พระสงฆ์ ภิกษุ สาวก
พระสงฆ์ ภิกษุ สาวก สามคำนี้ มีความหมายต่างกันเล็กน้อย กล่าวคือ พระสงฆ์ นั้นใช้หมายถึง ผู้บวชอยู่ในพระพุทธศาสนา ส่วนคำว่า พระสาวก นั้น หมายรวมถึงทั้งผู้ที่บวชและไม่บวช หากน้อมเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ก็นับเป็นพระสาวกได้ ดังนั้น พระสาวกจึงมีทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาส ส่วนคำว่า "ภิกษุ" นั้น หากแปลตามตำราไทย ท่านให้ไว้ว่า "ผู้ขอ" จึงมีความหมายทับซ้อนกับคำว่า "ขอทาน" เพราะขอทานก็เป็นผู้ขอเหมือนกัน ในที่นี้ ผมจึงขออนุญาติให้คำจำกัดความคำว่า "ภิกษุ" ใหม่้ ว่าหมายถึง "ผู้รับ" อันจะต่างจาก "ขอทาน" เพราะไม่ใช่ผู้ขอ ไม่ได้กระทำกรรมด้วยการขอ แต่อยู่เฉยๆ หรือทำกิจของตนไป โดยไม่ได้มีเจตนากระทำกรรมด้วยการขออะไรจากใคร แต่พร้อมแล้วที่จะรับ ถ้ามีผู้ใดพร้อมที่จะให้ ก็รับได้ นี่จึงต่างจาก "ขอทาน" ดังนี้ หากภิกษุไปเดินเรี่ยไร ทำกรรมด้วยการขอ ร้องขอ บอกกล่าวให้คนมาทำบุญกับตน ก็นับว่าไม่ใช่กิจของภิกษุแต่หากภิกษุนั้นอยู่เฉยๆ แล้วมีผู้กระทำให้แทนโดยตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เมื่อมีผู้ให้ ภิกษุก็รับไป อย่างนี้ นับว่าเป็นกิจของภิกษุผู้รับ ไม่ใช่ผู้ขอ นอกจากนี้ ยังมีัคำที่เกี่ยวข้อง เช่น คำว่า "สมมุติสงฆ์" อันหมายถึง ผู้ที่ถือบวชเป็นพระสงฆ์โดยสมมุติในทางพระพุทธศาสนา ยังไม่ได้เป็นพระสงฆ์แท้ ซึ่งมีได้ทั่วไปในประเทศไทย เช่น พระสงฆ์ที่ได้จากการบวชโดยประเพณี เป็นที่ยอมรับกันในประเทศไทย ตามประเพณีไทย แม้ว่าไม่ตรงกับธรรมวิันัย ผิดธรรมวินัย ก็นับว่าสำเร็จเป็น "สมมุติสงฆ์" ได้เช่นกัน แต่ไม่อาจเรียกได้ว่าเป็น "พระสงฆ์แท้" เท่านั้นเอง อาทิเช่น การบวชของพระภิกษุณี ในไทยนั้น ทางคณะสงฆ์ไม่ยอมรับ เนื่องจาก "สายภิกษุณีขาดสิ้นไปแล้ว" การบวชนี้ กลับได้รับการยอมรับจากสังคมไทย สามารถบิณฑบาตรแล้วมีผู้คนอนุเคราะห์ให้ ก็นับว่าเป็น "สมมุติสงฆ์" เช่นกัน เมื่อได้ตายไปจากโลกนี้แล้ว จุติขึ้นสวรรค์ ก็สามารถ "ต่อสายธรรมบนสวรรค์" อันเป็นสายธรรมที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงโปรดไว้เมื่อครั้งเทศนาโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ (และเทวดาเหล่านั้นมีอายุมากกว่ามนุษย์มากเป็นพันปีทิพย์ หลายท่านบรรลุอรหันตผลจึงยังดำรงอยู่เพื่อรอต่อสายธรรมให้ได้) เมื่อต่อสายธรรมเช่นนี้แล้ว จึงนับว่าเป็น "พระสงฆ์แท้" โดยสมบูรณ์ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีคำว่า "อรหันตสาวก" อีกด้วย ใช้หมายถึง พระสาวกที่ได้อรหันตผล สามารถเผยแพร่ธรรมในพระพุทธศาสนาได้ตรงนิพพาน จึงสามารถต่อสายธรรมสืบทอดพระพุทธศาสนาได้ อนึ่ง พึงเข้าใจด้วยว่า "สายธรรม" ก็อย่างหนึ่ง จำต้องสืบทอดต่อจากผู้มีธรรมจริง "สายพระสงฆ์" ก็อย่างหนึ่ง จำต้องต่อจาก "พระสงฆ์ที่ได้บวชอย่างถูกพระธรรมวินัยจริงๆ" ดังนั้น ผู้ต่อสายพระสงฆ์แต่ไม่ได้ต่อสายธรรม ก็ยังเป็นพระสงฆ์ได้ แม้ว่าไม่ได้มีธรรมแท้จริง ในขณะที่ผู้มีธรรม เช่น ฆราวาสที่บรรลุอรหันตผล อาจไม่ได้ต่อสายพระก็ได้ ก็ยังนับว่ามีธรรมเช่นเดิม ซึ่งตามนัยของพระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า "หากฆราวาสบรรลุธรรม ไม่ได้บวช จะละสังขารภายใน ๗ วัน" แล้วจึงได้ถึงซึ่งพระนิพพานไป นับว่า "จบกิจ" จบพรหมจรรย์ จบชาติ จบภพ โดยสมบูรณ์ ดังนี้แลฯ ...
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น