การอ้างอิง ไม่ใช่ศัพท์ธรรมในอภิธรรม แต่จำเป็นต้องนำมาอธิบาย เพราะเนื่องจากปัจจุบัน มีผู้นิยมใช้การอ้างอิงมาก เช่น การอ้างอิงตำรา, การอ้างอิงครูบาอาจารย์, การอ้างอิงคำกล่าวของผู้มีชื่อเสียง ฯลฯ อนึ่ง การอ้างอิงเหล่านี้ ทำให้คำพูดดูน่าเชื่อถือมากขึ้น และบางอย่างก็ใช้ในวงการวิชาการ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับการสื่อสารนั้นๆ ทว่า ในพระพุทธศาสนาดั้งเดิมแท้ และแม้แต่พระพุทธเจ้าเอง ท่านจะไม่ใช้การอ้างอิงเพื่อสร้างความศรัทธาหรือความน่าเชื่อถือใดๆ เนื่องจาก ความเชื่อ, การยอมรับ ที่มาจากการอ้างอิงนั้น ไม่ใช่ "ศรัทธา" ที่แท้จริงในทางธรรม บุคคลจะเกิดศรัทธาแน่วแน่ตรงต่อผู้หนึ่งผู้ใดได้ ไม่ได้มาจากผู้นั้นอ้างอิงสิ่งอื่น เพื่อให้ตัวเองดูน่าเชื่อถือ แต่เป็นเพราะผู้นั้นเองที่สมควรได้นับความน่าเชื่อถือ หรือความศรัทธาโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านการอ้างอิงสิ่งใด อนึ่ง การอ้างอิง เป็นเรื่องทางโลกที่ไม่ได้เป็นความผิดอะไร เพียงแต่ในทางธรรม ในพระพุทธศาสนาดั้งเดิมแท้ สิ่งนี้ไม่ใช่ทางที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ, ความศรัทธาที่แท้จริง ซึ่งเกิดขึ้นด้วยกระแสวัฒนธรรมตะวันตกที่เพิ่งเข้ามาไม่นานมานี้
การอ้างอิงอาจจำเป็นต้องทำบ้างในการสื่อสาร แต่ไม่จำเป็นต้องทำตลอด หรือทำทุกครั้ง เช่น ในการเขียนบทความครั้งหนึ่ง อาจมีการอ้างอิงแค่ครั้งเดียวเฉพาะส่วนเนื้อหาที่จำเป็น ก็พอแล้ว ไม่จำเ็ป็นต้องอ้างอิงทุกคำพูด เช่น อ้างอิงว่าทุกตัวอักษรมาจากพระไตรปิฎก เพราะหากยึดติดอยู่เช่นนี้ ก็จะกลายเป็น "ทาสของตำรา" ที่ตนอ้างอิงนั้น คนเราคือ มนุษย์ มีทั้งความคิด, ความรู้สึก, ความจำ, ความเข้าใจ, ความเห็นที่แตกต่างกันไป ฯลฯ สามารถแสดงได้ทั้งหมดตามปกติวิสัยชนของมนุษย์ ที่พึงมี พึงได้ ตามที่ธรรมชาติสร้างให้มา เรามิใช่ "หุ่นยนต์" ที่ถูกโปรแกรมให้ "ต้องอ้างอิงทุกอย่างจากตำรา" ตำราันั้น ตำรานี้ ไม่จำเป็น กล่าวคือ จะอ้างอิงบ้างได้ แต่ไม่ใช่ว่าต้องอ้างอิงทุกครั้ง หรือมากเกินไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น