เหตุผล

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
เหตุผล คือ ธรรมอันเกื้อหนุนกันเกิดโดยมี "เหตุ" เป็นธรรมเริ่มต้นก่อให้เกิด "ผล" ที่ธรรมบั้นปลาย ในทางพุทธศาสนา "เมื่อเหตุดับไปจึงก่อให้่เกิดผล" เช่น เมื่อไฟใหม้ไม้มอดหมด ย่อมก่อให้เกิด, เถ้าธุลี ดังนั้น ผลคือ "เถ้าธุลี" ย่อมมาจากเหตุคือ "ไม้ที่ถูกไฟเผาใหม้" หากธรรมคู่ใดไม่เอื้อกันเกิดจากการดับลงของเหตุ สิ่งนั้นไม่นับว่าเป็น "เหตุและผล" ของกันและกัน เช่น กบร้องไม่ได้เป็นเหตุมาจากฝนจะตก การที่ฝนจะตกหรือไม่นั้น กบก็สามารถร้องได้ เพียงแต่กบมักร้องตอนฝนจะตกเท่านั้น และ "ฝนจะตก" ก็ไม่ได้ดับลงเพื่อทำให้ "กบร้อง" ก่อเกิด แต่อย่างใด ในกรณีนี้ ไม่เรียกว่าเป็น "เหตุและผล" ซึ่งกันและกัน แต่นับว่าเป็น "เหตุปัจจัย" ที่ปรุงประกอบร่วมในเหตุการณ์เดียวกันเท่านั้นเอง ดังนี้ ธรรมบางอย่่างจึงเป็นเหตุผลกัน ก็มี, ธรรมบางอย่างก็เป็นเหตุปัจจัยกันเท่านั้น หรือธรรมบางอย่างก็พ้นแล้วจากทั้งเหตุผลและเหตุปัจจัย อนึ่ง ธรรมคู่ใดที่นับเป็น "เหตุผล" กันได้นั้น "ธรรมส่วนผล" ย่อมอาศัย "ธรรมส่วนเหตุ" ในการก่อเกิด โดย "ธรรมส่วนเหตุ" ดับสิ้นลงไปก่อให้เกิด "ธรรมส่วนผล" ได้จึงนับว่าเป็น "เหตุผล" กันได้ ไม่ใช่แค่เหตุปัจจัย เช่น มรรคผลในทางธรรมนั้นเมื่อมี "มรรคเป็นเหตุ" สิ้นดับลงไปก่อให้เกิด "ผลทางธรรม" ขึ้นมาได้เป็นต้น แต่หากยังคงมีมรรคอยู่ไม่สิ้นสุด ยังไม่ดับลงไป ผลย่อมไม่เกิดขึ้นได้ นั่นคือ การเจริญมรรคนั้นยังไม่ถึงที่สุดแห่งมรรคนั้นๆ เมื่อถึงที่สุดแห่งมรรคนั้นๆ แล้ว แม้แต่มรรคย่อมไม่มี ดับสิ้นไป จึงเป็นผลเกิดขึ้นแทนที่ ดังนี้ "เหตุและผล" จึงเกิดพร้อมๆ ร่วมกันไม่ได้ ต่างจาก "เหตุปัจจัย" ที่จะเกิดขึ้นและดำีรงอยู่พร้อมๆ กัน เช่น ขันธ์ทั้งห้า ไม่ใช่เหตุผลของกันและกัน แ่ต่เป็น "เหตุปัจจัย" ปรุงแต่งร่วมกัน เกิดและดับร่วมกันได้ ดังนั้น หากปรารถนาผลใดให้เกิด จำต้องรอให้เหตุดับสิ้นลงก่อน แต่หากปรารถนาผลใดให้ดำรงอยู่ จำต้องปล่อยให้ "ปัจจัย" ร่วมดำรงอยู่ด้วย คำว่า "ดับที่เหตุ" เพื่อให้เกิดผลที่ปราถนา นั่นเอง มิใช่เพื่อไม่ให้ผลเกิด เช่น เมื่อมีทุกข์ ให้ดับที่เหตุแห่งทุกข์นั้น ก็เพื่อให้ "ผลคือความหลุดพ้นทุกข์" เกิดขึ้นจาก "เหตุแห่งทุกข์ดับ" นั่นเอง มิใช่ ปรารถนาไม่ให้ผลคือ "ทุกข์" เกิดขึ้นได้อีก เป็นนิจจังตลอดกาล ก็หาไม่ ("ความหลุดพ้นทุกข์" เกิดขึ้นแล้ว แม้ว่าทุกข์จะเกิดขึ้นอีกอย่างใดก็ตาม แต่บุคคลก็หลุดพ้นจากทุกข์นั้นแล้ว มิใช่ว่า "ทุกข์นั้นดับนิรันดร์กาล" ไม่เกิดขึ้นอีกเลย ห้ามหรือดับไม่ให้ทุกข์เกิดขึ้นอีกเลย ก็หาไม่)


ธรรมที่เอื้ออาศัยกันเกิดทั้งสองรูปแบบ คือ ๑. แบบเป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น ดอกไม้บานเกิดจากดอกไม้ตูมหมดสิ้นความตูมไป ๒. แบบเป็นเพียงเหตุปัจจัยปรุงแต่งร่วมกันเท่านั้น เช่น ฝนตกกับกบร้อง เหล่านี้ ล้วนยังวนเวียนอยู่ใน "ธรรมภาคเกิดดับ" ไม่หลุดพ้นจากการเกิดและดับ, ชาติและภพไปได้ ยังสามารถอธิบายได้ด้วยกฏของไตรลักษณ์คือ อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา ทว่า ยังมีธรรมที่พ้นแล้วจากการเกิด-ดับ ซึ่งก็คือ "นิพพาน" ซึ่งไม่อาจอธิบายได้ด้วยเหตุและผล, เหตุปัจจัยต่างๆ หรือแม้แต่กฏไตรลักษณ์



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB