อนึ่ง เมื่อบุคคลเข้าถึง "อรหันตมรรค" เข้าถึง "มรรคที่ไร้มรรค" นี้แล้ว หากยังอยู่ใน "มรรคที่ไร้มรรค" ต่อ ก็จะยังไม่ึถึง "อรหันตผล" อยู่ดี ไม่ว่าจะมีมรรคที่มีวิธี หรือมีมรรคที่ไร้วิธี ทั้งสองอย่างก็ยังคงเป็นมรรคอยู่เช่นกัน เพียงแต่ "มรรคที่ไร้วิธี" อาจใกล้นิพพานมากกว่า ก็เท่านั้น แต่เมื่อใด บุคคลได้ยึดว่า "นี่แหละทางที่ถูกต้อง" นี่แหละ "มรรค" เมื่อนั้น บุคคลก็จะติดมรรค แ้ม้มรรคนั้นนำพาถึงนิพพานได้ก็จริง แต่ถ้าบุคคลยึดติดไว้ในมรรคนั้นๆ ก็จะยังมิเกิด "อรหันตผล" ได้ เพราะติดในมรรคนี้ ไม่ได้ปล่อยให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปตามวิบากกรรมอย่างแท้จริง แต่จะเพียรจมอยู่ เพื่อให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปตามมรรคแห่งนิพพานที่พบนั้น
อรหันตมรรค
อรหันตมรรค คือ อริยมรรคที่เข้าทางอรหันต์แล้ว หรือกล่าวง่ายๆ ก็คือ เมื่อเราปฏิบัติเข้าทางอรหันต์แล้ว ก็นับเป็น "อรหันตมรรค" คือ ปฏิบัติตรงทางแล้ว หยั่งถึงนิพพาน แจ้งในนิพพานว่านิพพานมีอยู่จริงแล้ว ก็นับให้ว่าได้อรหันต์ แต่เพราะยังไม่ละจาก "มรรค" ที่ดำเนินอยู่ ก็จะนับให้เป็น "อรหันตมรรค" เมื่อใดที่ละจากมรรคได้ ปล่อยวางไม่ยึดติดแม้แต่มรรค ก็จะถึง "อรหันตผล" ในที่สุด เรียกว่า "อเสขบุคคล" คือ ผู้ไม่ต้องปฏิบัติอะไรอีก อนึ่ง การไม่ต้องปฏิบัติอะไร ไม่ไ่ด้หมายความว่าอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร แต่จะเป็นไปด้วยอำนาจแห่งกรรม เช่น บางท่านมีวิบากกรรมถูกใช้ให้ทำงาน เขาก็ทำงานได้ ด้วยอำนาจแห่งวิบากกรรมนั้น มิใช่เจตนาที่เขาอยากจะทำ หรือดำริว่าตนจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ ทำไปด้วยถูกกระทำให้ต้องทำ เป็นเพียงวิบากเท่านั้น อนึ่ง "อรหันตมรรค" เป็นเหมือน "มรรคที่ไร้มรรค" มิใช่ด้วยวิธีการทำสมาธิแบบใดแบบหนึ่ง จึงได้อรหันตมรรค แต่เป็นไปได้อย่างไม่อาจคาดเดาด้วย "กรรมของปวงสัตว์เป็นอจิณไตย" จึงไม่อาจกำหนดได้ว่าปวงสัตว์ต้องปฏิบัติเช่นนั้นหรือเช่นนี้ เพราะกรรมของปวงสัตว์ทำมาแต่ก่อนนั้น ต่างกัน จึงต้องเสวยผลกรรมต่างกันไป เช่น พระพุทธเจ้าต้องเสวยผลกรรมด้วยการทำทุกขกริยา ๖ ปี ก่อนจึงบรรลุธรรมได้, องคุลีมาล ต้องเสวยผลกรรมก่อนด้วยการถูกหลอกให้หลงทางไปฆ่าคน เมื่อหมดอำนาจแห่งวิบากกรรมนั้นแล้ว จึงหลุดพ้นได้ ดังนั้น จึงไม่อาจยึดมั่นถือมั่นได้ว่าทางหรือวิธีใดที่ถูกต้อง หรือผิด สำหรับคนทุกคน ทุกคนมี "วิบากกรรม" เป็นทางอยู่แล้ว ต่างกันไป เป็นอจิณไตย มิอาจคาดเดา ล้วนเป็นไปได้ทั้งนั้น ไม่มีทางใดผิด และไม่มีทางใดที่จัดว่าถูก ทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจกรรมเท่านั้น
อนึ่ง เมื่อบุคคลเข้าถึง "อรหันตมรรค" เข้าถึง "มรรคที่ไร้มรรค" นี้แล้ว หากยังอยู่ใน "มรรคที่ไร้มรรค" ต่อ ก็จะยังไม่ึถึง "อรหันตผล" อยู่ดี ไม่ว่าจะมีมรรคที่มีวิธี หรือมีมรรคที่ไร้วิธี ทั้งสองอย่างก็ยังคงเป็นมรรคอยู่เช่นกัน เพียงแต่ "มรรคที่ไร้วิธี" อาจใกล้นิพพานมากกว่า ก็เท่านั้น แต่เมื่อใด บุคคลได้ยึดว่า "นี่แหละทางที่ถูกต้อง" นี่แหละ "มรรค" เมื่อนั้น บุคคลก็จะติดมรรค แ้ม้มรรคนั้นนำพาถึงนิพพานได้ก็จริง แต่ถ้าบุคคลยึดติดไว้ในมรรคนั้นๆ ก็จะยังมิเกิด "อรหันตผล" ได้ เพราะติดในมรรคนี้ ไม่ได้ปล่อยให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปตามวิบากกรรมอย่างแท้จริง แต่จะเพียรจมอยู่ เพื่อให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปตามมรรคแห่งนิพพานที่พบนั้น
อนึ่ง เมื่อบุคคลเข้าถึง "อรหันตมรรค" เข้าถึง "มรรคที่ไร้มรรค" นี้แล้ว หากยังอยู่ใน "มรรคที่ไร้มรรค" ต่อ ก็จะยังไม่ึถึง "อรหันตผล" อยู่ดี ไม่ว่าจะมีมรรคที่มีวิธี หรือมีมรรคที่ไร้วิธี ทั้งสองอย่างก็ยังคงเป็นมรรคอยู่เช่นกัน เพียงแต่ "มรรคที่ไร้วิธี" อาจใกล้นิพพานมากกว่า ก็เท่านั้น แต่เมื่อใด บุคคลได้ยึดว่า "นี่แหละทางที่ถูกต้อง" นี่แหละ "มรรค" เมื่อนั้น บุคคลก็จะติดมรรค แ้ม้มรรคนั้นนำพาถึงนิพพานได้ก็จริง แต่ถ้าบุคคลยึดติดไว้ในมรรคนั้นๆ ก็จะยังมิเกิด "อรหันตผล" ได้ เพราะติดในมรรคนี้ ไม่ได้ปล่อยให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปตามวิบากกรรมอย่างแท้จริง แต่จะเพียรจมอยู่ เพื่อให้สิ่งต่างๆ ดำเนินไปตามมรรคแห่งนิพพานที่พบนั้น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น