อนึ่ง แนวคิด "ใบไม้หนึ่งกำมือ" นั้น เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะทรงกระทำได้ ด้วยเพราะทรงเข้าใจในวิสัยของสัตว์และทรงตรัสรู้ธรรมเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง จึงทรงเลือกธรรมแจกจ่ายให้บุคคลได้อย่างเหมาะสม ทว่า ภายหลังที่ท่านปรินิพพานไปแล้ว ฝ่ายมหายานที่พยายามคัดพระสูตร ๑ บท เลือกให้แก่ศิษย์ ก็ไม่อาจทำได้ดีดังพระพุทธเจ้า ทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือแม้แต่ฝ่ายเถรวาท ที่พยายามให้คนช่วยกันสวดท่องจำให้ได้มากๆ ก็ไม่อาจบรรลุธรรมได้อย่างแท้จริง เพราะขาดผู้ช่วยในการคัดกรองพระธรรมที่เหมาะสมกับบุคคลแต่ละบุคคล นั่นเอง อนึ่ง การศึกษาธรรมะนั้น "ควรเหมาะสมกับกำลังของตน" หากศึกษามากไป ไม่พอดี ไม่พอควรแล้ว ย่อมเกิดอาการ "เสพติดธรรม, หลงธรรม, หลงตัวเอง" ได้
ใบไม้หนึ่งกำมือ
ใบไม้หนึ่งกำมือ เป็นคำอุปมา หมายถึง "พระธรรม" จำนวนน้อยที่ถูกคัดเลือกโดยพระพุทธเจ้าแล้วว่าควรแสดงให้แก่ผู้ใด เพราะว่า "กำลัง" ของคนแต่ละคนนั้น รับธรรมได้ มาก น้อย ไม่เท่ากัน เหมือนกับการรับสื่อ ถ้ารับไม่เป็น รับมากไป เสพมากไป ก็จะกลายเป็นทาสของสื่อได้ การรับธรรมมากไป ก็เช่นกัน ทำให้หลงธรรม ติดธรรม หรือหลงตัวเองว่ารู้ธรรมมาก แต่ไม่ไ่ด้บรรลุธรรม ก็ได้ ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงคัดเลือกธรรมที่พอเหมาะ พอควร กับแต่ละคน เรียกว่า "ใบไม้หนึ่งกำมือ" นั่นเอง ทว่า ยังมีพระสาวกบางคน ไม่เข้าใจว่าเพราะเหตุใด พระพุทธเจ้าจึงไม่แสดงธรรมทั้งหมดแก่ตน หรือแสดงธรรมบางอย่างแก่คนบางคน แล้วไม่แสดงธรรมบางอย่างแก่คนบางคน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เหมาะสมแล้ว แต่ไม่มีพระสาวกรูปใด เข้าใจได้ ด้วยเพราะเป็น "สัพพัญญูญาณ" เฉพาะของพระพุทธเจ้า ที่จะทรงรู้ด้วยได้พระองค์เองว่าธรรมใดควรตรัสแสดงแก่ผู้ใด และธรรมใดไม่ควรตรัสแสดงแก่ผู้ใด เป็นต้น ภายหลัง พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานแล้ว จึงไม่มีผู้ใดคอยคัดเลือกธรรมเหล่านั้น ประกอบกับมีการสังคายนารวบรวมธรรม ทำให้มีธรรมมากมายที่ไม่มีผู้คัดสรรให้อย่างเหมาะสม พระสาวกล้วนเข้าถึงธรรมได้เอง ต่อมา ได้เกิด "ลัทธิเถรวาท" ขึ้น โดยมีหลักการคือ "การแบ่งปันกันสวดท่องจำ" เพื่อไม่ให้พระธรรมสูญหายโดยไม่มีผู้คัดเลือกธรรมที่เหมาะสมให้แต่ละบุคคลทำให้เกิด "ความหลงธรรม" และ "การเสพติดธรรม" ขึ้น ภายหลัง "ลัทธิมหายาน" มองเห็น "ปัญหาจุดนี้" จึงได้นำแนวคิด "ใบไม้หนึ่งกำมือ" กลับมาใช้ โดยจะทำการ "คัดเลือกพระสูตรเพียง ๑ บท" ที่คิดว่าเหมาะสมแล้ว ให้แก่ศิษย์ตามควร ไม่ได้มุ่งเน้นการศึกษาพระธรรมให้หมดทุกหมวดหมู่ก็หาไม่
อนึ่ง แนวคิด "ใบไม้หนึ่งกำมือ" นั้น เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะทรงกระทำได้ ด้วยเพราะทรงเข้าใจในวิสัยของสัตว์และทรงตรัสรู้ธรรมเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง จึงทรงเลือกธรรมแจกจ่ายให้บุคคลได้อย่างเหมาะสม ทว่า ภายหลังที่ท่านปรินิพพานไปแล้ว ฝ่ายมหายานที่พยายามคัดพระสูตร ๑ บท เลือกให้แก่ศิษย์ ก็ไม่อาจทำได้ดีดังพระพุทธเจ้า ทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือแม้แต่ฝ่ายเถรวาท ที่พยายามให้คนช่วยกันสวดท่องจำให้ได้มากๆ ก็ไม่อาจบรรลุธรรมได้อย่างแท้จริง เพราะขาดผู้ช่วยในการคัดกรองพระธรรมที่เหมาะสมกับบุคคลแต่ละบุคคล นั่นเอง อนึ่ง การศึกษาธรรมะนั้น "ควรเหมาะสมกับกำลังของตน" หากศึกษามากไป ไม่พอดี ไม่พอควรแล้ว ย่อมเกิดอาการ "เสพติดธรรม, หลงธรรม, หลงตัวเอง" ได้
อนึ่ง แนวคิด "ใบไม้หนึ่งกำมือ" นั้น เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะทรงกระทำได้ ด้วยเพราะทรงเข้าใจในวิสัยของสัตว์และทรงตรัสรู้ธรรมเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง จึงทรงเลือกธรรมแจกจ่ายให้บุคคลได้อย่างเหมาะสม ทว่า ภายหลังที่ท่านปรินิพพานไปแล้ว ฝ่ายมหายานที่พยายามคัดพระสูตร ๑ บท เลือกให้แก่ศิษย์ ก็ไม่อาจทำได้ดีดังพระพุทธเจ้า ทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือแม้แต่ฝ่ายเถรวาท ที่พยายามให้คนช่วยกันสวดท่องจำให้ได้มากๆ ก็ไม่อาจบรรลุธรรมได้อย่างแท้จริง เพราะขาดผู้ช่วยในการคัดกรองพระธรรมที่เหมาะสมกับบุคคลแต่ละบุคคล นั่นเอง อนึ่ง การศึกษาธรรมะนั้น "ควรเหมาะสมกับกำลังของตน" หากศึกษามากไป ไม่พอดี ไม่พอควรแล้ว ย่อมเกิดอาการ "เสพติดธรรม, หลงธรรม, หลงตัวเอง" ได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น