อนึ่ง ในการศึกษาพระพุทธศาสนา จึงควรแยกแยะให้ดี เพราะในประเทศไทย พราหมณ์และพุทธ ไม่ไ่ด้แยกจากกันอย่างชัดเจน มาแต่สมัยก่อนสุโขทัยแล้วพราหมณ์เรืองอำนาจมาก่อน อาณาจักรขอมโบราณก็นับถือพราหมณ์ฮินดู ผู้คนทั้งหลายก็นับถือกันเช่นนั้น ไม่อาจลบล้างให้หมดไปได้ และไม่จำเป็นต้องลบล้างออกไป แต่จำเป็นที่เราจะต้องศึกษาอย่างเข้าใจ และแยกแยะให้ออกจากกันให้ได้ จะได้ไม่สับสน และเข้าถึงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ไม่หลงใน "พิธีกรรมต่างๆ" ที่ถูกเสริมเพิ่มปรุงแต่งมาภายหลัง
พิธีกรรม
พิธีกรรม ในพระพุทธศาสนาและในศาสนาพราหมณ์ ดูเปลือกนอกแล้วคล้ายกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือเหมือนเป็นสิ่งร่วมกันในบางพิธี แท้แล้วไม่ใช่อย่างนั้น พิธีกรรมแบบพุทธนั้น มีไว้เพื่อให้รู้ร่วมกันและเป็นที่ยอมรับร่วมกันในการเริ่มต้นหรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จำเป็นต้องได้รับการรับรู้หรือยอมรับร่วมกัน เช่น การเปลี่ยนจากฆราวาสมาเป็นพระ เป็นต้น ดังนั้น พิธีกรรมแบบพุทธ จึงเป็นการกระทำแบบ "พอเป็นพิธี" เช่น การบวชพระ ในพระพุทธศาสนาดั้งเดิมแต่ครั้งพุทธกาล พระพุทธองค์ทรงให้ปลงผม "พอเป็นพิธี" ไม่ใช่การโกนจนเกลี้ยงอย่างสวยงามน่าศรัทธา จากนั้นท่านก็จะกล่าวเพียงว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิืด" แค่นั้น จบ เรียกว่า รับรู้กันแล้วว่าบุคคลผู้นั้นได้เป็นพระ อยู่ในกลุ่มของพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีพิธีรีตองอะไรมากมาย ภายหลัง คนไทยซึ่งมีความรู้ทางพราหมณ์ ได้นำเอาพิธีกรรมของพราหมณ์หลายพิธีกรรมเข้ามาผนวกไว้ด้วย เพื่อสนองความต้องการแบบพราหมณ์ กล่าวคือ พิธีกรรมของพราหมณ์จะมุ่งเน้นให้เกิดความน่าศรัทธา, รวมใจคน, จูงใจคน, จรรโลงใจคน, ดูขลัง, ดูศักดิสิทธิ์, ดูน่าเชื่อถือ หรือแม้แต่บางรายต้องการทำให้ดูยิ่งใหญ่เด่นดังเลยก็มี เช่น พิธีทำขวัญนาค ซึ่งเป็นพิธีกรรมของพราหมณ์โดยเฉพาะ ในพระพุทธศาสนาดั้งเดิมไม่มีพิธีกรรมนี้ แม้จะมีพุทธประวัติว่าพญานาคที่มาขอบวชเป็นพระ ได้เคยทูลขอต่อพระพุทธเจ้าว่าให้เรียกคนที่มาขอบวชว่า "นาค" ก็ตาม เป็นเพียงแค่การเรียกชื่อว่า "นาค" เฉยๆ ดั้งเดิมนั้น ยังไม่มีพิธีทำขวัญนาค แม้แต่ในบางประเทศเช่น อินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา ก็มีการบวชพระต่างไปจากในประเทศไทย แม้แต่การสวดมนต์เช้า สวดมนต์เย็น ก็ไม่มีในพุทธประเพณีดั้งเดิม แต่ได้เพิ่มเติ่มมาภายหลังโดยลัทธิเถรวาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พระสงฆ์ช่วยกันจดจำพระธรรมสืบต่อไป
อนึ่ง ในการศึกษาพระพุทธศาสนา จึงควรแยกแยะให้ดี เพราะในประเทศไทย พราหมณ์และพุทธ ไม่ไ่ด้แยกจากกันอย่างชัดเจน มาแต่สมัยก่อนสุโขทัยแล้วพราหมณ์เรืองอำนาจมาก่อน อาณาจักรขอมโบราณก็นับถือพราหมณ์ฮินดู ผู้คนทั้งหลายก็นับถือกันเช่นนั้น ไม่อาจลบล้างให้หมดไปได้ และไม่จำเป็นต้องลบล้างออกไป แต่จำเป็นที่เราจะต้องศึกษาอย่างเข้าใจ และแยกแยะให้ออกจากกันให้ได้ จะได้ไม่สับสน และเข้าถึงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ไม่หลงใน "พิธีกรรมต่างๆ" ที่ถูกเสริมเพิ่มปรุงแต่งมาภายหลัง
อนึ่ง ในการศึกษาพระพุทธศาสนา จึงควรแยกแยะให้ดี เพราะในประเทศไทย พราหมณ์และพุทธ ไม่ไ่ด้แยกจากกันอย่างชัดเจน มาแต่สมัยก่อนสุโขทัยแล้วพราหมณ์เรืองอำนาจมาก่อน อาณาจักรขอมโบราณก็นับถือพราหมณ์ฮินดู ผู้คนทั้งหลายก็นับถือกันเช่นนั้น ไม่อาจลบล้างให้หมดไปได้ และไม่จำเป็นต้องลบล้างออกไป แต่จำเป็นที่เราจะต้องศึกษาอย่างเข้าใจ และแยกแยะให้ออกจากกันให้ได้ จะได้ไม่สับสน และเข้าถึงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ไม่หลงใน "พิธีกรรมต่างๆ" ที่ถูกเสริมเพิ่มปรุงแต่งมาภายหลัง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น