อนึ่ง บุคคลมีปัญญาบารมีทำมาต่างกัน ทำให้รับธรรมะได้มากน้อยต่างกัน อุปมาเหมือนภาชนะใส่ธรรมที่มีขนาดไม่เท่ากันฉะนั้น คนที่สร้างแต่ส่วนบุญมาเพื่อให้ได้ศึกษาธรรมะมาก โดยไม่มีปัญญาบารมีรองรับ ในช่วงแรกที่ผลบุญสนองผล ให้ได้เสวยผลบุญเป็นการศึกษาธรรม อาจยังไม่ไ่ด้รับผลร้ายจากพิษธรรมะ แต่เมื่อหมดอำนาจแห่งผลบุญนั้นแล้วก็อาจได้รับพิษธรรมะได้ ทั้งนี้ มิใช่ว่าธรรมะมีความผิด อุปมา เช่นยารักษาโรคก็ไม่มีความผิด แต่ความผิดพลาดเกิดขึ้นจากการใช้ยาโดยไม่ผ่านแพทย์ตรวจสั่งก่อน หรือก็คือการหยิบฉวยธรรมะไปศึกษาโดยไม่ผ่านการตรวจวินิจฉัยโดยพระพุทธเจ้าก่อนเป็นเหตุทำให้ได้รับพิษธรรมะ ดังนั้น การศึกษาธรรมะมากๆ ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป เหมือนกับการกินยาเกินขนาดย่อมไม่ดีฉันนั้น อนึ่ง ผู้ที่จะทราบว่าปวงสัตว์ควรได้รับธรรมะใด มากน้อยแค่ไหน คือ พระพุทธเจ้า ส่วนพระอรหันตสาวกอื่นๆ ไม่อาจวินิจฉัยปวงสัตว์เช่นนี้ได้ อุปมาเหมือนคนไข้ที่หายจากโรค ก็ใช่ว่าจะเป็นหมอรักษาโรคได้
พิษธรรมะ
พิษธรรมะ เป็นคำที่ไม่มีในอภิธรรม แต่ได้เขียนขึ้นเพื่ออธิบายความจริงบางประการ ที่กล่าวถึง บุคคลที่หยิบฉวยธรรมะไปศึกษาเอง โดยไม่ผ่านการตรวจวินิจฉัยจากเจ้าของธรรม (พระพุทธเ้จ้า) อุปมา ไม่ต่างจากคนไข้ที่หยิบฉวยยาไปกินเอง ไม่ผ่านการตรวจของแพทย์ แม้ว่ายารักษาโรคจะรักษาโรคได้ แต่ถ้าใช้โดยไม่ผ่านการตรวจและสั่งยาโดยแพทย์ก่อน ก็อาจใช้ยาผิดและก่อให้เกิดพิษจากการใช้ยานั้นๆ ได้ การหยิบฉวยธรรมะไปใช้เองก็ไม่ต่างกัน หากไม่ผ่านการตรวจและสั่งให้โดยพระพุทธเจ้าแล้ว ก็อาจยังผลให้เกิด "พิษธรรมะ" ได้ อนึ่ง ในช่วงแรกๆ ของการศึกษาธรรมด้วยตนเอง อาจไม่พบว่ามีปัญหา ไม่ได้รับพิษจากธรรมะนั้นๆ แต่เมื่อหมดฤทธิ์, หมดบุญ, หมดพลังคุ้มกันตัวแล้ว ก็จะได้รับพิษธรรมะ กำเริบทำให้เป็นคนที่หลงตัวเอง, หลงในธรรม, หลงว่าตนมีธรรม ทั้งๆ ที่มีความเข้าใจในธรรมไม่ถูกต้อง เช่น เมื่ออ่านในตำราว่า "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" ก็คิดว่าตนปฏิบัติเอง โดยไม่้ต้องรับธรรมจากพระพุทธเจ้า ก็สามารถบรรลุธรรมได้เอง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดด้วยพิษธรรมะ หรืออ่านในตำราว่า "ธรรมะจะเ็ป็นศาสดาแทนองค์" ก็คิดว่าคัมภีร์ไตรปิฎกคือ "ศาสดา" แทนพระพุทธเจ้าไป ทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสสอนหรือสั่งให้ไปรจนาคัมภีร์ขึ้นมาแทนพระองค์ แต่ทรงหมายถึง "พระธรรม" ที่เรียกว่า "ธรรมกาย" ของพระองค์ต่างหากที่จะเป็นศาสดาทำหน้าที่ต่อไป เมื่อเข้าใจผิดแล้วจึงหยิบฉวยธรรมะไปปฏิบัติกันเอง ได้รับ "พิษธรรมะ" ไป
อนึ่ง บุคคลมีปัญญาบารมีทำมาต่างกัน ทำให้รับธรรมะได้มากน้อยต่างกัน อุปมาเหมือนภาชนะใส่ธรรมที่มีขนาดไม่เท่ากันฉะนั้น คนที่สร้างแต่ส่วนบุญมาเพื่อให้ได้ศึกษาธรรมะมาก โดยไม่มีปัญญาบารมีรองรับ ในช่วงแรกที่ผลบุญสนองผล ให้ได้เสวยผลบุญเป็นการศึกษาธรรม อาจยังไม่ไ่ด้รับผลร้ายจากพิษธรรมะ แต่เมื่อหมดอำนาจแห่งผลบุญนั้นแล้วก็อาจได้รับพิษธรรมะได้ ทั้งนี้ มิใช่ว่าธรรมะมีความผิด อุปมา เช่นยารักษาโรคก็ไม่มีความผิด แต่ความผิดพลาดเกิดขึ้นจากการใช้ยาโดยไม่ผ่านแพทย์ตรวจสั่งก่อน หรือก็คือการหยิบฉวยธรรมะไปศึกษาโดยไม่ผ่านการตรวจวินิจฉัยโดยพระพุทธเจ้าก่อนเป็นเหตุทำให้ได้รับพิษธรรมะ ดังนั้น การศึกษาธรรมะมากๆ ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป เหมือนกับการกินยาเกินขนาดย่อมไม่ดีฉันนั้น อนึ่ง ผู้ที่จะทราบว่าปวงสัตว์ควรได้รับธรรมะใด มากน้อยแค่ไหน คือ พระพุทธเจ้า ส่วนพระอรหันตสาวกอื่นๆ ไม่อาจวินิจฉัยปวงสัตว์เช่นนี้ได้ อุปมาเหมือนคนไข้ที่หายจากโรค ก็ใช่ว่าจะเป็นหมอรักษาโรคได้
อนึ่ง บุคคลมีปัญญาบารมีทำมาต่างกัน ทำให้รับธรรมะได้มากน้อยต่างกัน อุปมาเหมือนภาชนะใส่ธรรมที่มีขนาดไม่เท่ากันฉะนั้น คนที่สร้างแต่ส่วนบุญมาเพื่อให้ได้ศึกษาธรรมะมาก โดยไม่มีปัญญาบารมีรองรับ ในช่วงแรกที่ผลบุญสนองผล ให้ได้เสวยผลบุญเป็นการศึกษาธรรม อาจยังไม่ไ่ด้รับผลร้ายจากพิษธรรมะ แต่เมื่อหมดอำนาจแห่งผลบุญนั้นแล้วก็อาจได้รับพิษธรรมะได้ ทั้งนี้ มิใช่ว่าธรรมะมีความผิด อุปมา เช่นยารักษาโรคก็ไม่มีความผิด แต่ความผิดพลาดเกิดขึ้นจากการใช้ยาโดยไม่ผ่านแพทย์ตรวจสั่งก่อน หรือก็คือการหยิบฉวยธรรมะไปศึกษาโดยไม่ผ่านการตรวจวินิจฉัยโดยพระพุทธเจ้าก่อนเป็นเหตุทำให้ได้รับพิษธรรมะ ดังนั้น การศึกษาธรรมะมากๆ ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป เหมือนกับการกินยาเกินขนาดย่อมไม่ดีฉันนั้น อนึ่ง ผู้ที่จะทราบว่าปวงสัตว์ควรได้รับธรรมะใด มากน้อยแค่ไหน คือ พระพุทธเจ้า ส่วนพระอรหันตสาวกอื่นๆ ไม่อาจวินิจฉัยปวงสัตว์เช่นนี้ได้ อุปมาเหมือนคนไข้ที่หายจากโรค ก็ใช่ว่าจะเป็นหมอรักษาโรคได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น