จิต มีหลากหลายมุมมอง ทำให้แปลความได้หลายความหมาย เช่น เมื่อมองจิตในมุมของ "ธาตุ" เราเรียกจิตว่า "มโนธาตุ" อันเป็นหนึ่งในธาตุพื้นฐานทั้ง ๗ ชนิด ได้แก่ มโนธาตุ, วิญญาณธาตุ, อากาสธาตุ, ปฐวีธาตุ, อาโปธาตุ, วาโยธาตุ, เตโชธาตุ (โปรดสังเกตุว่า มโนธาตุ และ วิญญาณธาตุ ไม่ใช่ตัวเดียวกัน) ซึ่ง ธาตุทั้ง ๗ ชนิดนี้ สามารถผสมหรือแยกกันได้ด้วย แต่ถ้ามองจิตในด้าน "ขันธ์" แล้ว "จิต" จะปรากฏได้ในขันธ์ทั้ง ๕ ชนิด ได้แก่ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร และ วิญญาณ กล่าวคือ เมื่อจิตปรากฏใน "รูป" เราจะเห็น "รูปจิต" ในมิติทิพย์เป็นเหมือนแสงสว่างที่ไม่มีรูปร่างแน่ชัด บางท่านจึงเรียกรูปที่เห็นนี้ว่า "ดวงจิต" แต่เมื่อจิตปรากฏใน "เวทนา" จิตก็จะทำหน้าที่เป็นผู้เข้าเสพอารมณ์รู้, เมื่อใดจิตเข้าไปร่วมกับ "สัญญา" จิตนั้นก็จะเป็นผู้มั่นหมายในสัญญาขันธ์นั้น และเมื่อใดที่จิตเข้าไปร่วมกับ "สังขาร" ก็หมายถึงการเกิด เราเรียกจิตนั้นว่า "ปฏิสนธิจิต" (แต่ถ้าเพื่อการปรุงแต่ง ก็จะได้ "จิตสังขาร" เช่น โมหะจิต เป็นต้น) และเมื่อใดที่จิตเข้าร่วมกับ "วิญญาณ" เพื่อการเกิดในรูปนามใหม่ เราจะเรียกว่า "จิตวิญญาณ" (แต่ถ้าเืพื่อการรับรู้ ก็จะได้ "จิตรู้") โปรดสังเกตุว่า จิต ไม่ได้เป็นตัวหนึ่งตัวใดในขันธ์ห้า แต่เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ห้าหรือไม่ ก็ได้ทั้งสิ้น กล่าวคือ จิตจะเข้าไปผสมโรงกับขันธ์ห้าตัวใดหรือไม่ก็ได้ เมื่อใดจิตเข้าร่วมผสมโรงกับขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง จิตนั้นก็ไม่อิสระ และถูกขันธ์นั้นปรุงแต่งนำพาไปด้วยกัน จิตที่ถูกปรุงแต่งนำพาไปด้วยธรรมใดๆ ก็ตาม จึงมิอาจเรียกว่า "จิตประภัสสร" อันเป็น สภาวะธรรมดั้งเดิมแท้ของจิต ที่มีลักษณะหนึ่งเดียว คือ "จิตประภัสสร" แต่อย่างไรก็ตาม จิตนั้นก็ยังคงเดิมไม่แปรผัน ไม่ว่าจะถูกปรุงแต่งด้วยธรรมใด อุปมา เหมือนน้ำผสมกับน้ำมัน น้ำก็ยังเป็นน้ำบริสุทธิ์อยู่เช่นเดิม แต่จะกล่าวว่า "สารผสมน้ำกับน้ำมัน" เป็นน้ำที่บริสุทธิื์ก็หาได้ไม่ ดังนี้ จิตจึงมีชื่อเรียกแตกต่างออกไปมากมาย ทั้งที่จริงแล้ว ไม่ใช่ลักษณะเดิมแท้เลย
คำว่า "จิตพุทธะ" จึงมิใช่ "จิตประภัสสร" และมิใช่ "จิตหนึ่ง" แต่เป็นผลที่เกิดขึ้นหลังจากการถูกปรุงแต่งด้วย "วิญญาณขันธ์" อันเป็นพุทธะ จึงเรียกว่า "จิตพุทธะ" และหากวิญญาณขันธ์นั้นเป็น "โพธิสัตว์" ผลที่ได้จากการปรุงแต่งก็เรียกว่า "โพธิจิต" แต่หากวิญญาณขันธ์นั้นเป็น "มาร" ก็จะมีคำเรียกว่า "จิตมาร" ซึ่งแท้แล้ว ล้วนไม่ใช่ "จิตหนึ่ง" หรือ "จิตประภัสสร" หรือ "สภาวะจิตแต่ดั้งเดิม" อันมีลักษณะหนึ่งเดียว คือ บริสุทธิ์ประภัสสรเท่านั้น คำเรียกจิตทั้งหลายที่แตกต่างกันไปนี้ ล้วนเป็นผลมาจากการปรุงแต่งทั้งสิ้น จิตแท้แล้วจึงมีสภาพ "ดำรงอยู่ในชาติและภพ" โดยมีการ "เกิดของจิต" ครั้งแรกหนึ่งครั้ง แล้วผสมกับธรรมอื่น เวียนว่ายไปในสามภพ ไม่เคยดับสูญ ตราบจนกว่าจะหลุดพ้นสภาวะแห่งจิต จึงจักนิพพาน ...
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น