อวิชชา

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555 0 ความคิดเห็น
อวิชชา หมายถึงความไม่รู้แจ้งในนิพพานอันเป็นธรรมขันธ์ตัวแรกในวงจรปฏิจสมุปบาทก่อนที่จะเกิดเป็น  "สังขาร" (สังขารหมายถึงธรรมอันเกิดจากการปรุงแต่ง) ดังนั้น อวิชชาึ จึงเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ ก่อนจะถูกปรุงแต่งแล้วเกิดเป็น "สังขาร" ขึ้นมาภายหลัง กล่าวคือ ธรรมที่บริสุทธิ์มาแต่เดิมนั้น ด้วยเพราะความไม่รู้แจ้งในนิพพาน จึงทำให้ถูกปรุงแต่งไป เกิดเป็นสังขารธรรมขึ้นมา นั่นเอง ดังนั้น อวิชชาจึงบริสุทธิ์ ไม่ใช่กิเลสอันเป็นธรรมที่ถูกปรุงแต่งแล้ว (อวิชชาย่อมแตกต่างจากกิเลส เช่นนี้) หรืออีกนัยหนึ่ง อวิชชานั้น ไม่ ใช่ความโลภ, ความโกรธ, ความหลง อะไรเลย เป็นธรรมอันบริสุทธิ์แต่ฝ่ายเดียว เพียงแต่เพราะไม่รู้แจ้งในนิพพานเท่านั้นเอง จึงยังนับเป็น "อวิชชา" อุปมาเหมือนคนโง่ ใสซื่อบริสุทธิ์ไม่รู้อะไรเลยแล้วถูกเพื่อนสามคนที่ชื่อว่า "โลภ, โกรธ, หลง" ล่อลวงไป นั่นเอง ดังนั้น อวิชชาจึงไม่ใช่เรื่องของไสยเวท์มนต์ดำ ซึ่งไสยเวทย์มนต์ดำทั้งหลายนั้นไม่มีภาวะบริสุทธิ์ มีแต่การปรุงแต่งมากมาย มีสังขารธรรมแล้วทั้งสิ้น จึงไม่อาจเรียกว่า "อวิชชา" ได้ สิ่งที่จะมีภาวะเรียกว่า "อวิชชา" ได้ มีเพียงสิ่งเดียวก็คือ "ธรรมบริสุทธิ์" เช่น พระธรรม ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ นับเรียกได้ว่า "อวิชชา" เพราะอะไร? เพราะธรรมเหล่านี้เมื่อจิตทะลวงผ่านการปรุงแต่งด้วย "สังขารธรรม" (จึงเรียกว่า "ธรรมขันธ์" มาจาก "ธรรมะ + ขันธ์" คือ ใส่ขันธ์ลงในธรรม ขันธ์อะไร ก็คือ "สังขารขันธ์" นั่นเอง จำต้องปรุงแต่งด้วยถ้อยคำ, ภาษา, ศัพท์ต่างๆ เพื่อการสื่อสารให้เข้าใจ)  จึงถึงธรรมแท้ที่บริสุทธิ์นั้นแล้วย่อมเห็นว่ามี "อวิชชา" เป็นพื้นฐานก่อนจึงมีสังขารได้ (ตามปฏิจสมุปบาท กล่าวว่าเพราะมีอวิชชาจึงมีสังขารได้) หรือต้องมี "ธรรมอันบริสุทธิ์ก่อนจะปรุงแต่ง" (อวิชชา) มาเป็นราก เป็นเหง้าให้มันก่อน จึงจะงอกเงยขึ้นต้น เกิดเป็น "สังขารธรรม" อันมี "นามรูป" (เริ่มมีคำเรียกใช้) เป็นกิ่งก้านสาขาต่อไป แม้แต่ "จิตประภัสสร" อันบริสุทธิ์นั้นเล่า ก็ไม่ต่างกัน ล้วนมีรากเหง้ามาจากอวิชชาทั้งสิ้น


ดังนี้ บางท่านจึงกล่าวถึง "ธรรมที่ไม่อาจอธิบายได้ ไม่อาจเอื้อนเอ่ยเ็ป็นคำศัพท์ วจีสื่อสารใดๆ ได้" หรือ "ธรรมแบบจิตสู่จิต" ก็ดี อันเป็นธรรมที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป ทะลวงลึกกว่า "ขันธ์แห่งธรรม, นามรูปแห่งธรรม, สังขารธรรม" ไปสิ้นขาดแล้ว อันเป็นธรรมไร้อักษร, ไร้บัญญัติ, ไร้สมมุิติ, ไร้การอธิบาย ฯลฯ นั่นเอง และถ่ายทอดได้จาก "จิตสู่จิต" เพียงเท่านั้น ไม่อาจถ่ายทอดผ่าน "วาจา" หรือ "ตำรับตำราใดๆ" ได้ ด้วยสิ่งที่ถ่ายทอดผ่านอายตนะรับรู้ปกติของมนุษย์นั้น ย่อมเป็นเพียง "ผัสสะ" หรือ "ผลจากการรู้ด้วยวิญญาณขันธ์ปรุงแต่งไป" เท่านั้น มิใช่การรู้ที่บริสุทธิ์ ย่อมเป็นการรู้ระดับสังขาร ย่อมเป็น "สังขารธรรม" ย่อมเป็นธรรมอันมีขันธ์อยู่ครอง บุคคลผู้ได้เข้าใจแล้วย่อมได้เพียง "สุตมยปัญญา" มิใช่ "ภาวนามยปัญญา" ไม่ใช่การรู้แจ้ง เกิดปัญญาทางธรรมแท้จริง แต่อย่างใด เป็นเพียงความรู้ในระดับโลกแต่เนื้อหาเกี่ยวกับธรรมเท่านั้นเอง ด้วยเหตุนี้ "การรู้" ใดๆ ทั้งมวลล้วนคือ "ผัสสะ" อันเป็นผลมาจากการกระทบกันของอายตนะและสิ่งที่ถูกรู้ (สฬายตนะ) อันเป็นธรรมที่เกิดล่วงเลยไปไกลแล้วหลังจากถูกปรุงแต่ง (สังขาร) ยิ่งรู้มากจึงยิ่งยึดถือมาก ยิ่งได้ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์มาก ยิ่งมีขันธ์มาก เพิ่มเป็น ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ บางท่านแก้ตัวว่า "รู้แล้ววาง" แท้แล้วแม้แต่การวาง ก็คือ ผลหลังจากการปรุงแต่ง ปรุงแต่งว่าอะไร? ปรุงแต่งว่ามันไม่ใช่นิพพาน มันต้องวาง ก็เลยต้องวาง นั่นแหละ เพราะการปรุงแต่ง ดังนั้น การวางในที่นี้จึงเ็ป็นการก่อกรรมอย่างหนึ่ง   อันเป็นผลมาจาก "สังขาร" ที่จิตปรุงแต่งไปว่ามันต้องวาง เพราะมันไม่ใช่นิพพาน นั่นเอง นี่ก็อวิชชา!



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB