อนึ่ง บุคคลสามารถรับวิบากกรรมได้สองแบบ คือ ๑. แบบไม่ต้องทำกิจ ๒. แบบการทำกิจ กล่าวคือ ถ้าบุคคลรับกรรมแบบไม่ต้องทำกิจ เพียงอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร วิบากกรรมก็มาถึงตัวเอง ตนเองเป็นแค่เพียง "ผู้ถูกกระทำเท่านั้น" วิบากกรรมนั้นก็ได้รับการชดใช้ หมดสิ้นไป ส่วนแบบที่สองนั้น เป็นแบบการชำระกรรมด้วยการกระทำกิจ อันเป็นกิจที่ตนอยากไม่ได้อยากทำ แต่ก็ต้องทำ ไม่ได้นิยมชมชอบ ก็ต้องทำ นี่ด้วยอำนาจแห่งวิบากกรรม ให้่้ต้องกระทำกิจเพื่อชำระวิบากกรรมเช่นนั้น เช่นนี้ บุคคลจะเป็นผู้กระทำกิจ มิใช่ผู้ถูกกระทำ แต่อาจเป็นกิจที่ถูกผู้อื่นสั่งให้ทำ บังคับให้ทำ หรือเป็นไปด้วยอำนาจแห่งวิบากกรรมให้ต้องกระทำ เพื่อชดใช้กรรม ชำระวิบากกรรมเท่านั้น หาใช่เพื่อสนองความต้องการส่วนตนเลย
ธรรมกิจ
ธรรมกิจ เป็นคำที่ไม่มีในอภิธรรม แต่ได้เขียนเืพื่ออธิบายสัจธรรมอย่างหนึ่ง หมายถึง "กิจตามธรรมะ ธรรมชาติ" การทำหน้าที่ของสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติของมัน ไม่ใช่ทำกิจด้วยอุปทานหรือความนึกคิดเอาว่านี่คือ "กิจของฉัน" ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้ามีกิจโปรดสัตว์, พระอรหันตสาวกมีกิจเป็นเนื้อนาบุญ แต่ก็มีพระอรหันตสาวกบางรูปมีกิจอื่นๆ บ้าง ทว่า ไม่จำเป็นต้่องแย่งกิจของพระพุทธเจ้า ไม่จำเ็ป็นต้องทำหน้าที่แทนองค์พระศาสดา การทำหน้าที่ของพระอรหันตสาวก เพื่อแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักพระพุทธเจ้า ไปถึงยังพระพุทธเจ้า ก็พอ ไม่ต้องเอาตัวเองมาแทนองค์พระศาสดา เอาตัวเองขึ้นเป็นใหญ่ เป็นสำคัญ เป็นศูนย์กลาง โดยการอ้างพระศาสนาเืพื่อให้เกิดความน่าเลื่อมใส เช่นนี้ ก็หาไม่ นี่ไม่ใช่กิจของพระสาวก ดังนั้น คำว่า "ธรรมกิจ" จึงเป็นคำกว้างๆ ที่อธิบายถึง กิจต่างๆ ตามธรรมชาติของบุคคลทั้งหลาย ซึ่งเมื่อบุคคลมีธรรมแล้ว เข้าถึงธรรมแล้ว ย่อมจะมี "ธรรมกิจ" อันแตกต่างกันไป เืพื่อเกื้อกูลแก่สัตว์โลกทั้งหลาย แม้ไม่ใช่พระพุทธเจ้า ไม่มีกิจอย่างพระพุทธเจ้า ทว่า ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะกิจต่างๆ นั้น ไม่อาจปล่อยปละละเลยได้ เป็น "วิบากกรรม" ของเขาผู้นั้นที่ต้องกระทำกิจก่อน จึงหมดวิบากกรรมได้ เช่น พระสาวก ก็มีกิจบิณฑบาตร เป็นเนื้อนาบุญแก่ปวงสัตว์ ไม่ใช่จะปล่อยปละละเลยไม่กระทำกิจนี้ได้ เมื่อทำกิจจนหมดสิ้นแล้ว พระอรหันตสาวกจะนิพพานก็ได้ จึงค่อยนิพพานไป หลัง "ธรรมกิจ" สิ้นลง
อนึ่ง บุคคลสามารถรับวิบากกรรมได้สองแบบ คือ ๑. แบบไม่ต้องทำกิจ ๒. แบบการทำกิจ กล่าวคือ ถ้าบุคคลรับกรรมแบบไม่ต้องทำกิจ เพียงอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร วิบากกรรมก็มาถึงตัวเอง ตนเองเป็นแค่เพียง "ผู้ถูกกระทำเท่านั้น" วิบากกรรมนั้นก็ได้รับการชดใช้ หมดสิ้นไป ส่วนแบบที่สองนั้น เป็นแบบการชำระกรรมด้วยการกระทำกิจ อันเป็นกิจที่ตนอยากไม่ได้อยากทำ แต่ก็ต้องทำ ไม่ได้นิยมชมชอบ ก็ต้องทำ นี่ด้วยอำนาจแห่งวิบากกรรม ให้่้ต้องกระทำกิจเพื่อชำระวิบากกรรมเช่นนั้น เช่นนี้ บุคคลจะเป็นผู้กระทำกิจ มิใช่ผู้ถูกกระทำ แต่อาจเป็นกิจที่ถูกผู้อื่นสั่งให้ทำ บังคับให้ทำ หรือเป็นไปด้วยอำนาจแห่งวิบากกรรมให้ต้องกระทำ เพื่อชดใช้กรรม ชำระวิบากกรรมเท่านั้น หาใช่เพื่อสนองความต้องการส่วนตนเลย
อนึ่ง บุคคลสามารถรับวิบากกรรมได้สองแบบ คือ ๑. แบบไม่ต้องทำกิจ ๒. แบบการทำกิจ กล่าวคือ ถ้าบุคคลรับกรรมแบบไม่ต้องทำกิจ เพียงอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร วิบากกรรมก็มาถึงตัวเอง ตนเองเป็นแค่เพียง "ผู้ถูกกระทำเท่านั้น" วิบากกรรมนั้นก็ได้รับการชดใช้ หมดสิ้นไป ส่วนแบบที่สองนั้น เป็นแบบการชำระกรรมด้วยการกระทำกิจ อันเป็นกิจที่ตนอยากไม่ได้อยากทำ แต่ก็ต้องทำ ไม่ได้นิยมชมชอบ ก็ต้องทำ นี่ด้วยอำนาจแห่งวิบากกรรม ให้่้ต้องกระทำกิจเพื่อชำระวิบากกรรมเช่นนั้น เช่นนี้ บุคคลจะเป็นผู้กระทำกิจ มิใช่ผู้ถูกกระทำ แต่อาจเป็นกิจที่ถูกผู้อื่นสั่งให้ทำ บังคับให้ทำ หรือเป็นไปด้วยอำนาจแห่งวิบากกรรมให้ต้องกระทำ เพื่อชดใช้กรรม ชำระวิบากกรรมเท่านั้น หาใช่เพื่อสนองความต้องการส่วนตนเลย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น