สัมมาทิฏฐิ

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555 0 ความคิดเห็น
สัมมาทิฏฐิ คือ ความคิดเห็นที่เป็นกลาง ตรงต่อธรรม ไม่เอนเอียงไปเพราะความรักหรือชัง, อคติหรือฉันทาคติ ด้วยมีจิตศรัทธาตรงต่อพระพุทธ, พระธรรม, พระอริยสงฆ์แท้แล้วเข้าถึงซึ่งมรรคแปดประการแรก จึงมี "สัมมาทิฏฐิ" เป็นผล ในพระอริยบุคคลขั้นต้น คือ "พระโสดาบัน" ย่อมมีปัญญาแจ้งและเข้าสู่มรรคแปดนี้ได้เต็มที่เพียง ๕ องค์ธรรม คือ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, และสัมมาอาชีวะ คือ ความคิดเห็นชอบ, การดำริชอบ (ตั้งใจ-ตั้งเจตนาทำสิ่งใดๆ), เอ่ยอาจาชอบ, การกระทำชอบ และอาชีพชอบ เมื่อได้เข้าสู่ธรรมที่ลึกซึ้งขึ้น บรรลุเป็นพระอริยบุคคลขั้นสูงขึ้น ก็จะเข้าสู่มรรคมีองค์แปดในลำดับถัดด้วย อนึ่ง ปวงสัตว์ที่มี "ความคิดเห็นชอบ" (สัมมาทิฏฐิ) โดยธรรมชาตินั้นก็มีอยู่ ซึ่งมีคำเรียกว่า "เทวดาฝ่ายสัมมาทิฏฐิ" หรือ เหล่าเทพทั้งหลาย (ส่วนเทวดาฝ่ายมิจฉาทิฏฐิคือ มาร นั่นเอง) กล่าวคือ ท่านที่เป็นฝ่ายสัมมาทิฏฐินี้ ล้วนสร้างบุญกรรมมาแต่ปางก่อน ทำให้ได้เสวยบุญเป็นฝ่ายสัมมาทิฏฐิ ดังนั้น "สัมมาทิฏฐิ" นี้ จึงเกิดได้ด้วยอำนาจแห่งผลบุญด้วย แต่ท่านจะได้เพียงมรรคแปดองค์แรก ยังไม่ได้มรรคแปดองค์ต่อๆ ไป เช่น สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น ดังนั้น แม้จะมีความคิดเห็นสอดคล้องตรงต่อธรรม แต่อาจมีการดำริำ, คิดจะทำ, เจตนากระทำ ฯลฯ ในทางที่ไม่ตรงนิพพานได้ เช่นกัน หากยังไม่ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล ทั้งนี้ นอกจากเทวดาแล้ว มนุษย์ก็อาจมีคนที่มี "สัมมาทิฏฐิ" โดยธรรมชาติได้เช่นกัน แต่มีน้อยกว่าเหล่าเทวดา หรือแม้แต่ในสัตว์ที่ต่ำกว่ามนุษย์ ก็มีกลุ่มที่เป็นสัมมาทิฏฐิได้ ทว่า ด้วยผลกรรมที่ทำให้เกิดในภพต่ำกว่ามนุษย์ จึงไม่อาจรับฟังธรรมแล้วบรรลุมรรคผลได้ นั่นเอง


