โลกธาตุ

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555 0 ความคิดเห็น
ในจักรวาลมีดวงดาวมากมาย ในจำนวนดาวมากมายเหล่านี้ มีทั้งดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ ในจำนวนนี้ ยังมีดาวที่เรียกว่า "โลกธาตุ" คือ ดาวมี "รูปธรรมชีวิต" ดำรงอยู่ ในรูปแบบที่ต่างกันไป ทั้งที่มีวัตถุสสารประกอบเป็นสังขาร และที่ไม่มีวัตถุสสารประกอบเป็นสังขาร มีเพียงพลังงานละเอียด, พลังชีวิต ประกอบเป็นวิญญาณขันธ์ก็มี ดาวดวงไหนไม่มีรูปธรรมชีวิตดำรงอยู่ ไม่เรียกว่า "โลกธาตุ" ดาวดวงไหนมีรูปธรรมชีวิตดำรงอยู่ จึงเรียกว่า "โลกธาตุ" ในบรรดาโลกธาตุทั้งหลาย มีทั้งโลกธาตุที่มี "พุทธะ" ดำรงอยู่ หรือเป็นแดนเกิดของ "พุทธะ" จำนวนมาก เรียกว่า "พุทธเกษรโลกธาตุ" หรือ "พุทธเกษตร" เฉยๆ ก็ได้ เช่น สุขาวดีพุทธเกษตร, อภิรตีพุทธเกษตร, พหุสคันโธพุทธเกษตร ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งในพุทธเกษรเหล่านี้จะมีพุทธะดำรงอยู่ตลอด ไม่มีที่สิ้นสุด ดังแสงธรรมไร้ประมาณ ไม่มีที่สิ้นสุดฉะนั้น โลกธาตุที่เหลืออื่นๆ นอกนั้น อาจมีหรือไม่มีพระพุทธะ ไปเกิด, ไปตรัสรู้, ไปปรินิพพาน "ในบางวาระ" เป็นครั้งคราวไป ดังนั้น บางโลกธาตุจึงมี "ช่วงที่ว่างจากพุทธะ" ช่วงนั้น โลกธาตุันั้นก็เหมือน "ดับมืดลง" เรียกว่า "ยุคมืด" จนเมื่อมีพระพุทธะมาเกิด, มาตรัสรู้แล้ว พระองค์แรก โลกธาตุนั้นจึงพ้นจาก "ยุคมืด" ได้ จากนั้น จึงเกิดมีพุทธะองค์อื่นๆ สืบต่อเนื่อง ตามๆ กันมา พระุพุทธะพระองค์แรกที่ตรัสรู้ จึงถูกเรียกว่า "พระพุทธเจ้า" หรือเจ้าแห่งพุทธะ เป็นดั่งเจ้าเหนือพุทธะองค์อื่นๆ ทั้งมวล เป็นผู้นำสูงสุด เีพียงหนึ่งเดียวในหมู่พุทธะเหล่านั้น


ในบางโลกธาตุ "ยังไม่มีพุทธะไปเกิดหรือตรัสรู้เลย" เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของโลกธาตุ เช่น ในยุคแรกๆ ของโลกธาตุของเรานี้ (ที่มีนามว่า ตรีสหัสสโลกธาตุ หรือไตรภพ อันมีเอกลักษณ์ คือ มีสามภพอยู่ในโลกธาตุเดียว ได้แก่ ภพนรก, มนุษย์, สวรรค์) ก็ยังไม่มีพุทธะมาก่อน รูปธรรมชีวิตยุคแรกๆ ยังไม่มีวิวัฒนาการถึงระดับ "พุทธะ" จนเมื่อเวลาผ่านไปนานเข้าถึงกาลอันควร จึงเกิดมี "พุทธะ" พระิองค์แรกขึ้นมาในโลกธาตุนี้ เีรียกว่า "พระปฐมพุทธะ" หรือ พระพุทธเจ้าองค์ปฐม จากนั้น เมื่อสิ้นยุคของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นไป โลกธาตุนี้ ก็ว่างจากพุทธะอีก กลายกลับเป็นยุคมืดไป โลกธาตุก็วิวัฒนาการไปเรื่อยๆ กินเวลานานนับเป็น "กัป" บางกัปมีพระพุทธเจ้า เรียกว่า "อสุญกัป" แต่ถ้ากัปไหนไม่มีพระพุทธเจ้าเลย ก็เรียกว่า "สุญกัป" ดังนั้น โลกธาตุนี้ จึงมีช่วงที่มืดและสว่าง, ช่วงที่มีพุทธะและไม่มีพุทธะ มาเกิด, มาตรัสรู้ ฯลฯ จุดนี้เองที่แตกต่างจาก "พุทธเกษตร" ซึ่งจะมีพุทธะดำรงอยู่ตลอด เนื่องจากเป็นเหมือนดั่งผืนนา แปลงเกษรที่เพาะปลูก "พุทธะ" นั่นเอง อนึ่ง พระพุทธเจ้า คือ "พุทธะ" ที่เกิด, ตรัสรู้ และนิพพานในโลกธาตุนั้นๆ  แต่หากเกิดและตรัสรู้ในโลกธาตุหนึ่ง "แล้วไม่นิพพาน" ในโลกธาตุนั้นๆ กลับไปจุติยัง "พุทธเกษตร" แทน ย่อมได้ชื่อว่า "พุทธะ" หรือภาษาจีนเรียกว่า "พระยูไล ซึ่งจะได้รับนามว่า พุทธะ" เมื่อครั้งดำรงอยู่ในโลกนี้ แต่จะได้รับนามว่า "พระพุทธเจ้า" เมื่อจุติไปเกิดยัง "พุทธเกษตร" อันเป็นสถานที่ปรินิพพานแล้วเท่านั้น


นอกจากนี้ "พุทธเกษตร" ยังเป็นแดนเกิดสำหรับ "พระอรหันต์ที่ไม่รีบนิพพาน" อีกด้วยกล่าวคือ เมื่อบุคคล ได้ "อรหันตผล" แล้ว ไม่รีบนิพพานยังจุติไปเกิดยังพุทธเกษตรเหล่านี้ได้ เมื่อเกิดแล้วในพุทธเกษตรจะุถึงอรหันตผลทันที ยกตัวอย่างเช่น พระสาวกของพระพุทธเจ้าบนโลกนี้ องค์ใด ได้อรหันตผลแล้ว ยังไม่รีบนิพพานก็จะจุติยังพุทธเกษรนั้น เราเรียกท่านเหล่านี้ว่า "อรหันตโพธิสัตว์" (นอกจาก "พุทธะ" ที่ได้อรหันต์บนโลกแล้วยังไม่รีบนิพพาน จุติไปเกิดยังพุทธเกษตรแล้ว ยังมีพระโพธิสัตว์ที่ได้อรหันต์แล้วยังไม่รีบที่จะนิพพาน จุติไปเกิดยังพุทธเกษตร ได้เช่นกัน) ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า "อรหันตผล" เป็นผลอันเกิดจากการก่อเหตุให้เกิด คือ เจริญมรรคจนเกิดผลเป็นอรหันต์ แต่ไม่อาจยึดมั่นถือมั่นได้ว่า "อรหันต์นี้ จะต้องนิพพาน" เสมอไป อันผู้มีปัญญาแจ้งแล้ว จักนิพพานหรือยังไม่นิพพานก็ได้ ผู้มีปัญญาย่อมอยู่เหนือทางทั้งสองนี้



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB