อนึ่ง ในสมัยพุทธกาล ยังมีพระพุทธเจ้าที่ทรงขันธ์อยู่ บุคคลใดได้ยินข่าวการเกิดและตรัสรู้ของท่าน ก็ไปหาท่านได้ เมื่อเกิดศรัทธาได้ฟังธรรมมีจิตตรงเกิด "สัมมาทิฐิ" ได้ง่าย เมื่อพระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานไปแล้ว บุคคลทั้งหลายไม่อาจไปหาท่านได้โดยตรงอีก แม้ผู้คนมากมายจะศรัทธาในคำว่าพระพุทธเจ้า แต่หากจิตของเขาไม่ตรงทางจริง ก็เหมือนบุคคลที่ได้ยินข่าวการเกิด, การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แต่ไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าอยู่หนใด เดินท่องไปหา "ผิดที่ผิดทาง" แล้วคิดเอาว่าตนเองมาทางถูกแล้ว ได้พบท่านแน่แล้ว (เพราะคิดว่าเพียงแค่เชื่อในคำว่าพระพุทธเจ้า แล้วย่อมตรงทาง ไม่มีผิด) ก็อาจประมาทพลาดพลั้งหลงทางได้ ไม่ต่างอะไรกับ "กามนิต" ที่ได้ฟังธรรมจากพระโอษฐ์ของพระพุทธองค์แล้วไม่ได้บรรลุธรรมอันใด ด้วยเพราะจิตของเขายึดมั่นแต่คำว่า "พระพุทธเจ้า" จะเชื่อ, จะไปหา, จะไปฟังธรรม จากพระพุทธองค์เท่านั้น และคิดว่ารุ่งเช้าจะไปหาพระพุทธเจ้าตามข่าวที่ตนได้รับมา หรือใครอีกมากมายหลายคนที่เป็นเ่ช่นนี้ จิตใจคิดว่าศรัทธาตรงต่อพระพุทธเจ้าแล้ว แต่กลับไม่ต่างจากกามนิต คิดว่าตนได้ธรรม ได้บรรลุแล้ว ทั้งยังนำพาปวงสัตว์มากมายให้ตามตนมาอีกโดยมาก บุคคลเหล่านั้นเมื่อหลงเดินตามกันไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าที่แท้จริงที่ตนบอกว่าศรัทธานั้นเป็นอย่างไร สุดท้าย จึงได้รับผลไม่ต่างจากกามนิตนั่นเอง
ศรัทธา
ศรัทธาแปลตรงๆ ก็หมายถึง "ความเชื่อ" แต่หากมองหลายๆ มุมก็จะได้รายละเอียดอันบ่งบอกถึงลักษณะของ "ศรัทธา" ในอีกหลายแง่มุม ได้แก่ ความนิยม-ชื่นชม, ความไว้วางใจ, การเปิดใจรับ-การยอมรับ ฯลฯทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อ "ก้าวข้ามความไม่รู้" ที่ไม่อาจเข้าถึงได้ด้วยปัญญาของตน ก็ดี, ไม่อาจพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ด้วยวิธีการอื่นใด ก็ดี, ไม่อาจใช้เหตุผลหรือตรรกะใดสนับสนุนได้ ก็ดี, ไม่อาจหาข้อมูลใด ทำให้ดูน่าเชื่อถือได้ ก็ดี แต่ "ศรัทธา" นั้น ก็ทำให้บุคคลก้าวข้ามขีดจำกัดหรืออุปสรรคที่ขัดขวางเหล่านี้ไปได้ ก็ด้วยศรัทธานั้นๆ โดยเมื่อเกิดศรัทธาแล้ว จะทำให้บุคคลเปิดใจรับฟัง, ยอมรับ และเชื่อโดยง่าย ดังนั้น คำว่าศรัทธา จึงไม่มีในมรรคแปดโดยตรง ไม่มีแยกว่า "สัมมาศรัทธา" เหมือนกับพละห้าบางตัว (เช่น วิริยะ, สติ, สมาธิ) นั่นหมายความว่า "ศรัทธา" ในทางโลก ก็ใช้ได้กับทางธรรมเช่นกัน เหมือนกัน ไม่ต่างกัน ต่างกับก็เพียงแต่ว่า "ศรัทธาอะไร, ศรัทธาใคร" ก็เท่านั้น อุปมาเหมือนการยิงธนูก็ต้องมีการเล็งเป้า ถ้าเล็งเป้าตรง (ศรัทธาตรงคน, ตรงเรื่อง, ตรงทาง) โอกาสยิงถูกเป้าย่อมสูงแต่ถ้าศรัทธาไม่ตรงแล้ว ย่อมพลาดเป้าแน่นอน อนึ่ง แม้ว่าศรัทธาจะไม่ต่างกันในความหมายทางโลกและทางธรรมดังธรรมตัวอื่น ทว่า ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากอย่างยิ่ง ดังที่กล่าวไว้แล้วว่าเหมือนการเล็งเป้าธนู นั่นเอง คนที่เล็งตรงเป้า แม้มีกำลังแขนในการยิงธนูไม่มาก แต่โอกาสเข้าใกล้เป้าก็ยังมากกว่าคนที่มีกำลังมาก แต่เล็งไปผิดทาง ดังนั้น ศรัทธาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถึงขั้นกำหนดวาระนิพพานของบุคคลได้เลย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าท่านศรัทธาพระโพธิสัตว์ที่จะได้ตรัสรู้ลำดับที่หนึ่ง ท่านก็มีโอกาสสูงที่จะได้นิพพานในยุคที่หนึ่งนั้นด้วย แต่ถ้าท่านหลงศรัทธาพระโพธิสัตว์ที่จะตรัสรู้เป็นลำดับที่ห้าหรือหกเข้า ท่านอาจจะต้องรอไปอีกเป็นกัปเลยทีเดียว กว่าที่ท่านจะได้นิพพาน (ระหว่างนั้น ท่านยังอาจตกนรกได้ ไม่รู้อีกกี่ชาติ) ดังนี้ ศรัทธาจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นธรรมตัวแรกที่จะนำทางบุคคลไปสู่ "สัมมาทิฐิ" ได้ หากบุคคลนั้นศรัทธาตรงต่อผู้มีธรรมอันแท้จริง
อนึ่ง ในสมัยพุทธกาล ยังมีพระพุทธเจ้าที่ทรงขันธ์อยู่ บุคคลใดได้ยินข่าวการเกิดและตรัสรู้ของท่าน ก็ไปหาท่านได้ เมื่อเกิดศรัทธาได้ฟังธรรมมีจิตตรงเกิด "สัมมาทิฐิ" ได้ง่าย เมื่อพระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานไปแล้ว บุคคลทั้งหลายไม่อาจไปหาท่านได้โดยตรงอีก แม้ผู้คนมากมายจะศรัทธาในคำว่าพระพุทธเจ้า แต่หากจิตของเขาไม่ตรงทางจริง ก็เหมือนบุคคลที่ได้ยินข่าวการเกิด, การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แต่ไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าอยู่หนใด เดินท่องไปหา "ผิดที่ผิดทาง" แล้วคิดเอาว่าตนเองมาทางถูกแล้ว ได้พบท่านแน่แล้ว (เพราะคิดว่าเพียงแค่เชื่อในคำว่าพระพุทธเจ้า แล้วย่อมตรงทาง ไม่มีผิด) ก็อาจประมาทพลาดพลั้งหลงทางได้ ไม่ต่างอะไรกับ "กามนิต" ที่ได้ฟังธรรมจากพระโอษฐ์ของพระพุทธองค์แล้วไม่ได้บรรลุธรรมอันใด ด้วยเพราะจิตของเขายึดมั่นแต่คำว่า "พระพุทธเจ้า" จะเชื่อ, จะไปหา, จะไปฟังธรรม จากพระพุทธองค์เท่านั้น และคิดว่ารุ่งเช้าจะไปหาพระพุทธเจ้าตามข่าวที่ตนได้รับมา หรือใครอีกมากมายหลายคนที่เป็นเ่ช่นนี้ จิตใจคิดว่าศรัทธาตรงต่อพระพุทธเจ้าแล้ว แต่กลับไม่ต่างจากกามนิต คิดว่าตนได้ธรรม ได้บรรลุแล้ว ทั้งยังนำพาปวงสัตว์มากมายให้ตามตนมาอีกโดยมาก บุคคลเหล่านั้นเมื่อหลงเดินตามกันไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าที่แท้จริงที่ตนบอกว่าศรัทธานั้นเป็นอย่างไร สุดท้าย จึงได้รับผลไม่ต่างจากกามนิตนั่นเอง
อนึ่ง ในสมัยพุทธกาล ยังมีพระพุทธเจ้าที่ทรงขันธ์อยู่ บุคคลใดได้ยินข่าวการเกิดและตรัสรู้ของท่าน ก็ไปหาท่านได้ เมื่อเกิดศรัทธาได้ฟังธรรมมีจิตตรงเกิด "สัมมาทิฐิ" ได้ง่าย เมื่อพระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานไปแล้ว บุคคลทั้งหลายไม่อาจไปหาท่านได้โดยตรงอีก แม้ผู้คนมากมายจะศรัทธาในคำว่าพระพุทธเจ้า แต่หากจิตของเขาไม่ตรงทางจริง ก็เหมือนบุคคลที่ได้ยินข่าวการเกิด, การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แต่ไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าอยู่หนใด เดินท่องไปหา "ผิดที่ผิดทาง" แล้วคิดเอาว่าตนเองมาทางถูกแล้ว ได้พบท่านแน่แล้ว (เพราะคิดว่าเพียงแค่เชื่อในคำว่าพระพุทธเจ้า แล้วย่อมตรงทาง ไม่มีผิด) ก็อาจประมาทพลาดพลั้งหลงทางได้ ไม่ต่างอะไรกับ "กามนิต" ที่ได้ฟังธรรมจากพระโอษฐ์ของพระพุทธองค์แล้วไม่ได้บรรลุธรรมอันใด ด้วยเพราะจิตของเขายึดมั่นแต่คำว่า "พระพุทธเจ้า" จะเชื่อ, จะไปหา, จะไปฟังธรรม จากพระพุทธองค์เท่านั้น และคิดว่ารุ่งเช้าจะไปหาพระพุทธเจ้าตามข่าวที่ตนได้รับมา หรือใครอีกมากมายหลายคนที่เป็นเ่ช่นนี้ จิตใจคิดว่าศรัทธาตรงต่อพระพุทธเจ้าแล้ว แต่กลับไม่ต่างจากกามนิต คิดว่าตนได้ธรรม ได้บรรลุแล้ว ทั้งยังนำพาปวงสัตว์มากมายให้ตามตนมาอีกโดยมาก บุคคลเหล่านั้นเมื่อหลงเดินตามกันไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าที่แท้จริงที่ตนบอกว่าศรัทธานั้นเป็นอย่างไร สุดท้าย จึงได้รับผลไม่ต่างจากกามนิตนั่นเอง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น