สัมมาทิฏฐินี้ เป็นความคิดเห็นชอบ อันน้อมตรงต่อธรรม เป็นกลางไม่เอนเอียงไปด้วยความรัก, ความชัง จะเกิดขึ้นได้เมื่อบุคคลมี "ศรัทธาตรงต่อผู้มีธรรมแท้" เสียก่อน หรือมีศรัทธาต่อเจ้านายของตน ซึ่งเจ้านายนั้นมีศรัทธาตรงต่อผู้มีธรรมแท้อีกที เช่นนี้ ก็จัดเข้าอยู่ในกลุ่มของสัมมาทิฏฐิได้เ่ช่นกัน ดังนั้น การที่เราจะศรัทธาใครนั้น จึงควรพิจารณาให้มาก เพราะมีผลต่อจิตใจของเราให้มีสัมมาทิฏฐิหรือมิจฉาทิฏฐิ ในบางครั้ง "หากเราใจง่าย รักและศรัทธาคนง่ายเกินไป" โดยไม่ได้พิจารณาให้รอบคอบว่าบุคคลผู้นั้นแม้มีคุณงามความดีมากมายเป็นที่ประจักษ์ก็จริง แต่เขาอาจไม่ได้มีจิตตรงต่อผู้มีธรรมเลย (เช่น จิตศรัทธาแต่ตนเองเท่านั้น ไม่ได้ศรัทธาตรงต่อพระพุทธเจ้าจริงๆ แม้เปลือกนอกจะดูเหมือนว่าศรัทธาพระพุทธเจ้ามากมายก็ตาม) ย่อมส่งผลให้เรากลายเป็นกลุ่มที่ไม่ใช่ฝ่ายสัมมาทิฏฐิไปด้วย ทั้งปวงสัตว์ทั้งหลายที่แห่ศรัทธาบุคคลผู้นั้น ตามๆ กันไป ก็ล้วนไม่ไ่ด้อยู่ในกลุ่มสัมมาทิฏฐิด้วย เมื่อมีผู้มีธรรม แสดงธรรมอะไรให้พวกเขาๆ ก็ย่อมตามืดบอด มองไม่เห็นธรรม โดยอาจติดเพียงเปลือกนอกว่าผู้แสดงธรรมนั้น ไม่น่าเชื่อถือ, ไม่น่าศรัทธา, มีเปลือกนอกที่ดูไม่ดี ด้วยยึดมั่นศรัทธาในนายของตนผู้มิใช่ฝ่ายสัมมาทิฏฐินั้น ดังนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงเลือกสัตว์ก่อนโปรดหรือแสดงธรรม ด้วยเพราะ "ธรรมชาติพื้นฐาน" บางอย่าง อันมีมาด้วยเหตุแห่งบุญทำกรรมแต่ง ทำให้สัตว์เหล่านั้น เป็นฝ่ายสัมมาทิฏฐิ หรือฝ่ายมิจฉาทิฏฐิ ทั้งนี้ ยังมีสัตว์บางเหล่าที่มีจิตตรงต่อผู้มีธรรมแท้ แต่ด้วยอำนาจแห่งกรรมตัดรอน ทำให้มีระดับจิตวิญญาณต่ำเกินไป กว่าที่จะโปรดได้ เ่ช่น ยักษ์ เป็นต้น (อสูร มีสองกลุ่ม ๑. กลุ่มอสูรสัมมาทิฏฐิ เรียกว่า "ยักษ์" ๒. อสูรกลุ่มมิจฉาทิฏฐิ เรียกว่า "อสุรกาย") หรือแม้แต่เหล่าเทพเอง ปกติแล้ว ได้เกิดเป็นฝ่ายสัมมาทิฏฐิ แต่เมื่อใดที่ทำผิดกฏสวรรค์แล้วไม่ยอมรับกฏสวรรค์ ไม่รับการลงทัณฑ์หนีจากสวรรค์ลงมาตั้งตัวอยู่เอง ไม่ยอมขึ้นตรงต่อเจ้าสวรรค์ ย่อมกลายเป็น "เทพฝ่ายมืด" ซึ่งก็ไม่ใช่กลุ่ม "สัมมาทิฏฐิ" อีกต่อไป แม้จะมีกายทิพย์เป็นเทพก็ตาม ดังนี้แล้ว การพิจารณาปวงสัตว์จึงต้องมีฌานอันละเอียด จึงจะแยกแยะฝ่ายสัมมาทิฏฐิได้


    

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

 

©Copyright 2011 Mouth Buddha | TNB