งสิ้น หากว่าพระพุทธเจ้าสมณโคดมจะมีพระชนมายุสัก ๕,๐๐๐ ปี แล้ว ก็ไม่ได้มีความผิดอันใดเลย หรือการที่จะทรงโปรดสัตว์โดยไม่มีขันธ์ห้ารองรับแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าจะทรงกระทำไม่ได้ เพราะทรงมี "พระพุทธปาฏิหาริย์" นั่นเอง 



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB