อายตนะนิพพาน

วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556 0 ความคิดเห็น
อายตนะนิพพาน คือ "ธรรมชาติแห่งรูปธรรมที่รับรู้นิพพาน" ซึ่งบุคคลที่ได้รับรู้เรื่องของนิพพานครั้งแรก จะรู้ในระดับ "สุตมยปัญญา" และเมื่อเพียรพยายามทำนิพพานให้แจ้ง เขาย่อมเจริญวิปัสสนาพิจารณา "รูปนาม" ในธรรมทั้งหลายว่าไม่เที่ยง, ไม่ใช่ตัวตนของตน, ไม่อาจยึดมั่นได้ เพื่อปล่อยวางคลายอาการยึดติดในธรรมทั้งหลายแล้ว จึงพิจารณาเลยไปจนถึง "นิพพาน" เขาย่อมเห็นนิพพานในระดับ "รูปนาม" มีสองส่วนคือ "รูปนิพพาน" และ "นามนิพพาน" แยกกันอย่างนี้ อุปมาเหมือน บุคคลมองภาพสะท้อนของตัวเองในกระจกเงา นิพพาน นั้นจึงปรากฏเป็นสองส่วนแยกกัน เหมือนภาพสะท้อนและบุคคลผู้มองฉะนั้น อุปมา "อายตนะนิพพาน" ก็คือ "ผู้มองภาพสะท้อนของนิพพาน" (ฝ่ายนาม) และนิพพานคือ "ภาพสะท้อนที่ถูกมอง" (ฝ่ายรูป) ยังมิใช่นิพพานแท้ อันมีเพียง ๑ เดียว ตราบเมื่อหลุดพ้นแล้วจากทั้งรูปและนามแห่งนิพพาน ย่อมแจ้งแทงตลอดเข้าถึงนิพพาน ๑ เดียวอย่างแท้จริง ซึ่งจะเกิดได้เมื่อ "นาม" หรือ ฝ่ายผู้มองนิพพาน นั้น "นิพพาน" ไปด้วย หรือที่เรียกว่า "มโนธาตุนิพพาน" นั่นเอง ทั้งนี้ นาม ผู้มองนิพพานในที่นี้ ย่อมเรียกได้ว่าเป็น "อาตนะนิพพาน" ด้วยเพราะเป็นเครื่องรับรู้นิพพานได้ นั่นเอง อุปมาดั่ง อาตนะทั้งหก ได้แก่ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, ผิวกาย, ใจ ย่อมรับรู้ธรรมชาติทั้งหลายได้ฉันใด "อายตนะนิพพาน" ก็รับรู้นิพพานได้ฉันนั้นเหมือนกัน ทว่า "นิพพานนั้นละเอียดอ่อน" มิอาจรับรู้ได้ด้วย "อายตนะหกปกติ" จะรับรู้ได้จาก "อายตนะนิพพาน" โดยเฉพาะเท่านั้น บางท่านกล่าวอีกว่า "ธรรมกาย คือ อายตนะนิพพาน" หรือก็คือ ถ้าบุคคลบรรลุถึง "ธรรมกาย" แล้ว ย่อมอาศัยธรรมกายนั้น ในการรับรู้นิพพาน ได้เหมือนอายตนะหนึ่ง แ่ต่ถ้่าบุคคลยังไม่บรรลุถึงธรรมกาย ย่อมไม่อาจรับรู้ถึงนิพพานได้ เพราะไม่มีอายตนะนิพพาน ที่จะรับรู้ นั่นเอง


ดังนั้น ในการเจริญอินทรีย์ห้าให้กล้าแกร่งพอรับธรรมนั้น เมื่อพิจารณา "กายในกาย" แล้ว จึงพิจารณาว่า "หากกายในกายเจริญดีถึงขั้นธรรมกาย" เมื่อใด ย่อมพร้อมน้อมรับธรรมแล้วบรรลุธรรมได้ แต่ถ้าไม่ได้เจริญถึงธรรมกายแล้ว ย่อมไม่อาจพร้อมน้อมรับธรรมได้ เพราะไม่มี "ธรรมกายเป็นอายตนะนิพพาน" นี่เอง การเจริญอินทรีย์ห้าจนถึงขั้นสำเร็จ "ธรรมกาย" นั้น จึงอุปมาเหมือนการหล่อเหลี้ยงดอกบัวให้เติบใหญ่จนถึงขั้น "บัวบาน" แล้ว พร้อมน้อมรับแสงธรรมเข้าสู่ใจกลางดอกบัว แต่หากดอกบัวบานแล้ว ไม่มีแสงธรรมส่องถึงได้ บุคคลนั้น ก็ย่อมไม่อาจเรียกได้ว่า "พระอรหันต์" เช่นกัน ดังนี้ ผู้บรรลุธรรมกายจึงมีความพร้อมรับธรรมแล้วบรรลุอรหันต์ทันที แต่หากยังไม่ได้รับธรรม ก็ไม่อาจเรียกได้ว่า "อรหันต์" เช่นกัน หรือกล่าวง่ายๆ อีกอย่างก็คือ ผู้บรรลุธรรมกาย ก็คือ บรรลุพุทธสภาวะ (วัชร-ตันตระ) มีญาณหยั่งรู้ได้ถึงนิพพานได้ด้วยตนเอง แต่ยังมี "สักกายทิฐิ" อยู่ ที่ต้องขจัด และผู้ที่จะขจัดให้ได้มีเพียง "พระพุทธเจ้า" เท่านั้น ดังนั้น ผู้บรรลุพุทธสภาวะ (ธรรมกาย) แล้ว จึงเหมือนดอกบัวบานแล้วรอแต่แสงธรรมเท่านั้นเอง ในขณะที่พระอรหันตสาวกที่ไม่ถึงขั้นธรรมกาย (พุทธสภาวะ) ย่อมไม่อาจหยั่งถึงนิพพานได้เอง (ผู้ไม่มีอายตนะนิพพาน) แต่อาศัยอาสวักขยญาณร่วมกับความศรัทธา เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า ย่อมจะถึงซึ่งพระนิพพานได้ด้วยเช่นกัน แม้ไม่มีพระธรรมกายเป็นอายตนะนิพพานก็ตาม ก็บรรลุอรหันต์ได้



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB