ดังนี้ เราจึงไม่กล่าวว่า "นิพพานเป็นสิ่งที่มีมาอยู่ก่อน" แต่จะกล่าวเพียงว่า "นิพพาน" คือ ความหลุดพ้นไปจากสมมุตินั้นๆ (มีสมมุติมาก่อน แล้วพ้นจากสมมุติ ก็ใช้คำว่านิพพาน) ส่วนคำว่า "ไกวัลยธรรม" นั้น เป็นธรรมที่มีมาก่อน "สมมุติธรรม" ก่อนที่สมมุติต่างๆ จะเกิดหรือดับไป ดังนี้ "นิพพาน" จึงมีคำแปลว่า "ดับ" หรือ "สูญ" ซึ่งหมายถึง "อาการดับหรือสูญไปแห่งสมมุติที่มีอยู่แต่เดิม" แต่มิใช่ธรรมแห่งความว่างสูญ คือ เมื่อสมมุติที่มีมาอยู่แต่เดิม ดับสูญไป ก็กลับคืนสู่สภาวธรรมแต่ก่อนมีสมมุตินั้น ที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" ซึ่งจะกลับคืนสู่ไกวัลยธรรมได้นั้น จำต้องผ่าน "นิพพาน" ก่อน หรือกล่าวง่ายๆ คือ "นิพพาน" ใช้เรียกแค่ "อาการของสิ่งสมมุติ" ที่ดับสูญไปเท่านั้น มิได้กล่าวถึง "สภาวะธรรม" หลังจากสมมุติดับสูญไปเลย ด้วยสภาวธรรมของสิ่งที่นิพพานแล้วนั้น มิได้แปลกใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่เหมือนเดิมก่อนที่จะมีสมมุติขึ้น เกิดและดับ เท่านั้น คือ "ไกวัลยธรรม" แค่นั้นเอง ซึ่งไม่อาจอธิบายสภาวะเหล่านี้ด้วย "สมมุติใดๆ" ได้ ท่านจึงเรียก "สภาวะ" หรือ "ลักษณะ" เหล่านี้ด้วยคำเพียงว่า "ตถตา" ที่แปลว่า "ความเ็ป็นเช่นนั้นเอง"
ไกวัลยธรรม
ไกวัลยธรรม เป็นคำที่อยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งมีบางท่านได้นำมาอธิบายขยายความเพิ่มเติม เช่น ท่านพุทธทาส ได้ขยายความเพิ่มเติมไว้ บางส่วนเช่น ไกวัลยธรรม คือ "สิ่งที่มีอยู่มาก่อนสิ่งทั้งปวง" แต่บางครั้งก็อาจพบบางท่านแปลเป็น "ความว่าง" ก็มี อนึ่ง พึงเข้าใจว่า "ไกลวัลยธรรม" ไม่ใช่ "ความว่าง" ด้วย ความว่างหากพิจารณาตาม "ธาตุ" เป็นเพียงธาตุชนิดหนึ่งใน ๗ ธาตุ เรียกว่า "อากาสธาตุ" หากพิจารณาตาม "รูป" จะจัดเป็นเพียงรูปอย่างหนึ่งที่เีรียกว่า "ปริเฉทรูป" ซึ่งหมายถึง "ช่องว่างระหว่างรูป" ดังนั้น คำว่า ไกลวัยลธรรม จึงไม่ควรแปลว่า "ความว่าง" แต่หากใช้หมายถึง "ธรรมที่มีมาก่อนสมมุติธรรม" มาก่อนธรรมที่เกิดดับ นั้น ก็น่าจะเหมาะสมมากกว่า ดังนี้ "ไกวัลยธรรม" จึงอาจมีความหมายคล้าย "นิพพาน" คือ นิพพานก็เป็นธรรมะ ธรรมชาติ ที่มีอยู่จริง มิใช่ความว่างสูญ ไม่ใช่ธาตุแห่งความว่างเปล่า แต่เป็นสิ่งที่ไม่เกิดและไม่ดับอีกแล้ว ไม่ใช่ธรรมฝ่าย "สมมุติธรรม" ทว่า เราจะกล่าวคำว่า "นิพพาน" เมื่อ "สมมุติธรรม" ได้พ้นจากวังวนแห่งการเกิดดับแล้วเท่านั้น เช่น กิเลสนิพพาน หมายถึง กิเลสที่เคยเป็นสมมุติธรรม เกิดแล้วดับไป ไม่เที่ยงนั้น ได้พ้นจากวังวนแห่งการเกิดดับแล้วเีรียกว่า "กิเลสนิพพาน" หรือ "ขันธปรินิพพาน" ก็หมายถึง "สมมุติธรรมที่เรียกว่าขันธ์" ได้พ้นจากวังวนแห่งการเกิดดับ หลุดพ้นจาก "สมมุติธรรม" ไป
ดังนี้ เราจึงไม่กล่าวว่า "นิพพานเป็นสิ่งที่มีมาอยู่ก่อน" แต่จะกล่าวเพียงว่า "นิพพาน" คือ ความหลุดพ้นไปจากสมมุตินั้นๆ (มีสมมุติมาก่อน แล้วพ้นจากสมมุติ ก็ใช้คำว่านิพพาน) ส่วนคำว่า "ไกวัลยธรรม" นั้น เป็นธรรมที่มีมาก่อน "สมมุติธรรม" ก่อนที่สมมุติต่างๆ จะเกิดหรือดับไป ดังนี้ "นิพพาน" จึงมีคำแปลว่า "ดับ" หรือ "สูญ" ซึ่งหมายถึง "อาการดับหรือสูญไปแห่งสมมุติที่มีอยู่แต่เดิม" แต่มิใช่ธรรมแห่งความว่างสูญ คือ เมื่อสมมุติที่มีมาอยู่แต่เดิม ดับสูญไป ก็กลับคืนสู่สภาวธรรมแต่ก่อนมีสมมุตินั้น ที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" ซึ่งจะกลับคืนสู่ไกวัลยธรรมได้นั้น จำต้องผ่าน "นิพพาน" ก่อน หรือกล่าวง่ายๆ คือ "นิพพาน" ใช้เรียกแค่ "อาการของสิ่งสมมุติ" ที่ดับสูญไปเท่านั้น มิได้กล่าวถึง "สภาวะธรรม" หลังจากสมมุติดับสูญไปเลย ด้วยสภาวธรรมของสิ่งที่นิพพานแล้วนั้น มิได้แปลกใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่เหมือนเดิมก่อนที่จะมีสมมุติขึ้น เกิดและดับ เท่านั้น คือ "ไกวัลยธรรม" แค่นั้นเอง ซึ่งไม่อาจอธิบายสภาวะเหล่านี้ด้วย "สมมุติใดๆ" ได้ ท่านจึงเรียก "สภาวะ" หรือ "ลักษณะ" เหล่านี้ด้วยคำเพียงว่า "ตถตา" ที่แปลว่า "ความเ็ป็นเช่นนั้นเอง"
ดังนี้ เราจึงไม่กล่าวว่า "นิพพานเป็นสิ่งที่มีมาอยู่ก่อน" แต่จะกล่าวเพียงว่า "นิพพาน" คือ ความหลุดพ้นไปจากสมมุตินั้นๆ (มีสมมุติมาก่อน แล้วพ้นจากสมมุติ ก็ใช้คำว่านิพพาน) ส่วนคำว่า "ไกวัลยธรรม" นั้น เป็นธรรมที่มีมาก่อน "สมมุติธรรม" ก่อนที่สมมุติต่างๆ จะเกิดหรือดับไป ดังนี้ "นิพพาน" จึงมีคำแปลว่า "ดับ" หรือ "สูญ" ซึ่งหมายถึง "อาการดับหรือสูญไปแห่งสมมุติที่มีอยู่แต่เดิม" แต่มิใช่ธรรมแห่งความว่างสูญ คือ เมื่อสมมุติที่มีมาอยู่แต่เดิม ดับสูญไป ก็กลับคืนสู่สภาวธรรมแต่ก่อนมีสมมุตินั้น ที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" ซึ่งจะกลับคืนสู่ไกวัลยธรรมได้นั้น จำต้องผ่าน "นิพพาน" ก่อน หรือกล่าวง่ายๆ คือ "นิพพาน" ใช้เรียกแค่ "อาการของสิ่งสมมุติ" ที่ดับสูญไปเท่านั้น มิได้กล่าวถึง "สภาวะธรรม" หลังจากสมมุติดับสูญไปเลย ด้วยสภาวธรรมของสิ่งที่นิพพานแล้วนั้น มิได้แปลกใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่เหมือนเดิมก่อนที่จะมีสมมุติขึ้น เกิดและดับ เท่านั้น คือ "ไกวัลยธรรม" แค่นั้นเอง ซึ่งไม่อาจอธิบายสภาวะเหล่านี้ด้วย "สมมุติใดๆ" ได้ ท่านจึงเรียก "สภาวะ" หรือ "ลักษณะ" เหล่านี้ด้วยคำเพียงว่า "ตถตา" ที่แปลว่า "ความเ็ป็นเช่นนั้นเอง"
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น