กินเจ

วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
กินเจ คือ การกินอาหารที่ละเว้นเนื้อสัตว์และผักบางชนิด เป็นคำที่ไม่มีในอภิธรรม ไม่ใช่หลักปฏิบัติเพื่อให้ได้บรรลุธรรมอะไร แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลัง อนึ่ง การกินเจ เกิดขึ้นได้ ๒ กรณีใหญ่ๆ คือ

๑. พระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ต้องอยู่ในป่า เช่น ป่าหิมพานต์ ไม่ได้เดินบิณฑบาตร ดังนั้น จึงต้องฉันเจ เพราะไม่ต้องเข่นฆ่าสัตว์ ดังนั้น พระปัจเจกโพธิญาณทั้งหลาย จึงต้องบำเพ็ญบารมีด้วยการกินเจมาก่อนด้วย

๒. พระพุทธเ้จ้าที่ฉันเจ คือ ในอดีตชาติบำเพ็ญบารมีด้วยการเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานที่กินพืช มิใช่สัตว์กินเนื้อ ทำให้บุญบารมีที่สร้างมานั้น ส่งผลให้ต้องฉันเจ ซึ่งปกติ ไม่ค่อยมี เพราะพระพุทธเจ้า จะต้องเกิดเป็นสัตว์ทุกชนิด ทั้งสัตว์กินพืช และสัตว์กินเนื้อ แต่ก็อาจพบได้บางชาติ ที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญฉันเจ

อนึ่ง การกินเจไม่ใช่สิ่งที่ผิดอะไร แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องถ้าจะไปยึดมั่นถือมั่น เพราะ "อาหาร" นั้น มาโดยวิบากกรรม แต่สำหรับผู้ที่ก่อกรรมเพื่อให้ได้อาหารมา อันจะส่งผลให้เกิดชาติภพสืบต่อไปนั้น ย่อมเลือกอาหาร ก่อกรรมชี้เฉพาะอาหารที่ตนจะบริโภค มิได้ปล่อยให้อาหารถูกจัดสรรมาตามวิบากกรรม ซึ่งครั้งหนึ่งพระเทวทัตก็เึคยพยายามบงการให้พระพุทธเจ้าและพระสาวกฉันเจ แต่พระพุทธเจ้าก็มิได้ทำตามนั้น เพราะไม่จำเป็น และไม่เกี่ยวข้องอะไรกับการบรรลุธรรมเลย เป็นเพียงการสร้างบุญบารมี นำไปสู่ชาติภพใหม่ข้างหน้าเท่านั้น อนึ่ง "เนื้อสัตว์" เป็นอาหารของสัตว์เดรัจฉานกินเนื้อและมนุษย์ สำหรับเทพชั้นสูงก็จะไม่กินเนื้อสัตว์ แต่จะมีอาหารทิพย์อีกแบบ แตกต่างกันไปตาม "บุญ" ที่ตนได้สร้างทำมานั้น การกินอาหารสำหรับผู้ต้องการหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร จึงไม่ได้กินตามใจเลือก แต่จะกินตามวิบากกรรม โดยจะพิจารณาอาหารนั้นก่อนกินก็ได้ ดังนั้น พระพุทธศาสนาดั้งเดิมจึงไม่ได้ยึดถือการกินเจ ส่วนลัทธินิกายบางลัทธินิกาย อาจแตกต่างไป ยึดถือเอาการ "กินเจ" เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ก็มี



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB