การ "ดูจิต" มิใช่ดูเพียงอาการของจิต เพราะการดูอาการของจิตนั้น เป็นการ "ดูเจตสิก" ต่างหาก นอกจากนี้ การดูจิตแล้วเห็น "จิตประภัสสร" แม้เ็ห็นถูกถึง "จิต" แล้ว ไม่หลงเจตสิกแล้ว ก็ตาม แต่ก็ยังไม่เห็น "จิตในจิต" อยู่ดี ยังต้องทะลุทะลวงให้พ้น "จิต" ทำให้แจ้งไป ทำให้บรรลุไป มิใช่แค่เห็น หรือแค่ตามรู้ การที่เราแค่เห็นแล้วสักแต่ว่าเห็นมันจึงเป็นเพียง "ผัสสะ" รับรู้สิ่งที่เข้ามากระทบเท่านั้น ต่อให้รับรู้ได้ถึงนิพพาน ก็เป็นเพียง "ผัสสะ" อยู่ดี คือ ผัสสะเข้ากับนิพพาน, รับรู้นิพพาน, เห็นนิพพาน, รับอารมณ์นิพพาน, เสพอารมร์นิพพาน ฯลฯ แต่มิใช่ "บรรลุแจ้งในนิพพาน" นั้น อุปมาดั่ง มือกระบี่แทงตรงหัวใจศัตรู แต่มิได้ทิ่มทะลุลงไป เพียงแต่จรดจ่ออยู่ตรงหัวใจศัตรูนั้น ย่อมไม่อาจสำเร็จผลดังใจหมายได้ ฉันใด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ติดจิต
ติดจิต เป็นคำที่ไม่มีในอภิธรรม แต่จำเป็นต้องเขียนขึ้นเพื่ออธิบายความจริงบางประการ กล่าวคือ จิตนั้นประภัสสรบริสุทธิ์ผ่องใส เมื่อบุคคลปฏิบัติสติปัฏฐาน "ดูจิต เห็นจิต" แล้ว ย่อมเห็นความบริสุทธิ์ประภัสสร เขาจึงสงบสงัดมีสุข และบางครั้งอาจคิดไปว่า "บรรลุอรหันต์แล้ว" แต่เขายังไม่เห็นจิตในจิต เพราะเขายัง "ติดอยู่เพียงเปลือกจิต" เรียกว่า เห็นจิตแล้ว แต่ยังไม่เห็นแจ้งทะลุจิต เพราะยังไม่ได้เห็น "จิตในจิต" ดังนี้ จึงเห็นเพียงความบริสุทธิ์ประภัสสรของจิต ทำให้จิตสงบผ่องใส และนึกว่าได้นิพพานแล้ว เมื่อถึงขั้นนี้ ก็จะมีอาการ "ติดความบริสุทธิ์" อันเป็นผลพวงตามมาจาก "จิตประภัสสรที่บริสุทธิ์" ที่ไ้ด้สัมผัส รับรู้มานั้นๆ เมื่อเกิดอาการติดความบริสุทธิ์มากๆ เข้า ก็จะเริ่มไม่ชอบ, หลีกห่างออก จากสิ่งที่ตรงข้าม เช่น กิเลสและความไม่บริสุทธิ์ต่างๆ เห็นความโลภ, โกรธ, หลง เป็นความไม่บริสุทธิ์ จึงเริ่มเอนเอียง ไปอยู่ฝั่งฝ่ายของธรรมบริสุทธิ์ ไม่เป็นกลางต่อธรรมฝ่ายไม่บริสุทธิ์ทั้งหลาย เช่นนี้ ย่อมไม่ใช่ "อริยมรรค" อันมีความเป็นกลาง สัมมาสมาธิที่เคยได้ เคยมี ก็จะเอนเอียงไป มิใช่สัมมาสมาธิแ่ต่ดั้งเดิม ทำให้ไม่บรรลุธรรมในที่สุด
การ "ดูจิต" มิใช่ดูเพียงอาการของจิต เพราะการดูอาการของจิตนั้น เป็นการ "ดูเจตสิก" ต่างหาก นอกจากนี้ การดูจิตแล้วเห็น "จิตประภัสสร" แม้เ็ห็นถูกถึง "จิต" แล้ว ไม่หลงเจตสิกแล้ว ก็ตาม แต่ก็ยังไม่เห็น "จิตในจิต" อยู่ดี ยังต้องทะลุทะลวงให้พ้น "จิต" ทำให้แจ้งไป ทำให้บรรลุไป มิใช่แค่เห็น หรือแค่ตามรู้ การที่เราแค่เห็นแล้วสักแต่ว่าเห็นมันจึงเป็นเพียง "ผัสสะ" รับรู้สิ่งที่เข้ามากระทบเท่านั้น ต่อให้รับรู้ได้ถึงนิพพาน ก็เป็นเพียง "ผัสสะ" อยู่ดี คือ ผัสสะเข้ากับนิพพาน, รับรู้นิพพาน, เห็นนิพพาน, รับอารมณ์นิพพาน, เสพอารมร์นิพพาน ฯลฯ แต่มิใช่ "บรรลุแจ้งในนิพพาน" นั้น อุปมาดั่ง มือกระบี่แทงตรงหัวใจศัตรู แต่มิได้ทิ่มทะลุลงไป เพียงแต่จรดจ่ออยู่ตรงหัวใจศัตรูนั้น ย่อมไม่อาจสำเร็จผลดังใจหมายได้ ฉันใด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
การ "ดูจิต" มิใช่ดูเพียงอาการของจิต เพราะการดูอาการของจิตนั้น เป็นการ "ดูเจตสิก" ต่างหาก นอกจากนี้ การดูจิตแล้วเห็น "จิตประภัสสร" แม้เ็ห็นถูกถึง "จิต" แล้ว ไม่หลงเจตสิกแล้ว ก็ตาม แต่ก็ยังไม่เห็น "จิตในจิต" อยู่ดี ยังต้องทะลุทะลวงให้พ้น "จิต" ทำให้แจ้งไป ทำให้บรรลุไป มิใช่แค่เห็น หรือแค่ตามรู้ การที่เราแค่เห็นแล้วสักแต่ว่าเห็นมันจึงเป็นเพียง "ผัสสะ" รับรู้สิ่งที่เข้ามากระทบเท่านั้น ต่อให้รับรู้ได้ถึงนิพพาน ก็เป็นเพียง "ผัสสะ" อยู่ดี คือ ผัสสะเข้ากับนิพพาน, รับรู้นิพพาน, เห็นนิพพาน, รับอารมณ์นิพพาน, เสพอารมร์นิพพาน ฯลฯ แต่มิใช่ "บรรลุแจ้งในนิพพาน" นั้น อุปมาดั่ง มือกระบี่แทงตรงหัวใจศัตรู แต่มิได้ทิ่มทะลุลงไป เพียงแต่จรดจ่ออยู่ตรงหัวใจศัตรูนั้น ย่อมไม่อาจสำเร็จผลดังใจหมายได้ ฉันใด ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น