นิมนต์

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
นิมนต์ หมายถึง การเชิญให้พระสงฆ์กระทำกิจอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น การนิมนต์ให้่ไปฉันเพลที่บ้าน เป็นต้น ซึ่งพระสงฆ์สามารถพิจารณาแล้วรับหรือไม่รับคำเชิญนั้นๆ เป็นกิจนิมนต์ก็ได้ ถ้าพระสงฆ์รับแล้วก็จะต้องทำกิจนั้นๆ แต่ถ้าพระสงฆ์ไม่รับ ก็ไม่ต้องทำกิจนั้นๆ อนึ่ง คำว่า "ภิกษุ" หมายถึง "ผู้รับ" ไม่ใช่ "ผู้ขอ" ข้อนี้เป็นความแตกต่างจากขอทาน คือ ไม่ได้ทำกรรมร้องขอ, เรียกร้อง, เรี่ยไร, โฆษณาเชิญชวน ฯลฯ ให้ผู้ใดมาทำการให้ แต่ทำหน้าที่เป็นผู้รับ เดินบิณฑบาตรผ่านไปเฉยๆ ผู้ใดต้องการให้ทาน ทำทาน ก็สามารถทำได้ ผู้ใดไม่ต้องการทำทาน ไม่พร้อมทำทาน ก็ไม่จำเป็นต้องทำ นี่เรียกว่า "ผู้รับ" ซึ่งต่างจากความหมายของคำว่า "ผู้ขอ" ในการทำกิจอันเกี่ยวข้องกับทางโลกต่างๆ ก็เช่นกัน ภิกษุย่อมอยู่อย่างผู้รับ คือ หากมีผู้มานิมนต์ให้ภิกษุทำ ภิกษุย่อมสามารถพิจารณาได้ว่าจะรับหรือไม่รับกิจนิมนต์นั้น หากไม่รับ ก็สามารถแจ้งแก่ผู้นิมนต์ได้ว่าไม่รับ อีกประการ ศีลที่พระพุทธเจ้าให้ไว้ ก็สามารถนำมาใช้ในการปฏิเสธเพื่อไม่รับกิจบางประการได้ เช่น หากมีผู้มาบอกให้ภิกษุไปรบเพื่อชาติ ภิกษุย่อมอ้างศีลว่าตนไม่ฆ่าสัตว์ เพื่อไม่้ต้องรับกิจนั้นๆ ก็ได้ แต่มิใช่ ใช้เป็นข้ออ้่างเพื่อหนีหน้าที่ทางโลกแล้วหลบมาอยู่ทางธรรม ก็หาไม่


อนึ่ง การนิมนต์ให้ภิกษุทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้น ผู้นิมนต์จำต้องมีบารมีในการนิมนต์ด้วย ภิกษุจึงรับไว้เป็นกิจ ปกติหากเป็นกิจเล็กๆ ก็ไม่ยากนักที่จะนิมนต์ แต่หากเป็นกิจใหญ่ๆ เช่น การโปรดกษัตริย์ที่หลงตัวเองมาก ภิกษุบางรูปพิจารณาแล้ว อาจไม่รับเป็นกิจนิมนต์ก็ได้ ด้วยเห็นว่าไม่มีประโยชน์ หรือตนไม่อาจจะโปรดได้ เป็นต้น ทว่า ในการรับกิจนิมนต์นั้น นับเป็นการรับวิบากกรรมอย่างหนึ่งของภิกษุด้วย กล่าวคือ แทนที่ภิกษุจะอยู่รอรับวิบากกรรม ภิกษุก็ทำกิจนิมนต์นั้นเพื่อชำระวิบากกรรมไป ย่อมได้ผลเช่นกัน แต่หากภิกษุไม่ยอมรับกิจนิมนต์แล้ว ภิกษุจำต้องรับวิบากกรรมในรูปอื่นแทน ทั้งสองแนวทางนี้ส่งผลต่างกันกล่าวคือ  หากภิกษุไม่แน่ใจว่าการทำกิจตามนิมนต์นั้นตนจะรู้จริงหรือไม่? หากทำไปเกินขอบเขตหน้าที่ย่อมจะเกิดกรรมสืบชาติต่อภพต่อไป ทำให้ไม่นิพพานตามที่ต้องการได้ ภิกษุย่อมไม่รับกิจนิมนต์แล้วยอมรับวิบากกรรมไปดีกว่า แต่หากภิกษุเป็นผู้มีปัญญาแจ้งรู้ขอบเขตแห่งการกระทำกิจนิมนต์นั้นๆ อย่างดี ภิกษุย่อมรับกิจนิมนต์นั้นเพื่อชำระกรรม ใช้หนี้กรรมแก่ปวงสัตว์ได้ เช่นกัน โดยทำกิจอยู่ในขอบเขต ย่อมไม่ก้าวล่วงไปสู่การกระทำกรรมใหม่ๆ อันเป็นการสืบชาติต่อภพไปอีก และสามารถนิพพานได้ ดังที่ตนปรารถนา



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB